ประชาสัมพันธ์
แนวรับ 1262 1259 1250 แนวต้าน 1270 1275 1280
วันนี้ลุ้นรีบาวน์ที่เดิม 1275 ภาพรวมเสียทรงพอสมควร เเต่ยังมีข่าวบวกอยู่ จึงมองว่า การลงจะเป็นไปอย่างจำกัด เเละ ให้น้ำหนัก Bias ฝั่งขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ เเต่เมื่อมาดู NAV ของ SPDR ยังขึ้นต่อในช่วงนี้ เเต่เกิด Divergent ของ NAV เป็นสัญญาณเตือนว่า เงินอาจจะเริ่มไหลเข้าน้อยลง สำหรับแนวรับจะอยู่บริเวณ 1259 ซึ่งมองว่า หลุดระดับนั้นลงไปจะเป็นการทำให้ราคาหลุดทำ Low ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ทางเลือกรอง : ราคาปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 1275 มองว่า จะเริ่มลบล้างแท่งเทียนขาลงก่อนหน้า
ต่างชาติยังคงขาย และ Short สุทธิในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน วันละหลักพันสัญญา เมื่อวานนี้ดัชนีปรับตัวขึ้น ก่อนที่จะลบล้างฝั่งขึ้นทั้งหมดในวันนี้ ภาพรวมยังดูอ่อนแอ แต่ยังมองขึ้นอยู่ โดยตั้งแนวรับไว้ต่ำกว่านี้ประมาณไม่เกิน 10 จุด ซึ่งสามารถใชเป็นจุดตัดขาดทุน เงินบาทอ่อนค่าผ่านแนวต้านมา มองการอ่อนค่าอีกครั้งหนึง แนวต้าน 35.30-35.35
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตลาดหุ้นฝั่งอเมริกาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น นำโดยกลุ่ม Health care ที่มาชดเชยกลุ่ม Material และ กลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง นักวิเคราะห์มองว่า ตลาดหุ้นขาดปัจจัยใหม่ๆ และตลาดกำลัง Rotation เข้าสู่กลุ่ม Safe haven (มีหลายประเภท ได้แก่ ทองคำ เงินเยน เงินสวิสฟรังซ์ พันธบัตร) เพราะ กังวลเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจ และ ความกังวลเศรษฐกิจจีน รวมทั้งเงินดอลลาร์ที่ยังแข็งค่าขึ้น
- ประธาน FED สาขา Chicago คุณ Charles Evans ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า การเติบโตอย่างแข็งแกร่งของอเมริกา จะเป็นตัวสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับ 2.5% ได้ทั้งนี้ มองว่า นโยบายของธนาคารกลางที่ใช้รูปแบบ Wait and see นั้นค่อนข้างมีความเหมาะสมอยู่แล้ว (ประธาน FED หลายท่านยังใช้วิธี Wait and see)
- ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมันขยายตัวสู่ระดับ 1.9% จากเดือนก่อนหน้า –0.8% และคาดการณ์ 0.7% เป็นการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 3 เดือน
- รมว คลัง เตรียมหารือแนวทางการช่วยเหลือกรีซเพิ่มเติม หลัง IMF ประเมินว่า เป้าหมายงบประมาณที่ทำไว้กับข้อตกลงครั้งล่าสุดนั้นดูเป็นไปได้ค่อนข้างยาก นอกจากนี้งบประมาณที่วางไว้ยังไม่เป็นไปตามแผน นอกจากนี้ในเดือน กรกฎาคม จะมีพันธบัตรกรีซที่ ECB ถือไว้และจะครบกำหนด
- เงินสำรองของจีนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สู่ระดับ $3.22 Trillion ในเดือน เมษายน ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อของจีน (CPI) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 2.3% เป็นเดือนที่สามติดต่อกัน (2.3%) ส่วน ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) หดตัวลง –3.4% จากประเมินไว้ว่าจะปรับตัวลดลงถึง –4.9% เงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นมานั้นเป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารสด ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเอเชียโดยรวมแล้ว ยังอยู่ผสมกัน ค่อนไปทางอยู่ในแดนลบมากกว่า
- ทองคำปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ครึ่ง หลังจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ่นเมื่อวานนี้ ทั้งนี้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาทองคำปรับตัวสูงขึ้นกว่า 19% ส่วนความต้องการทองคำในอินเดียในช่วงนี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องกัน
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเมื่อวานนี้ หลังจากปัจจัยบวกอย่างการไหม้หลุม Canada เริ่มสงบลง ทั้งนี้ปัจจุบันภาวะตลาดน้ำมันดิบยังอยู่ในช่วง Oversupply
แนวรับ 1281 1277 1272 แนวต้าน 1288 1292 1297
ราคาปรับตัวสูงขึ้นหลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร จากนั้นเริ่มมองการพักตัว เเล้วถ้าวัดเป้าการพักตัว เมื่อวัดจากจุดต่ำสุด 1270 เเละ จุดสูงสุด 1295 จะได้การพักตัว ครึ่งนึง 50% ที่ (1270+1295)/2 = 1282 ถือว่าเป็นเเนวรับหนึ่ง เพราะฉะนั้น เมื่อขยายเป้าออกมาจะได้โซน 1275-1280 ที่มีนัยสำคัญ หากยังไม่หลุดระดับนั้นยังมองการปรับตัวเพิ่มขึ้นไปใกล้ระดับ 1300 อีกครั้ง แท่งเทียนที่ส่งมายังทางบวก
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยเปิดตลาดมา ปรับตัวลดลงและยังอยู่ในช่องแนวโน้มขาลง Downtrend line ยังอยากเห็นการปรับตัวขึ้นแรงๆ ไม่เช่นนั้นจะเห็นดัชนีปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่วนทิศทางค่าเงินบาท หลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกลับมาแกว่งตัวในกรอบต่ำกว่า 35.13 เช่นเดิม มองการแข็งค่าอีกเพียงเล็กน้อย แต่ยังมองการเคลื่อนไหวในกรอบ
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับตัวลดลงสู่ระดับ 160K จากเดือนก่อนหน้า 208K และคาดการณ์ 203K เป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และ เป็นข่าวบวกกับทองคำ และนำไปสู่การคาดการณ์ที่ว่า ที่ประชุม FED จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอีกสักระยะหนึ่ง (จากกังวลว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วง มิถุนายน) และยิ่งเป็นปัจจัยบวกกับราคาทองคำทั้งระยะสั้นและกลางเมื่อดูเฉพาะข่าวนี้
- อัตราว่างงานทรงตัวระดับ 5% ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงปรับตัวสูงขึ้น 0.3% จากเดือนก่อนหน้า 0.2% ยังคงผันผวนอยู่ในกรอบ
- ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จากคาดากรณ์ว่าจะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้แนวโน้มโดยรวมยังอยู่ทางฝั่งค่อนข้างเป็นลบมากกว่า
- ตลาดหุ้นฝั่งยุโรป โดยรวมแล้ว ผันผวนจากปัจจัยหลายอย่างเมื่อวันศุกร์ ระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขายปรับตัวลดลง ก่อนที่จะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยเป็นผลจาก ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่นำไปสู่การคาดการณ์การคงดอกเบี้ย ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงช่วงแรกของชั่วโมงการซื้อ-ขาย ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้ง ผลประกอบการที่ออกมาผสมกัน จึงทำให้การเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน
- วันนี้จะมีการประชุม Eurogroup ในเบื้องต้นมองว่าไม่มีนัยสำคัญกับราคาทองคำ
- การส่งออกของจีนเดือน เม.ย. หดตัว –1.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า +11.5% ส่วนการนำเข้า หดตัว –10.9% จากเดือนก่อนหน้าหดตัว 13.8% ยังคงส่งผลให้ดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่ แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อย
- การนำเข้าน้ำมันดิบของจีนเพิ่มขึ้น 3.2% ตามความเห็นของนักวิเคราะห์ที่ประเมินว่า ความต้องการน้ำมันดิบไม่ได้ลดลงแรงเท่าไร เพียงแต่การลงของราคาน้ำมันดิบเป็นผลมาจากการเกิด Oversupply มากกว่า
- กองทุน Hedge fund เพิ่มสถานะ Bullish bet ในทองคำ สิ้นสุดในสัปดาห์ที่แล้ว ข้อมูลจาก CFCT เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ ซึ่งยังเป็นปัจจัยบวกกับทองคำ
- น้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่า 2% หลังจากเกิดไฟไหม้หลุม Canada’s oil sand และเกิดความเสียหายกว่าล้านบาร์เรลในการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยบวกระยะสั้นให้กับราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อวันศุกร์
แนวรับ 1277 1272 1265 แนวต้าน 1284 1288 1295
วันนี้เวลา 19.30 จะมีการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Non farm payroll : NFP) ซึ่งตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นจะออกมาน้อยลง ซึ่งเป็นบวกกับทองคำ แต่ในเดือนนี้ Goldman sachs และ นักเศรษฐศาสตร์ต่างออกมากล่าวว่า เดือนนี้น่าจะออกมาเยอะ จากข้อมูลที่มี ทำให้กระแสคาดการณ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ต้องติดตามข่าว ระยะสั้นมองการปรับตัวขึ้นไประดับใกล้ 1285 อีกครั้ง ก่อนที่จะประกาศข่าว
USD/THB
วันนี้ตลาดหุ้นไทยปิดทำการต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 แต่ค่าเงินบาทผ่านแนวต้าน 35.13 มาได้ ซึ่งเป็นกรอบบน มองอ่อนค่าต่อ แต่ยังต้องติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเช่นกัน เพราะ ส่งผลต่อค่าเงินบาทด้วย
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 274K จากสัปดาห์ก่อนหน้า 257K และคาดการณ์ 261K เป็นการปรับตัวสูงขึ้นสองสัปดาห์ติดต่อกัน และเป็นการปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างแรง สองสัปดาห์ที่ผ่านมา
- Goldman sachs ให้ความเห็นว่า เค้ามองว่า ตัวเลขการจ้างงานจะออกมาดีขึ้นในวันนี้ ดีกว่าที่ Wall Street คาดการณ์ไว้ (และคาดว่าจะไม่แย่เหมือนตัวเลข ADP ในวันพุธ) Goldman ประเมินไว้ระดับ 240000 ตำแหน่ง จากการคาดการณ์ของคนในตลาดว่าจะอยู่เพียง 200000 ตำแหน่ง โดยมีเหตุผลหลักจาก ISM employment index ที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53 จุดจากเดือนก่อนหน้าเพียง 50 จุด ซึ่งการคาดการณ์นี้สอดคล้องกับทางนักเศรษฐศาสตร์ที่คิดว่า เดือนเมษายนจะมีการจ้างงานที่แข็งแกร่ง
- เมื่อวานนี้เป็นวันหยุดทำการของทางฝั่งยุโรป แต่ตลาดหุ้นโดยรวมยังปรับตัวลดลงเล็กน้อย ไม่มีการเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญ และ ยังไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ
- เมื่อวานนี้ฝั่งตลาดญี่ปุ่นหยุดทำการ โดยรวมแล้วการเคลื่อนไหวของเอเชียก็เป็นไปอย่างจำกัดเช่นกัน
- ค่าเงินดอลลาร์เมื่อวานนี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ หลังจากช่วงก่อนหน้าปรับตัวอ่อนค่าลงสุดในรอบ 15 เดือน คาดว่าเป็นผลมาจากการปิดสถานะทำกำไรบางส่วนก่อนที่จะมีการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร
- SPDR เพิ่มการถือครองทองคำ 0.47% สู่ระดับ 829.44 ตัน เมื่อวาน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี
แนวรับ 1277 1272 1265 แนวต้าน 1284 1288 1295
ราคาทองคำปรับตัวลดลงสู่แนวรับ 1270 ในช่วงดึก ก่อนที่จะมีรีบาวน์ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และ ราคาไม่ได้ทำ Lower low มองว่า หากราคาไม่ทำ Lower low มีโอกาสที่สามารถซื้อเก็งกำไรฝั่งขึ้นได้ ทั้งนี้การเก็งกำไรในช่วงนี้ยังอยากให้เป็นภายในวัน เพราะ ใกล้ช่วงการประกาศตัวเลข Non-farm ในวันศุกร์ที่จะมีความผันผวนสูง ส่วนแนวต้านวันนี้ดูประมาณ 1285 และยังเป็นการแกว่งตัวในกรอบ Sideway down
ทางเลือกรอง : ราคาหลุด 1270 ลงมาเลย จะมองการปรับตัวลดลงอีกครั้ง
USD/THB
เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงพอสมควร เป็นไปตามทิศทางเดียวกันกับทั้งภูมิภาคและทั่วโลก ได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง วันนี้จะไม่มีการเคลื่อนไหวของดัชนีเนื่องจากเป็นวันหยุดทำการของธนาคารพาณิชย์ ยาวไปจนถึงวันพรุ่งนี้ ส่วนทิศทางค่าเงินบาทไปทดสอบระดับ 35.13 แต่ยังไม่ผ่าน มองการแกว่งตัวในกรอบ
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
-ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของภาคเอกชน (ADP non-farm) ออกมาระดับ 156K จากเดือนก่อนหน้า 194K และคาดการณ์ 205K ตัว ADP นี้ถึงแม้จะอยู่ระดับสูงต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ส่งผลให้หลังประกาศข่าวทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นก่อนที่จะกลับลงมา ตามแนวโน้มของ ADP ที่มักจะผันผวนอยู่ในกรอบการเคลื่อนไหวในระดับหนึ่ง
- ISM-non PMI หรือ PMI ภาคบริการ ออกมาระดับ 55.7 จุด จากเดือนก่อนหน้า 54.5 จุด และคาดการณ์ 54.9 จุด ตัวนี้เริ่มเห็นสัญญาณที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง
- ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน จากการที่ไม่มีอะไรใหม่ และ นักลงทุนยังคงกังวลเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
-ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงแรงเป็นส่วนใหญ่เมื่อวานนี้ หลังจากผิดหวังผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศออกมาแล้วไม่ดี รวมทั้ง ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงไปทดสอบระดับ $43/บาร์เรล ทำให้มุมมองของนักลงทุนยังไม่ดี
- PMI ภาคบริการของยูโรโซนโดยรวมแล้วยังออกมาดี ปรับตัวสูงขึ้น-ใกล้เคียงของเดิม ประเทศที่ลดก็ลดเพียงเล็กน้อย และยังอยู่ระดับเหนือกว่า 50 จุด
- ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง / ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากประเด็นเรื่องดอกเบี้ยของ FED
- วันนี้เป็นวันหยุดของญี่ปุ่นเนื่องจาก Children’s Day และหยุดทำการ เช่นเดียวกับทางฝั่งยุโรปที่เป็นวันหยุดทำการเนื่องจากวัน Ascension Day (พระคริสต์ขึ้นสวรรค์) ประกอบกับข่าวที่น้อยในวันก่อน ทำให้วันนี้มองว่าช่วงของตลาดเอเชีนจะมีปริมาณการซื้อ-ขายที่ค่อนข้างเบาบาง
- สต๊อกน้ำมันดิบยังออกมาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ กดดันให้น้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงแรกของชั่วโมงการซื้อ-ขาย ปรับตัวกลับลดลงไป
- Gold future ในตลาดเมืองนอก เริ่มมีสัญญาณการเปิด Open interest ฝั่งขึ้นมากขึ้น บ่งบอกให้เห็นถึง นักลงทุนในตลาดมองว่า ทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นไปอีกในอนาคต
แนวรับ 1275 1270 1265 แนวต้าน 1284 1288 1295
ราคาทองคำปรับตัวลดลงในลักษณะของการพักฐาน และสร้าง Low ใหม่ระหว่างวัน ยังมองการพักตัวต่อลงไปยังระดับ 1270-1275 ซึ่งตรงจุดนั้นมองว่า ทยอยปล่อยสถานะขายก่อนที่ถือไว้น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะ ตรงกลุ่มนั้นเป็นกลุ่มแนวรับที่ค่อนข้างมีนัยสำคัญ (เป็นที่อยู่ของกลุ่มราคา) ข่าวในช่วงนี้ยังไม่ค่อยมีเท่าไรนัก จะเริ่มมีวันนี้คือตัวเลข ADP เวลา 19.15 คาดการณ์ว่าจะออกมาดีและเป็นลบกับทองคำ
ทางเลือกรอง : ราคาหลุด 1270 ลงไปอีก จะทำให้การปรับตัวของราคาลึกลงไปยิ่งขึ้น
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขาย ปรับตัวสูงขึ้น ก่อนที่จะเจอแรงขายท้ายตลาดและปิดลบ ภาพรวม ยังมองว่า ฝั่งลงยังได้เปรียบอยู่เพียงแต่ระยะสั้นนี้ยังอยากเห็นการรีบาวน์ปรับตัวขึ้นมาแรงๆ เพื่อจะไม่ให้ทรงเสีย มองเช่นเดิมหากปรับตัวขึ้นไม่แรง ต้องหันมามองฝั่งลงแทน ทิศทางค่าเงินบาท ชนแนวต้านบริเวณ 35.13 พอดี ระยะสั้นมองการพักตัวแข็งค่าลงมาเล็กน้อย กรอบล่างจะอยู่ที่เดิมแถว 35.80-35.90
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงจากความกังวลแถวๆโซนเอเชียรุนแรงมากขึ้น หลังจากสัปดาห์ก่อนหน้าผิดหวังผลการประชุมญี่ปุ่นที่คงอัตราดอกเบี้ย และ ตามมาด้วยในสัปดาห์นี้ที่จีนประกาศตัวเลข PMI ออกมาน้อยกว่าคาดการณ์กัน สร้างความกังวลระลอกใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้ยังไม่มีข่าวอะไรที่ดีๆประกาศออกมาเลย
- ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลดลงกว่า 140 จุด ตามทิศทางเดียวกับตลาด Nasdaq ที่ปรับตัวลดลงกว่า 1% ถึงแม้หุ้น Apple จะเริ่มปรับตัวขึ้นเป็นวันแรก หลังจากปรับตัวลดลงแรงสุด 8 วันติดต่อกัน แย่สุดนับตั้งแต่ปี 1998
- Mark Mobius ให้ความเห็นว่า การปรับตัวขึ้นของสินค้าโภคภัณฑ์ประเภท Raw material เพิ่งจะเริ่มหลังจากปรับตัวลดลงแรงมาก และยังเห็น Upside ที่สูง
- มีข้อมูลจาก ECB พูดถึง นโยบายการเงินที่ทำออกมาส่งผลในทางดี การเติบโตดีขึ้น การจ้างงานดีขึ้น (อัตราว่างงานของเยอรมันอยู่ระดับ 4.2% ที่ถือว่าค่อนข้างต่ำ) เสถียรภาพของราคาทรงตัว และ คาดว่านโยบายที่ผ่อนคลายอยู่มีความเหมาะสมแล้ว ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีปัญหาเรื่องแรงงานในบริเวณชายแดน
- ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงเฉียด 1% เมื่อวานนี้จากผลประกอบการที่ทยอยประกาศออกมาและไม่ค่อยดี อย่างกลุ่ม ธนาคาร รถยนต์ และ ปัจจัยลบจากน้ำมันดิบที่ลงแรง
- ตลาดทางฝั่งเอเชียมีกระแสเรื่องการปรับตัวของสินค้าโภคภัณฑ์มาแรง และ ราคาสินค้าต่างปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว กลุ่มที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประเภท Raw material อย่าง ไข่ไก่ เหล็ก ถึงแม้ราคาไข่ไก่ในอเมริกาจะปรับตัวลดลงก็ตาม มีกระแสการเก็งกำไรที่ค่อนข้างมากในสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศจีน
- ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลดลงส่วนใหญ่ ตามตลาดหุ้นทั่วโลกที่เริ่มพักตัวลงมาอีกครั้ง จากประเด็นเรื่องของจีนและญี่ปุ่น
- ความต้องการทองคำของอินเดียในปีนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า จะน้อยลง (100 ตัน จากเดิมประมาณ 125 ตัน ) เนื่องจาก ราคาทองคำที่มุมไบปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี (มีนาคม 2016)
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากตัวเลขที่ประกาศออกมาจากจีนค่อนข้างน่าผิดหวัง และ ยังไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาในช่วงนี้
แนวรับ 1290 1287 1280 แนวต้าน 1297 1300 1305
ในวันนี้ มองว่าหากระยะสั้นไม่สามารถปิดต่ำกว่า 1290 ได้ ยังมองไปทดสอบใกล้ๆ จุดเดิมที่ทำไว้เเถว 1300 เเต่หากปิดต่ำกว่า 1290ได้ภายใน 2-3 ชั่วโมงนี้ จะเริ่มเข้าสู่การพักฐานทันที เเนวรับเเรก 1287 (จุดต่ำสุดเดิม) โดยรวมแล้วยังอยากเห็นการพักฐานลงมาจากด้านล่าง รูปที่นำมาให้ดูนั้นนักวิเคราะห์มองว่า ปีนี้คล้ายกับในปี 2007 คือ ทองคำปรับตัวสูงขึ้นแซงหุ้นกว่า 20% ปีถัดมาตามมาด้วยการลงแรงของตลาดหุ้น
ทางเลือกรอง : ราคาพักไม่เกินกว่า 1290 มองว่า จะดีดกลับรีบาวน์ขึ้นไปอีกครั้ง
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวันศุกร์ แต่เป็นการปรับตัวเพียงเล็กน้อย ในลักษณะของการชะลอการปรับตัวลดลง ดัชนีพยายามไต่ระดับ 1400 จุด หากไม่เห็นดัชนีขึ้นแรงๆได้ คาดว่า จะเป็นการขึ้นจากนั้นจะตามมาด้วยการลงต่อในระยะถัดไป แรงที่ว่านี้อย่างน้อยควรจะ + มากกว่านี้อีกสัก 5 จุด ค่าเงินบาทแข็งค่าลงมาทดสอบระดับ 34.80
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคแบบตรวจทาน (Revised) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 89 จุด จากเดือนก่อนหน้า 89.7 จุด และคาดการณ์ 90.3 จุดเป็นการปรับตัวน้อยกว่าเดือนก่อนหน้า และน้อยกว่าคาดการณ์ค่อนข้างเยอะ เป็นปัจจัยบวกกับทองคำ
- การใช้จ่ายผู้บริโภค (Personal spending) ขยายตัว 0.1% น้อยกว่าคาดการณ์ 0.2% ส่วนรายได้ผู้บริโภค (Personal income) ขยายตัว 0.4% มากกว่าคาดการณ์ และเดือนก่อนหน้าที่ 0.1% สรุปแล้ว คนรายได้มากขึ้นแต่ใช้จ่ายน้อยลง
- อัตราเงินเฟ้อ Core PCE ขยายตัว 0.1% เท่ากับคาดการณ์ ในขณะที่เดือนก่อนหน้าขยายตัวกว่า 0.3% โดยรวมแล้วยังไม่มีทิศทางทีมี่นัยสำคัญ
- ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้หุ้น Apple จะลดลงเป็นวันที่ 8ติดต่อกัน
- ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงเล็กน้อยสู่ระดับ 50.8 จากเดือนก่อนหน้า 51.8 ทั้งนี้ดัชนี PMI นี้ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน ถึงแม้เดือนนี้จะชะลอตัวลงเล็กน้อยแต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี ทางฝั่งเยอรมันและอิตาลีก็มีการชะลอตัวลงของภาคการผลิตแต่โดยรวมแล้วยังดูดี และเหนือกว่า 50 จุด ทางฝั่งฝรั่งเศสปรับตัวลดลงต่ออีก และ เป็นระดับที่ต่ำกว่า 50 จุด เป็นประเทศสำคัญในกลุ่มยูโรโซนที่ยังไม่ดี
- ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบ และ กลุ่มธนาคารในอิตาลี
- ดัชนีภาคการผลิต Caixin หดตัวอีกครั้งในเดือนนี้สู่ระดับ 49.4 จากเดือนก่อนหน้า 49.7 ชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ทิศทางโดยรวมดูดีขึ้นเช่นเดียวกับฝั่งอเมริกาและยูโรโซน
- ธปท.เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกขยายตัวเพียงเล็กน้อย การบริโภคของครัวเรือนชะลอตัวลงจากภาวะภัยแล้ง ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 16 เดือน
- ทองคำปรับตัวสูงขึ้นกว่า 22% ทำให้นักวิเคราะห์มองว่า ลักษณะนี้คล้ายคลึงกับการปรับตัวสูงขึ้นในปี 2007 ที่ทองคำแซงดัชนีหุ้น SP500 ปีหลังจากนั้นตามมาด้วยการปรับตัวลดลงแรงของตลาดหุ้น ทั้งนี้เค้าประเมินไว้ว่า ไม่สามารถใช้ตัวใดตัวหนึ่งมาคาดการณ์ได้แต่ดูไว้เพื่อเป็นสถิติเท่านั้น
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ $45/บาร์เรล พักตัวเป็นวันแรกเมื่อวาน
แนวรับ 1275 1270 1260 แนวต้าน 1280 1290 1300
ทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จากเรื่องผลการประชุม BOJ ที่ส่งผลให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นมา ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า และซ้ำมาด้วย GDP ไตรมาสแรกของอเมริกา ปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ ทำให้ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นแรง ระยะสั้นมองการพักตัวลงมาไม่เกิน 1255 ซึ่งหากไม่หลุดก็ยังมองว่า จะขึ้นต่อได้ แนวต้านระหว่างวันจะอยู่บริเวณ 1280-1284 ซึ่งหากหลุดออกไปจะเปิดทางไปสู่ระดับ 1300
ทางเลือกรอง : ราคาปรับตัวหลุดเกินกว่า 1255 จะทำให้ฝั่งขึ้นเสียทรงไป
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงหลุดระดับ 1400 จุด ภาพรวมยังส่งสัญญาณทางลง และพึ่งเริ่มเป็นวันที่สอง ยังมองว่า ดัชนีเข้าสู่การพักฐานลงมา แนวรับแรกประมาณ 1390 ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองการแข๋งค่าไปยังระดับ 34.85-34.90 เป็นแนวรับแรก สวนทางกับดัชนีที่ปรับตัวลดลง ซึ่งมองว่าไม่สอดคล้องกัน
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- GDP ไตรมาสแรก (Q1 2016) ของอเมริกา ออกมาขยายตัว 0.5% จากไตรมาสก่อนหน้า 1.4% และคาดการณ์ 0.7% ทิศทางชะลอตัวลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2014 (ชะลอตัวลงต่อเนื่อง 2 ปีติดต่อกัน) ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยบวกกับราคาทองคำเมื่อวานนี้
- ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 257K จากสัปดาห์ก่อนหน้า 248K และคาดการณ์ 258K เป็นการปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์แรก หลังจากปรับตัวลดลงติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ข่าวนี้เป็นข่าวบวกเช่นเดียวกัน
- ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลดลงกว่า 1% เมื่อวาน ได้รับปัจจัยลบจากหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Apple หลังจาก นักลงทุนรายใหญ่ Carl Icahn ออกมาให้ความเห็นว่า ตัวนี้เมื่อก่อนเค้าชอบ แต่ตอนนี้เค้าไม่เหลือหุ้นของ Apple เลย
- ตลาดหุ้นยุโรปปิดผันผวนขึ้น-ลง แต่ละตลาดไม่เหมือนกัน ปิดลบและบวกสลับกันไป หลังจากนักลงทุนกำลังย่อยข่าวอย่าง การประชุม FOMC และ BOJ ที่ค่อนข้างเป็นลบ ไม่มีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติม ส่วนราคาน้ำมันดิบยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากเงินดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่า ทำให้ตลาดหุ้นยุโรปโดยรวมแล้ว ขึ้นบ้างลงบ้าง สลับกันไป และ ยังรอผลกำไรของบริษํทจดทะเบียนที่จะทยอยประกาศออกมา
- Deutsche bank ประกาศผลกำไรออกมา –58% ทั้งนี้ราคาหุ้นยังปรับตัวสูงขึ้น
- ผลการประชุม BOJ เมื่อวานนี้ พบว่าไม่ได้มีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติม ทำให้ตลาดผิดหวังพอสมควร ส่งผลให้เงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และ ทำให้ทองคำปรับตัวสูงขึ้นมา ส่วนทางฝั่งตลาดหุ้นได้รับความผันผวนทั่วโลก โดยเฉพาะญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ปรับตัวลดลงแรงในวันเดียวกว่า 3%
- สศค. ปรับลดคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจไทยลง 3.3% ส่วนค่าที่ประเมินไว้จะอยู่ประมาณ 3-3.6% นำโดยการส่งออกที่ยังดูไม่ดี ตามการเติบโตที่ชะลอตัวของโลก
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่ามาโดยอัตโนมัติ หลังจากการประชุม BOJ ทำให้กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นเกือบทั้งหมด
- ทองคำปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 1280 (ช่วงเช้าวันนี้) ท่ามกลางเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า และ ตลาดหุ้นทั่วโลกที่เริ่มพักฐานลงมา รวมถึงความน่าสนใจที่มากขึ้นหลังจากกองทุน Hedge fund ยังคงเพิ่มสถานะ Bullish bet ต่อเนื่อง
แนวรับ 1238 1234 1230 แนวต้าน 1246 1250 1252
ทองคำปรับตัวลดลงก่อนที่จะล่าสุดมีผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมา (Breaking news) ว่าคงอัตราดอกเบี้ย ทำให้ระยะสั้นทองคำดีดขึ้นมาสู่ระดับ $1245 ภาพรวมยังมองการปรับตัวลดลงต่อไปยังแนวรับ 1234-1238 ที่ระดับเดิม ภาพรวมของการเคลื่อนไหยังเป็นไปอย่างจำกัด ไม่ได้มองการขึ้น-ลงที่รุนแรง ล่าสุด GFMS ประเมินว่าความต้องการทองคำทั่วโลกในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ปรับตัวลดลงกว่า 20%
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเมื่อวานนี้ หลังจากพยายามขึ้นวันก่อน มองว่า จะยังมีช่องว่างในการปรับตัวลดลงต่อไปอีก แต่ระยะสั้นนี้ทิศทางยังไม่ชัดเจนยังมองความผันผวนอยู่ในกรอบ เน้นซื้อ-ขายระยะสั้นแทน เพราะ ภาพวันขึ้น 1 วัน ลง 1 วันทำให้การประเมินทิศทางนั้นค่อนข้างลำบาก ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองการแกว่งตัวในกรอบเช่นกัน แนวรับ 35.00 แนวต้าน 35.28
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ผลการประชุม FOMC เมื่อวานนี้พบว่า ที่ประชุม FED คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 0.25-0.50% หลังจากที่ประชุมยังคงมองกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจค่อนข้างชะลอตัว การจ้างงานเริ่มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทิศทางอัตราเงินเฟ้อยังยืนยันที่จะขยับไปอยู่เป้าหมายประมาณ 2% ในระยะกลาง พร้อมทั้งจะติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด ตลาดคาดการณ์ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่จะต้องติดตามจะอยู่ในช่วงเดือน มิถุนายน ว่าจะมีการขยับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้งหรือไม่
- ตลาดหุ้นฝั่งอเมริกาปรับตัวอยู่เหนือระดับ New-high เดิมเมื่อเดือน พฤษภาคม หลังจากปรับตัวลดลงช่วงก่อนหน้า ทั้งนี้ถึงแม้หุ้นของ Apple จะปรับตัวลดลง(-6%)ท่ามกลางความผิดหวังของผลกำไร
- ปัญหากรีซเริ่มกลับมาอีกครั้ง แต่ไม่ใช่ปัญหาที่จะมีการผิดนัดชำระหนี้ แต่เป็นปัญหาเรื่องการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นกรีซ (ATG) ปรับตัวลดลงกว่า 2.5% หลังรัฐมนตรีคลังยูโรโซนเลื่อนการประชุมออกไป โดยให้หตุผลว่า อยากใช้เวลาเพิ่มเติทในการประเมินสถานการณ์ของการปฎิรูปของกรีซก่อนที่จะให้เงินช่วยเหลือ (Bail -out fund) ทั้งนี้ตลาดหุ้นของยุโรปโดยส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวานนี้
- GDP ของอังกฤษขยายตัว 0.4% น้อยกว่าคาดการณ์เล็กน้อย 0.6%
- วันนี้จะมีผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นในช่วง 11 โมง ตามเวลาบ้านเรา ยังติดตามว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมหรือไม่ หากมีการลดดอกเบี้ยจริงจะทำให้เป็นปัจจัยลบกับราคาทองคำ (เงินเยนจะอ่อนค่า และ เงินดอลลาร์จะแข็งค่า) ส่วนความน่าจะเป็นที่จะลดดอกเบี้ยอยู่ประมาณ 50% -50% หลังจาก คุณ คุโรดะ ให้ความเห็นว่า อาจจะมีการลดดอกเบี้ยเพิ่มอีก ทั้งนี้ปัจจุบันเงินเฟ้อของญี่ปุ่นยังทรงตัวระดับ –0.1% ยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว
- มีรายงานจาก GFMS (Reuters) ประเมินว่า ความต้องการทองคำทั่วโลกปรับตัวลดลง 24% ทั่วโลก โดยมีความต้องการประมาณ 781 ตัน ในช่วงสามเดือนแรก สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา
- ราคาน้ำมันดิบทรงตัวหลังจากไม่มีเหตุการณ์อะไรใหม่เข้ามา ยังซื้อ-ขายกันอยู่ระดับเดิม ตลาดยังอยู่ในช่วงของ Oversupply ถึงแม้ Shale oil จะปิดกิจการลงบ้างบางส่วน
แนวรับ 1232 1225 1215 แนวต้าน 1240 1245 1247
ราคาทองคำยังทรงตัวแต่ให้น้ำหนักฝั่งลงมากกว่า หลังจากการปิดไม่ได้สูงจนทำให้มีนัยสำคัญมากนัก ทางฝั่งจุดทีแนวโน้มจะเปลี่ยนจะอยู่บริเวณ 1240 ขึ้นไป หากหลุดออกไปจะทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นไปอีก ส่วนแนวรับที่มองไว้อยู่มองว่า 1225 ระยะนี้ยังมองการเคลื่อนไหวไม่มากนัก วนไปวนมา หลังจากข่าวตัวเลขเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย วันนี้จะมีการประกาศข่าวบ้างในช่วง 19.30 ก่อนจะไปติดตาม FOMC ตี1 พรุ่งนี้
ทางเลือกรอง : ราคาปรับตัวเลยกว่า 1240 ขึ้นไป จะมองว่า ชะลอการลง
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยทรงตัวเมื่อวานนี้ (ปรับตัวลดลงเล็กน้อย) ยังให้น้ำหนักการพักตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่มองว่าระยะสั้นน่าจะมีการรีบาวน์กลับขึ้นมาแต่เป็นเพียงเล็กน้อย ภาพรวมยังส่งสัญญาณทางลงมากกว่า ต่างชาติเริ่มขายสุทธิและ Short สุทธิแต่เป็นไปในปริมาณที่น้อย ค่าเงินบาทยังมองการอ่อนค่าไปยังระดับ 35.25-35.28 ตามการอ่อนค่าของทั่งภูมิภาค เมื่อวานมีการประกาศตัวเลขการส่งออกของไทยพบว่าขยายตัวเดือนที่สองต่ออีก 1.3%
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ (New-home sales) ออกมาระดับ 511K ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า 519K และคาดการณ์ 521K เป็นการชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่เมื่อออกมาดูภาพรวมให้กว้างขึ้นจะเห็นว่า นับตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ทิศทางของยอดขายบ้านใหม่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ระหว่างเดือนจะมีขยายตัวบ้าง หดตัวบ้างก็ตาม บ่งบอกถึงแนวโน้มการขยายตัว (ทั้งนี้ยังห่างไกลจากระดับสูงสุดแถว 1200K ในช่วงปี 2005 ที่ตลาดบ้านค่อนข้างขยายตัวอย่างแรง )
- Goldman sachs บ่งบอกถึงกลยุทธ์การลงทุนของธนาคารท่ามกลางตลาดหุ้นไม่เคลื่อนไหว (Flat) หลังจากหุ้นหลายตัวไปซื้อ-ขายกันที่ 96 เปอร์เซนไทล์เมื่อเทียบกับในอดีต และ กำไรขยายตัวเพียง 1.6% จึงใช้กลยุทธ์ มีพอร์ตการลงทุน 50%
- ดัชนีความเชื่อมั่น German Ifo Business climate หดตัวเล็กน้อยสู่ระดับ 106.6 จุด จากระดับ 106.7 จุดในเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเป็นหลัก (เยอรมันพึ่งพาการส่งออกสินค้าประเภท รถยนต์ และ สินค้าฟุ่มเฟื่อย แบรนเนมด์ ไปยังประเทศจีนค่อนข้างมาก) ทั้งนี้ความแข็งแกร่งของเยอรมันชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกของปีนี้พอสมควรและซ้ำมาด้วยความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลก
- ตลาดหุ้นยุโรปโดยรวมชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อวานนี้ หลังจากประกาศตัวเลขออกมา
- กองทุนบำนาญที่ใหญ่ที่สุดในโลก ($1.3 Trillion) ซึ่งคือ กองทุนบำนาญของญี่ปุ่น (GPIF) มีแผนจะใช้การประกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน (Currency hedging) หลังจากค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ก่อนหน้านั้น GPIF เพิ่มการถือครองหุ้นและพันธบัตรต่างชาติท่ามกลางเงินเยนที่อ่อนค่า
- กองทุน 1MDB (1 Malaysia development) จะเริ่มผิดนัดชำระหนี้ $50 millions และอาจจะถูกปรับลดความน่าเชื่อถือลง
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆวันละนิด ล่าสุดมาซื้อ-ขายกันระดับ $43/บาร์เรล หลังจากช่วงนี้ไม่ได้มีข่าวอะไรใหม่
- ความต้องการทองคำในอุตสาหกรรมการแพทย์ อย่างเช่น หมอฟัน ปรับตัวลดลง ท่ามกลางการเข้ามาของ เซรามิค และส่งผลให้ความต้องการปรับตัวลดลงกว่า 60% ทั้งนี้ในปัจจุบันทองคำก็มีสัดส่วนความต้องการที่ไม่มากอยู่แล้วในด้านการแพทย์
แนวรับ 1225 1215 1208 แนวต้าน 1237 1240 1245
ทองคำยืนยันการปรับตัวลดลงต่อ หลังจากเกิดแท่งเทียน Bearish หลัง Pinbar ดูแนวรับแรกประมาณ 1225 และ 1208 ส่วนแนวต้านระยะสั้นสำหรับหาจังหวะ Short จะอยู่บริเวณ 1237 กองทุน Hedge fund ปรับเพิ่มสถานะซื้อในทองคำสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง แต่ทั้งนี้ทองคำได้รับปัจจัยลบจากคาดการณ์ว่า เงินเยนจ่ะออนค่า (เงินดอลลาร์แข็ง) จากการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมที่จะรู้ผลในวันพุธ
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงแรงเมื่อวันศุกร์ และเริ่มเป็นการปรับตัวลดลงวันแรก มองว่า เริ่มเข้าสู่การพักฐานหลังจากปรับตัวขึ้นแรงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงแรก ประเมินแนวรับแรกไว้บริเวณ 1398 ที่เปิดช่องว่างเอาไว้ในขณะที่ขึ้นมา ส่วนทิศทางค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงมองแนวต้านไว้ประมาณ 35.28 หลังจากเกิดสัญญาณกลับตัวในช่วงวันก่อน
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตลาดหุ้นฝั่งอเมริกา ได้รับปัจจัยลบจากกลุ่มเทคโนโลยี นำโดย Microsoft ปรับตัวลดลงกว่า 7% นับเป็นวันที่เลวร้ายสุดนับตั้งแต่ปี 2015 (ม.ค.2015) หลังจากตัวเลขกำไรออกมาน่าผิดหวัง ทางส่วน Google ที่ใช้ชื่อ Alphabet ปรับตัวลดลงกว่า 5% เช่นเดียวกัน เนื่องจากบริษัทมีการลงทุนในโครงการใหม่มากขึ้น ทั้งนี้ตลาดหุ้นโดยรวมแล้วไม่ได้มีการเคลื่อนไหวมากนัก นักวิเคราะห์ประเมินว่า เป็นการชะลอตัวฝั่งขึ้น หลังจากปรับตัวขึ้นมาแรงในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
- เนื่องจากเป็นช่วงประกาศผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน จะมาอัพเดตบริษัทชั้นนำอื่นๆที่สำคัญ เช่น Mcdonald ผลประกอบการเข้าเป้า และ SSSG (Same-store sales) ปรับตัวสูงขึ้น ส่วน Starbucks มีกำไรเข้าเป้า แต่ SSSG ไม่เข้าเป้า
- ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงเล็กน้อย ได้รับปัจจัยลบจากผลประกอบการกลุ่ม ยานยนต์ นำโดย Volkswagen ที่ผลกำไรไม่เข้าเป้า หลังจากมีการโกงตัวเลขการปล่อยไอเสียเมื่อปีที่แล้ว และ ลามไปถึง Daimler ที่อาจจะถูกตรวจสอบเช่นกัน ทังนี้ โดยรวมตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ –2%
- ดัชนี PMI โดยรวมของยุโรปค่อนข้างทรงตัว ดีขึ้นก็ดีขึ้นเล็กน้อย น้อยลงบางอันก็น้อยลงเล็กน้อยเช่นกัน โดยรวมแล้ว มีการเติบโตแต่ยังไม่แข็งแกร่งพอ
- ตัวเลขหนี้ของจีนปรับตัวขึ้นแรงไปชนระดับ 237% ต่อ GDP (เทียบกับ 148% ต่อ GDP ในปี 2007 ) ปรับตัวแซงหน้าประเทศอื่นๆในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างมาก ส่งผลให้ความเสี่ยงโดยรวมของประเทศเพิ่มสูงขึ้น และ คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงต่ออย่างยาวนาน
- BOJ ส่งสัญญาณอาจจะมีการใช้ดอกเบี้ยติดลบมากขึ้น เพื่อเร่งการกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยกู้เพิ่มเติมอีก
- ทองคำปรับตัวลดลง หลังจากค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นแรงเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนหลังจากมีข่าวมาว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นกำลังจะมีการขยายการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมอีก (ยังไม่ยืนยัน และ ยังไม่ได้ทำ) ซึ่งผลจริงๆจะรู้ในช่วงเช้าวันพุธ
- กองทุน Hedge fund เพิ่มสถานะซื้อในซิลเวอร์ปริมาณมากสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังเพิ่ม Bullish bet ในทองคำสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง