ประชาสัมพันธ์
แนวรับ 1258 1255 1250 แนวต้าน 1265 1268 1275
เมื่อวานทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อมาทดสอบแนวต้าน 1260 + - ซึ่งมองไว้ว่า วันนี้โอกาสที่จะพักตัวมีค่อนข้างสูง และ ยังมองการพักตัวทีละ $5 ยังไม่ได้มองการลงแรงๆ ภาพรวมยังเป็นฝั่งขึ้นอยู่ เพียงแต่ การขึ้นมานั้นค่อนข้างแรง และ เมื่อมาดูกรอบของ Bollinger band พบว่า ราคาทำ new high แต่ กลับไม่หลุดกรอบบนของ Band ขึ้นไป เป็นสัญญาณของการลดสถานะซื้อลง
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยทรงตัว และสามารถเคลียร์ Bearish divergent ได้ในบาง Time frame แต่ยังมองมุมเดิมคือ ดัชนีขึ้นมาค่อนข้างแรงจนเกินไป หากไม่สามารถทำ New-high ได้ จะมองการพักตัวลงมาด้านล่าง ทิศทางค่าเงินบาทหลังจากแข็งค่ามาจากใกล้ระดับ 35.66 ล่าสุดอยู่แถว 35.10 ซึ่งมองว่าจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีการรีบาวน์อ่อนค่าได้บ้าง
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ 18000 จุด ถึงแม้จะยังไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ได้รับปัจจัยบวก Sentiment ในทางที่ดีของตลาด รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ $51/บาร์เรล ซึ่งสูงสุดในรอบ 8 เดือน
- มีข้อมูลออกมาจาก CNBC ให้ความเห็นว่า จอร์จ โซรอส เริ่มเพิ่มสถานะขายในดัชนีหุ้น แต่กลับมาเพิ่มการลงทุนในทองคำ และหุ้นกลุ่มเหมืองทองคำ เค้าให้ความเห็นว่า Global economic นั้นดูค่อนข้างมืดมน จากเงินทุนที่ไหลออกจากจีน และ สถานการณ์ Brexit ซึ่งหากมีการออกจริง อาจจะหมายถึงจุดเริ่มต้นของการล่มสลายในยูโรโซน นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์เรื่องของกรีซ และ กลุ่มผู้อพยพที่คอยสร้างปัญหาให้กับกลุ่มยูโรโซนเป็นระยะ จากช่วงต้นปีเราจะได้เห็นข่าวว่า จอร์จ โซรอส สนใจทองคำมากขึ้น
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เยอรมันฟื้นตัว 0.8% จากเดือนก่อนหน้าชะลอตัวลง –1.1% นักวิเคราะห์มองว่า ภาพรวมการลงทุนใน 2-3 เดือนข้างหน้า ทำให้ภาคการผลิตมีแนวโน้มจะฟื้นตัวในอนาคต
- ค่าเงินยูโรปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 1.14 ยูโรต่อดอลลาร์ จากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงแรง และเงินยูโรที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้นจะกระทบกับ Exporter อย่างเยอรมัน ทั้งนี้เมื่อวานนี้เงินดอลลาร์ชะลอตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
- ดัชนีเงินเฟ้อ CPI ของจีนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 2% น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 2.3% ซึ่งคาดการณ์ไว้คือ 2.3% ผลส่วนหนึ่งมาจาก ราคาอาหารซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการคำนวณดัชนี ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 5.9% แต่น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 7.4% แต่ PPI ปรับตัวลดลงหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 51 เดือน
- ยอดสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องจักรของญี่ปุ่นหดตัว –11% เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึง การหดตัวในภาคการผลิต สอดคล้องกับ ภาพรวมของเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี
- สต๊อกน้ำมันดิบของอเมริกาปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน แต่เป็นการหดตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ $51/บาร์เรล เบื้องต้นมองว่า การปรับตัวของราคาน้ำมันดิบค่อนข้างแรงเกินไป
- ทองคำปรับลตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจออกมาเนื่องจาก ได้รับ SENTIMENT ในทางบวกจากการชะลอการขึ้นดอกเบี้ย
แนวรับ 1242 1238 1234 แนวต้าน 1250 1258 1260
ราคาผ่านแนวต้าน Breakout กรอบสามเหลี่ยมออกมาได้ มองว่าจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อไปยังแนวต้าน 1250-1260 ในระยะถัดไป จากรูปแบบเชิงบวกและต่อเนื่องของแนวโน้มเดิม (continuous pattern) ซึ่งระดับแนวต้าน 1250-1260 มองว่าควรจะทยอยลดสถานะซื้อออกมาบางส่วน สำหรับรูปที่นำมานั้นเป็นรูปของกองทุน SPDR ที่สถานะซื้อสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ และ สังเกตุจาก MACD ของกองทุนกำลังจะตัด Signal line
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยส่งสัญญาณ Bearish divergent ในทุกช่วง ไทม์เฟรมย่อยต่ำกว่าระยะวัน มองว่า หากเจอแรงขายออกมาจะเริ่มพักตัวทันที ตลาดขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ และวิ่งขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นเดือนโดยแทบจะไม่ได้พักเลย มองว่า ระดับนี้ไม่คุ้มที่จะซื้อ หาจังหวะขายน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า การเคลื่อนไหวของดัชนีสวนทางกลับทิศทางค่าเงินบาทที่วันนี้มองการแข็งค่าต่อไปยังระดับ 35.15
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ธนาคารโลก (World bank) ปรับลดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2016 ลงสู่ระดับ 2.4% จากรอบก่อนหน้าเมื่อเดือนมกราคมที่ระดับ 2.9% จากสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำ ความต้องการสินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วที่น้อยลง การค้าที่มีปริมาณและมูลค่าลดลง รวมทั้ง เม็ดเงินลงทุนที่ไหลไปมาน้อยลง ประเทศที่มองว่ามีปัญหาจะอยู่ในกลุ่มของ Emerging market ที่เศรษฐกิจพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับสูง
- เมื่อวานมีการประกาศตัวเลข Revised nonfarm productivity ที่เป็นตัววัดประสิทธิภาพของแรงงานพบว่า ปรับตัวลดลงน้อยลงเหลือ –0.6% จาก –1% ส่วน Revised unit labor cost ที่เป็นตัววัดต้นทุนแรงงานปรับตัวสูงขึ้น 4.5% จาก 4.1% ทั้งนี้ข่าวทั้งสองตัวนี้ไม่มีนัยสำคัญ และ ล่าสุดยังไม่มีการ Revised non farm payroll ที่ออกมาแย่ในวันศุกร์
- การเติบโต GDP ของยุโรปแบบตรวจทาน (Revised GDP) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 0.6% จากรอบก่อนหน้า 0.5% เป็นผลมาจากการบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุน และ การส่งออกบางส่วน ที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นจากรอบก่อน สอดคล้องกับที่ประชุม ECB คุณ ดรากี้ ที่ออกมาปรับเป้าการเติบโตของยูโรโซนในปีนี้และปีหน้าขึ้น ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่อง Brexit ช่วงกลางเดือนนี้
- ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวานนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นโดยได้รับปัจจัยบวกจากน้ำมันดิบ
- ธนาคารกลาจีนออกมาประเมินว่า หาก FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริง จะเป็นผลบวกกับจีน (ไม่เหมือนกับช่วงปีที่แล้ว) เนื่องจาก บ่งบอกให้เห็นถึง ความต้องการสินค้าที่จะเพิ่มมากขึ้น และ ทางการจีนจะเร่งสื่อสารนโยบายทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น หลังจากมีการประกาศตัวเลข GDP ของญี่ปุ่นแบบตรวจทานเช่นเดียวกัน พบว่าขยายตัว1.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่ดุลบัญชีเกินดุล แสดงให้เห็นถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ $50/บาร์เรล จากการคาดการณ์สต๊อกน้ำมันดิบที่น่าจะยังทรงตัวระดับต่ำ และมีความเห็นว่า หากเห็นราคน้ำมันดิบที่ระดับ $60/บาร์เรล จะทำให้บริษัทนน้ำมันกลับมาใช้จ่ายอีกครั้งหนึ่ง
- ทองคำปรับตัวสูงขึ้นจากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน ส่วนสถานะกองทุน SPDR กลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง พร้อมทั้งส่งสัญญาณขึ้นต่อเนื่อง
แนวรับ 1238 1234 1225 แนวต้าน 1245 1250 1260
ราคาทองคำพักตัวในรูปแบบ Bull flag ซึ่งบ่งบอกถึงการพักตัวเพื่อที่จะขึ้นต่อในอนาคตเนื่องจากเป็นรูปแบบต่อเนื่อง (Continuous pattern) แนะนำให้หาจังหวะซื้อแถวบริเวณแนวรับ 1240 บริเวณนั้น โดยตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ตามความเสี่ยงที่รับได้ ในขณะที่หากหลุด 1238-1240 ลงมา จะทำให้ pattern นี้เสียความได้เปรียบไป ทำให้จุด Stop loss ในวันนี้ค่อนข้างแคบ ส่วนเป้าหมายจะอยู่ระดับ 1260
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และไม่หยุดการปรับตัวเพิ่มขึ้น ระยะสั้นมองว่า เริ่มเห็นสัญญาณการพักตัว จากการขึ้นมากเกินไป และ เห็นภาวะ Divergent ในหลายๆช่วงเวลา มองว่า ใกล้จะถึงระยะเวลาที่จะเจอการปรับฐาน ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองว่า ระยะสั้นนี้ยังให้น้ำหนักของการอ่อนค่าไปเล็กน้อย แนวต้าน 35.40
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ประธาน FED คุณ เจเนต เยลเลน กล่าวในช่วงถ้อยแถลงว่า เศรษฐกิจอเมริกามีปัจจัยบวกมากกว่าปัจจัยลบที่เพียงพอที่จะสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ได้ ประเด็นหลักจะไปอยู่ที่การใช้จ่ายส่วนบุคคล และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะออกจากโซนติดลบได้ในอนาคต ส่วนช่วงเวลาที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังไม่ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน ทำให้นักวิเคราะห์จากทาง Bloomberg ประเมินไว้ว่า ช่วงมิถุนายน น่าจะยาก อาจจะเลยไปถึง กรกฎาคม หรือไม่ก็กันยายน สอดคล้องกับ FED Fund rate future ที่ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง นับจากหลังการมีประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร
- ดัชนีหุ้น S&P500 ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบปี บวกกว่า 1.6% หลังจากได้รับปัจจัยบวกจากคอมเมนต์ของ คุณ เจเนต เยลเลน ในเรื่องเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
- Brexit poll ของสำนักต่างๆ ล่าสุดพบว่า ฝั่งที่เห็นด้วยที่จะให้อังกฤษออกจากยูโรโซนเพิ่มขึ้นแซงหน้าผลโหวตที่เลือกจะอยู่ต่อเล็กน้อย ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่า การออกจากยูโรโซนของอังกฤษจะเป็นปัจจัยลบกับเศรษฐกิจมากกว่าการอยู่ในยูโรโซน
- ยอดสั่งซื้อสินค้าของเยอรมัน (German factory order) หดตัวระดับ –2% ขณะที่เดือนก่อนหน้าขยายตัว 2.6% หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนีหุ้นทางฝั่งยุโรปที่ได้มีปัจจัยข่าวดีเข้ามา ปรับตัวลดลงเมื่อวานนี้
- Goldman sachs ให้ความเห็นถึงประเทศจีนว่า ภาระหนี้ของจีนนั้นมีสูงกว่าที่ตอนแรกประเมินไว้ค่อนข้างมาก สอดคล้องกับ รายงานของ IMF ที่รายงานตัวเลขหนี้ NPLs ของจีนสูงกว่า 10% ในขณะที่ Official NPLs อยู่แค่ระดับไม่เกิน 5%
-ธปท.มองว่าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จะเติบโตได้น้อยกว่าที่คาดการณ์จากภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้แบงค์พาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อได้น้อยลง
- ทองคำทรงตัวอยู่ในกรอบ หลังจากปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์เมื่อวันศุกร์ จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร และเมื่อวานนี้ คุณ เจเนต เยลเลน เสริมอีกว่า Labor condition index ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2009
- กองทุน SPDR ปรับลดการถือครองทองคำลง 0.03% เหลือระดับ 881.15 ตันเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
แนวรับ 1238 1234 1225 แนวต้าน 1245 1250 1260
ทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์เยอะ และทำให้สถานะของกองทุน SPDR มีเม็ดเงินไหลเข้ามาอีกครั้ง ระยะสั้นมองการพักตัวลงมาสู่ระดับ 1238 เป็นแนวรับแรก ในขณะที่ภาพรวม ยังมองเป็นการขึ้นระยะกลาง เพราะ เกิดแท่งเทียน Bullish ออกจากแนวรับแถว 1200 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แนวต้านเป้าหมายระยะกลางจะอยู่แถวบริเวณ 1260
ทางเลือกรอง : ราคาปรับตัวลดลงเกินกว่า 1225 ซึ่งเป็นครึ่งแท่งของแท่งที่ขึ้นแรงในวันศุกร์ จะมองว่า ฝั่งขึ้นชะลอความได้เปรียบ
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดผ่านแนวต้านในระยะวันออกมา ยังคงเปิดทางให้ upside เพิ่มเติมไปอีก เพียงแต่ระยะสั้นยังมองหาการพักตัวลงมาอยู่ แต่ยังดูไม่มาก แนวรับที่มองไว้จะอยู่ต่ำกว่านี้ประมาณ 5-6 จุด ในขณะทิศทางค่าเงินบาทฝั่งแข็งค่าชัดเจนขึ้นมากในวันศุกร์ เพียงแต่ระยะสั้นมองการรีบาวน์อ่อนค่าในลักษณะการพักตัวประมาณ 35.45
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับตัวลดลงแรงสู่ระดับ 38K จากเดือนก่อนหน้า 123K และคาดการณ์ 159K เป็นการปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 6 ปี ผลส่วนหนึ่งมาจากการประท้วงของบริษัท Verizon ส่งผลให้ทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแรง จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ออกมาแย่กว่าเดิมมาก
- อัตราว่างงานปรับตัวลดลงสู่ระดับ 4.7% จากเดือนก่อนหน้า 5% โดยรวมแล้ว อัตราว่างงานที่ปรับตัวลดลงแรงนั้นเป็นผลมาจาก การออกจากตลาดแรงงานไป สังเกตุจากตัว Labor participation rate ปรับตัวลดลงแรงสู่ระดับ 62.6 % ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ทศวรรษ ตลาดจึงไม่เลือกที่จะรับข่าวลบตรงนี้ไปเท่าไรนัก
- ISM ภาคบริการ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 52.9 จุด ลดลงจาก 55.7 จุด
- ตลาดหุ้นยุโรปโดยรวมแล้วปรับตัวลดลงกว่า 2% จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของอเมริกาที่ออกมาแย่กว่าที่มองกันไว้เยอะ ส่งผลให้ค่าเงินยูโร แล เงินเยนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแรง ในขณะที่การประชุม ECB ของยูโรโซน ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ระดับเดิม พร้อมกับขยายเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจในปีนี้และปีหน้า ทิศทางเดียวกันกับอัตราเงินเฟ้อที่ถูกปรับประมาณการณ์ขึ้นเช่นกัน
- ประเด็นข่าวในยุโรปจะมีสำคัญอีกทีหนึ่งช่วงกลางเดือนในเรื่องของ Brexit
- ตลาดหุ้นฝั่งเอเชีย โดยรวมแล้วผสมกัน มีการเคลื่อนไหวที่มากในตลาดญี่ปุ่น หลังเงินเยนแข็งค่าขึ้นแรงเมื่อวันศุกร์ทิศทางของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงแรงจากเรื่องนโยบายภาษีที่มีการเลื่อนออกไปอีก และ ส่งผลให้ตลาดหุ้นนิเคอิ ปรับตัวลดลง 3-4 วันต่อเนื่องกัน ในขณะที่คนอื่นยังปรับตัวสูงขึ้น
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงกว่า 1% หลังจากข้อมูลแสดงให้เห็นถึง จำนวนหลุมขุดเจาะของอเมริกาเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง (สัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 9 หลุม) นอกจากนั้น ยังได้รับปัจจัยลบจากตัวเลข เศรษฐกิจของอเมริกาที่ออกมาค่อนข้างแย่
- ทองคำปรับตัวสูงขึ้นแรงในวันศุกร์ จากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ออกมาไม่ดี และ เงินดอลลาร่ออนค่าลงกว่า 1%
แนวรับ 1213 1210 1205 แนวต้าน 1218 1223 1225
ราคาทองคำกำลังกลับขึ้นไปทดสอบเส้น uptrend ที่หลุดลงมา ซึ่งในเบื้องต้นมองว่า หากทดสอบแล้วไม่ผ่าน (1218) คาดว่าจะสร้าง New-low ใหม่ และจะยืนยันฝั่งขาลงต่อ ในขณะที่หากราคาหลุดเกินกว่า 1218 ขึ้นไปจะมองว่า การหลุด Uptrend ลงมาจะกลายเป็น False signal ไป เบื้องต้น ภาพรายวันยังส่งสัญญาณไม่ชัดเจน ต้องใช้เวลารอดูกว่านี้อีกนิด ประกอบกับข่าวในช่วง 19.15-19.30 ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
USD/THB
อัตราเงินเฟ้อของไทยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 0.46% เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ได้รับปัจจัยบวกจากภาวะภัยแล้ง ทำให้ราคาอาหารปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังคงประเมินเงินเฟ้ออยู่แถวระดับ 0-1% ในปี 2559 โดยได้รับจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ทิศทางตลาดหุ้นไทยทรงตัวอยู่แถวแนวต้าน ในขณะที่ค่าเงินบาทก็ยังผันผวนอยู่เช่นเดียวกัน ยังไม่มีทิศทางที่มีนัยสำคัญทั้งคู่
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ดัชนี PMI ภาคการผลิตของ PMI ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 51.3 จุด จากเดือนก่อนหน้า 50.8 จุด และคาดการณ์ 50.5 จุด ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าระดับ 50 จุด 3 เดือนติดต่อกัน หลังจากหดตัวต่อเนื่องช่วง 5 เดือนก่อนหน้า แสดงถึงทิศทางที่ฟื้นตัวของ PMI ภาคการผลิตอเมริกา และ นำไปสู่การคาดการณ์เพิ่มเติมในเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้ทองคำปรับตัวลดลงในช่วงกลางคืนที่ผ่านมา
- รายงาน Beige book ประเมินว่า เศรษฐกิจอเมริกาเติบโตแบบปานกลาง ถึงดีขึ้นเล็กน้อย ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ภาพรวมการจ้างงานที่ดีขึ้น ทำให้การใช้จ่ายผู้บริโภคดีขึ้น ความต้องการสินค้าและบริการทางการเงินที่มากขึ้น และ ส่งผลให้ค่าแรงงานเพิ่มขึ้นปานกลาง
- ผลโหวตประชามติล่าสุดต่อสถานการณ์ Brexit พบว่า การคาดการณ์เบื้องต้นระหว่างออกกับไม่ออกอยู่ระดับ 40% กว่าๆเท่ากัน วิ่งไปวิ่งมาระหว่างนี้ ซึ่งการออกจะทำให้เกิดการตกใจของตลาดเงิน ตลาดทุนมากกว่าการไม่ออก ต้องติดตามประเด็นนี้ในช่วงครึ่งเดือนหลัง หลังจากการประชุม FOMC
- Flash PMI ของกลุ่มยูโรโซนชะลอตัวลงเป็นส่วนใหญ่ โดยมีประเทศที่ยังหดตัวอยู่คือ ฝรั่งเศส (48.4 จุด) โดยรวมแล้ว PMI ของยูโรโซนยังอยู่เหนือกว่าระดับ 50 จุด
- นายกรัฐมนตรี คุณอาเบะ เลื่อนกำหนดวันขึ้นภาษีนิติบุคคลต่อไปอีก ไปยังเดือน ตุลาคม 2019 จากเดิม เมษายน 2017 เลื่อนไปอีกเกือบ 1 ปีครึ่ง ซึ่งการเลื่อนจะไปพอดีกับ การเลือกตั้งใหม่ในปี 2018 หาก คุณ อาเบะ ไม่ได้รับเลือกให้เข้ามาอีกครั้ง ก็ต้องมาดูนโยบายนี้กันใหม่ ว่าคนใหม่จะจัดการยังไง แต่หากคุณอาเบะได้รับเลือกก็คาดว่า จะทำให้ดำเนินนโยบายดังกล่าวได้ในปี 2019 พร้อมกันทั้ง คุณ อาเบะ ยังมองเป้าหมายที่จะทำให้ญี่ปุ่นกลับมาเกินดุลงบประมาณได้ในปี 2020
- กองทุน SPDR เพิ่มสถานะการถือครองทองคำ 0.24% สู่ระดับ 870.7 ตัน ในวันพุธที่ผ่านมา ล่าสุดสถานะกองทุนอยู่ระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 (NOV 2013) ส่วนข่าวอื่นๆจะเป็นเรื่องของ การ Diverging ของนโยบายการเงินในแต่ละประเทศ เนื่องจาก FED กำลังจะขึ้นดอกเบี้ย ในขณะที่ธนาคารอื่นกำลังจะลดดอกเบี้ย
แนวรับ 1213 1210 1205 แนวต้าน 1220 1223 1225
ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเมื่อวานนี้ และเกิดเป็นแท่งเทียนฝั่งขึ้นในรายวัน มองว่า เป็นการชะลอการปรับตัวลดลง ส่วนระยะสั้น ราคายังอยู่ใน Uptrend อยู่สังเกตุจาก Higher high , Higher low และรูปแบบจะจบเมื่อหลุดเส้น Uptrend line แถว 1213 เป็นแนวรับแรก หากไม่หลุดคาดว่าจะได้เห็น New high ที่เกินกว่า 1220 และประเมินแนวต้านไว้แถว 1223 วันนี้จะมีการประกาศตัวเลข PMI ช่วง 21.00
ทางเลือกรอง : ราคาหลุด 1210-1213 ออกมา มองว่าจะเริ่มปรับตัวลดลงอี
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกร
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู
- รายรับผู้บริโภค (Personal income) ขยายตัว 0.4% เท่ากับเดือนก่อนหน้าและคาด
- อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของยูโรโซนออกมาระดับ –0.1% ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ติดลบเป็นเดือนที่ 4 ต่อเนื่องกัน แต่ชะลอตัวน้อยลงจากเดือนก่
- อัตราว่างงานของเยอรมันปรับ
-ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนออกมาระดับ
- ดัชนี Caixin PMI ซึ่งเป็นการสำรวจ PMI ในสเกลที่เล็กลงเล็กน้อย ผลออกมาอยู่ที่ระดับ 49.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 49.4 จุด ทั้งนี้ตลาดเลือกที่จะให้นั
- ทองคำปรับตัวสูงขึ้นเป็นวัน
แนวรับ 1210 1205 1201 แนวต้าน 1215 1217 1223
เมื่อวานเป็นวันหยุดทำการของอเมริกา ทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างจำกัด ตลาดติดตามการขึ้นดอกเบี้ยของ FED เริ่มมีนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าเกิดการ Oversold ตามที่ Bloomberg พาดหัวไว้ตามรูป ในระยะสั้นวันนี้มองการรีบาวน์ไปใกล้ระดับ 1218 อีกครั้ง ในขณะที่หากปิดสูงกว่านั้นได้จึงจะเป็นสัญญาณในทางบวกที่ดี และ แนวรับที่มีนัยสำคัญจะอยู่ระดับ $1200
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเมื่อวานนี้ แต่การขึ้นยังดูว่าเคลื่อนไหวอยู่บริเวณแนวต้าน ต้องติดตามประเด็นดังกล่าว เพราะ คาดว่าใกล้จะมีนัยสำคัญกับการเคลื่อนไหวในเร็วๆนี้ หลังจากแกว่งตัวอยู่ในกรอบมาเป็นระยะเวลานาน ทิศทางค่าเงินบาทยังดูการเคลื่อนไหวในกรอบเช่นกันเมื่อวานนี้ขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 35.80 แล้วยังไม่ผ่าน ย่อลงมาเล็กน้อย
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- Goldman sachs คาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นในช่วงเดือน มิถุนายน-กรกฎาคม สำหรับความน่าจะเป็นที่จะขึ้นอยู่ระดับ 38% (ตีว่าประมาณ 40%) เมื่อเทียบกับหลังการประชุม FOMC ประมาณ 33% จากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจอเมริกาที่ฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะภาคแรงงาน ทั้งนี้ตลาดรับข่าวพวกนี้ไประดับหนึ่งแล้ว ต้องติดตามว่า ในปีนี้จะขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 2 ครั้งหรือไม่
- ประธาน FED สาขา Atlanta คุณ James Bullard ประเมินว่าตลาดโลกได้เตรียมพร้อมสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้แล้ว และเฟดจะดำเนินการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบค่อยเป็นค่อยไปในตลอดระยะเวลาที่เหลือ เมื่อวานตัวเลขข่าวเศรษฐกิจไม่ค่อยมี แต่มีเพียง Comment พวกนี้ที่เกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ย
- ดัชนีความเชื่อมั้นทางเศรษฐกิจของยูโรโซน (Euro-area economic confidence) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันและพุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน (4 Month high) สู่ระดับ 104.7 จุด โดยมีปัจจัยจากการเติบโตและเงินเฟ้อที่คาดว่าจะถูกปรับประมาณการณ์ขึ้น (การเติบโตในปีนี้มองว่าจะอยู่ 1.4% ปีหน้าจะอยู่ 1.7% และใน 2 ปีถัดไปจะอยู่ 1.8% ส่วนทิศทางเงินเฟ้อจะอยู่ 0.1% ในปีนี้ 1.3% ในปีหน้า และ 1.6% ใน 2 ปีถัดไป
- สถานะ Short สุทธิในตลาดหุ้นจีน A-Share โดยเฉพาะตัว A50 ETF ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 5 เท่าในปีนี้ นักลงทุนต่างมองหาโอกาส และ ได้เห็นการอ่อนค่าของเงินหยวนที่อาจจะจุดประกายการตกลงของตลาดหุ้นครั้งใหม่ นอกจากนี้มีบทวิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงจะกระทบกับสภาะเศรษฐกิจรอบด้าน อย่าง มาเก๊า อ่องกง และไต้หวันด้วย ล่าสุดGDP ของสามประเทศเหล่านี้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
- นักวิเคราะห์จาก Bloomberg ให้ความเห็นว่า ทองคำปรับตัวลดลงสี่สัปดาห์ต่อเนื่อง เป็นการปรับตัวลดลงแรงสุดเมื่อเทียบ 1 เดือนในรอบ 3 ปี และ ในระยะสั้นทองคำได้เข้าสู่สภาวะ Oversold ทั้งนี้ ตัวนี้บ่งบอกถึงแนวโน้มขาลงมีนัยสำคัญขึ้นมา
- น้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นยาวนานที่สุดตั้งแต่ เมษายน 2011 เป็นการขึ้นต่อเนื่องกว่า 4 เดือนติดต่อกัน ล่าสุดอยู่ระดับแถว $50/บาร์เรล
ทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลังจาก ความเห็นของคุณ เยลเลน เมื่อวันศุกร์ ถึงทิศทางของอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ความน่าจะเป็นที่จะขึ้นดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้นเข้าใกล้ระดับ 40% จากการประชุมเมื่อกลางเดือนที่ 30% ในระยะนี้มองการปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในลักษณะรีบาวน์ แนวต้านที่ประเมินไว้อยู่ประมาณ 1205-1210 เป็นแนวต้านแรก
ทางเลือกรอง : ราคาหลุด 1200 ลงมาอีกครั้งมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงไปยังระดับ 1190
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และล่าสุด หากปิดระดับนี้ได้ จะยืนยันการปรับตัวขึ้นต่อในระยะวัน และเปิด upside ให้มากขึ้นกว่านี้ แต่หากวันนี้ปิดลบจะกลายเป็น False signal ไป และเริ่มกลับไปแกว่งตัวอยู่ในกรอบอีกรอบหนึ่ง ต้องติดตามการปิดในวันนี้ให้ดี ส่วนทิศทางค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าไปยังแนวต้านประมาณ 35.80-35.85
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลข Prelim GDP ไตรมาสแรกขยายตัว 0.8% เท่ากับคาดการณ์ จากรอบก่อนหน้า 0.5% ขยายตัวเมื่อเทียบกับรอบก่อนหน้า ทั้งนี้เป็นการขยายตัวเท่ากับที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ จึงทำให้ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวของทองคำเท่าไรนัก
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Sentiment) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 94.7 จุดจากเดือนก่อนหน้า 95.8 จุดและคาดการณ์ 95.7 จุด หดตัวลงเล็กน้อย แต่แนวโน้มโดยรวมเป็นการชะลอตัวลงมากกว่าลงแรง
-ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงแม้และเป็นสัปดาห์ที่ปรับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มีนาคม หลังจาก คุณ เยลเลน แลถงว่า การขึ้นดอกเบี้ยอาจจะเป็นไปได้ใน 2-3 เดือนนี้ ตลาดกำลังลุ้นอยู่ระหว่างจะขึ้นเดือนหน้าเลย หรือจะเลื่อนไปกรกฎาคม
-ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อวานนี้ถึงแม้ราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดแถว $50/บาร์เรล ทั้งนี้ยังไม่มีข่าวอะไรใหม่ นักลงทุนเริ่มหันกลับมาติดตามผลการประชุม ECB ในช่วงท้ายสัปดาห์ว่าจะมีอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
- United Nations refugee agency เปิดเผยในวันอาทิตย์ว่า ผู้อพยพประมาณ 700 คนที่อพยพจากลิเบียเข้ามายังอิตาลี เชื่อว่า น่าจะเสียชีวิตระหว่างการเดินทางข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งนี้ การเข้ามาของผู้อพยพยังเป็นประเด็นหลักของยูโรโซนตอนนี้
-ฝั่งเอเชียตลาดยังให้ความกังวลเรื่องของหนี้ในจีนที่ทางการประกาศออกมาอยู่ประมาณ 2% (NPLs) แต่หลายคนประเมินว่าสูงกว่านั้น และ คาดว่าหากหนี้เสียจริงอาจจะส่งผลกระทบกับวงกว้างของเศรษฐกิจจีน
- ยอดค้าปลีกของญี่ปุ่นประกาศออกมาปรับลดน้อยลงเหลือ –0.8% จากเดือนก่อนหน้า 1.0% และคาดการณ์ –1.2% เป็นการปรับตัวดีขึ้นจากทั้งเดือนก่อนหน้าและคาดการณ์ ทั้งนี้ตัวเลขโดยรวมยังดูไม่ดีนักสำหรับญี่ปุ่น
- กองทุน Hedge fund ปรับลดการถือครองสถานะ Bullish bet ในทองคำลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จากความเห็นของคุณ เยลเลนเกี่ยวกับทิศทางการขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ เศรษฐกิจยังเติบโตไม่มากเท่าที่เคยคาดการณ์กัน ภาคก่อสร้าง และ สินค้าคงคลัง เข้ามาชดเชยการปรับตัวลดลงของ การลงทุนที่น้อยลง
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดที่ $50 และยังไม่มีปัจจัยใหม่ๆ
แนวรับ 1210 1207 1200 แนวต้าน 1219 1223 1228
ราคาทองคำเกิดรูปแบบ Pinbar เมื่อวานนี้ คือ ระหว่างวันราคาพยายามรีบาวน์ขึ้นไปสูง แต่เกิดแรงขายถล่มออกมา ทำให้มุมมองตลาดมองว่า ไม่ดี และ คาดว่าจะปรับตัวลดลงต่อ ประเมินแนวรับระดับ 1200-1190 เป็นแนวรับถัดไป และมองว่า แนวรับดังกล่าวมีนัยสำคัญพอสมควร ภาพรวมรายสัปดาห์ยังไม่เสียทรงขาขึ้นเท่าไรนัก ถึงแม้จะลงไป 1200 ก็ตาม แต่อย่าให้หลุดลงไป ข่าวลบรับข่าวไปค่อนข้างเยอะในช่วงนี้
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยทรงตัวเมื่อวานนี้จากการขาดปัจจัยใหม่ๆเข้ามากระทบ ตลาดหุ้นต่างประเทศ ยังปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่ได้รับแรงกดดันเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย (บ้านเราเสียประโยชน์เต็มๆไม่เหมือนทางฝั่งยุโรปและอเมริกาที่ยังมีความได้เปรียบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่บ้าง) ยังประเมินการปรับตัวลดลงประมาณ 7-8 จุด ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองอ่อนค่าจากแนวรับ 35.55 ออกมา มองแนวต้าน 35.70
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 268K จากสัปดาห์ก่อนหน้า 278K และคาดการณ์ 275K เป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ หลังจากสามสัปดาห์ก่อนหน้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยลบกับทองคำ
- ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (พวกสินค้าใหญ่ๆอย่างเช่น เครื่องซักผ้า รถยนต์ ทีวี) ขยายตัว 3.4% จากเดือนก่อนหน้า 1.9% ขณะที่คาดการณ์เพียง 0.3% ในฝั่งยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนหมวดไม่รวมยานพาหนะขยายตัวเช่นเดียวกัน 0.4% จากเดือนก่อนหน้า 0.1% ซึ่งกลุ่มตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนโดยรวมแล้วเป็นลบกับทองคำ
- ในวันนี้ประธานาธิบดี บารักโอบามา จะเดินทางไปจังหวัด ฮิโรชิม่าของญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกาที่ได้เข้าไปเยี่ยมเยียน
- ตลาดหุ้นยุโรปผันผวนในกรอบ แต่โดยรวมแล้ว ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ถึงแม้ราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวลดลง นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยลบจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในสเปน หลังจาก Banco popolare ที่เคยมีปัญหาเรื่องหนี้เสียในช่วงต้นปีคาดว่าจะมีการเพิ่มทุนประมาณ 2 Billions euro และกดดันกลุ่มธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด
- ตัวเลข GDP ของอังกฤษขยายตัว 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เป็นแรงผลักดัน ขณะที่การลงทุนและส่งออกลดลง
- ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่น (CPI) ขยายตัว –0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเป็นการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง สร้างการคาดการณ์ว่า อาจจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก ทั้งนี้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับติดลบเรียบร้อยแล้ว และ พันธบัตรก็ถูกซื้อโดยธนาคารกลางเกือบหมดไปเรียบร้อยแล้ว ต้องติดตามประเด็นนี้
- เมื่อวาน (26 พ.ค.) ธนาคารกลางจีนเริ่มดูดซับสภาพคล่องกลับเข้าไปอีกครั้ง วงเงิน 1 หมื่นล้านหยวน เพื่อแสดงให้เห็นถึงปริมาณเงินในระบบมีเพียงพอและมีเสถียรภาพ
- ราคาทองคำปรับตัวลดลง จากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยที่เริ่มกดดันตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ทองคำในเดือน พฤษภาคม ปรับตัวลดลงกว่า 5% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปีที่ขึ้นมากว่า 20% ทั้งนี้ ตลาดยังคงติดตามถ้อยแถลงของ คุณ เจเนต เยลเลนประธาน FED ในคืนนี้ที่จะมีมาพูดคุยเกี่ยวกับทิศทางของอัตราดอกเบี้ย
แนวรับ 1227 1225 1218 แนวต้าน 1235 1245 1250
ราคาปรับตัวลดลงสู่กลุ่มแนวรับเมื่อวานนี้ และเกิดเป็นแท่งเทียน โดจิ = แสดงให้เห็นถึง แรงซื้อที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยทั่วไปต้องติดตามแท่งเทียนถัดไปว่าจะปิดบวกสวยๆได้หรือไม่ ปิดบวกสวยๆ หมายความว่า ต้องเกินกว่าครึ่งแท่ง ซึ่งเท่ากับ 1235 จึงมองว่า ในระยะสั้นราคาจะรีบาวน์ไปยัง 1235 ก่อน หากยืนไม่ไหว จะทำให้ภาพลบส่งมาแรงอีกครั้ง และ ถ้าเป็นเช่นนั้น จะยังไปลุ้นระดับ 1200
ทางเลือกรอง : ราคาพยายามเกาะกลุ่มที่เหนือกว่า 1235 มองว่า จะเริ่มชะลอการลงไปอีกสักระยะหนึ่ง
USD/THB
จากดัชนีที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวานพรวดเดียวนับจากเปิดตลาดนั้น ล่าสุดมองว่าอาจจะมีการพักตัวลงมาเล็กน้อย และ มองการปิด GAP ที่เปิดไว้เมื่อวาน GAP ที่ว่านี้จะอยู่ต่ำกว่านี้อีกประมาณ 7-8 จุด ติดตามตรงนั้น แต่เบื้องต้นมองการย่อตัวลงก่อน ต่างชาติเริ่มหันกลับมา Long สุทธิในตลาดฟิวเจอร์มากขึ้น ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองการแข็งค่าจาก Double top ในรายชั่วโมง แนวรับ 35.50 และหากหลุดลงไปมองการแข็งค่าอีกประมาณ 0.15 บาท
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขดุลการค้าของอเมริกาออกมาขาดดุล $57.5 Billions จากเดือนก่อนหน้าขาดดุล –$57.1 Billions ขาดดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขส่งออกที่ขยายตัว 1.8% แต่การนำเข้าขยายตัวมากกว่า 2.3% ส่งผลให้ดุลบัญชียังคงขาดดุล
- ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแบบ Triple-digit อีกวันหนึ่ง จากราคาน้ำมันดิบที่ทำ New-high ในรอบปี หลังจากตกลงมาแรง นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจาก Short Squeeze ของคนที่มีสถานะ Short วันก่อนๆได้ถูกบังคับให้ปิดจากการปรับตัวขึ้นแรง และเป็นตัวเร่งให้ดัชนีปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
- US Dollar index ปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อวานนี้หลังจากแข็งค่าที่สุดในรอบ 2 เดือน และทำให้ทองคำรีบาวน์ปรับตัวขึ้นมาในช่วงเช้าวันนี้
- S&P กล่าวว่า หากอังกฤษออกจากยูโรโซน (Brexit) จะทำให้ค่าเงินปอนด์ (GBP) อาจจะไม่อยู่ในตะกร้าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ และ อันดับความน่าเชื่อถือในปัจจุบันอาจจะถูกปรับลดอีก จากเดิมระดับ AAA ซึ่งประเมินว่า หากอังกฤษออกจากยูโรโซนจริงจะทำให้ GDP หดตัวลงอีกประมาณ 2%
- German Ifo business climate ที่เป็นตัววัดดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 107.7 จากเดือนก่อนหน้า 106.7 และคาดการณ์ 106.9
- นักวิเคราะห์ประเมินว่า การผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ภาคเอกชนของจีน อาจจะเป็นเรื่องที่ดี โดยให้เหตุผลว่า จะเพิ่มความโปร่งใสให้กับธุรกรรมทางการเงินของจีนในอนาคต ปัจจุบันหุ้นกู้ของจีนกว่า 63% ถูกจัดอันดับเครดิตอยู่ในเกรด AA หรือสูงกว่า
- แผนการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนของญี่ปุ่น โดยใช้พลังงานทดแทน แทนพลังงานนิวเคลียร์หลังเกิดเหตุเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ช่วงหลายปีก่อนพบว่า ปัจจุบันสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้พลังงานทางเลือก เช่น ลม และ Solar มีสัดส่วนกว่า 45%
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และ Brent ปรับตัวสูงขึ้นกว่าระดับ $50/บาร์เรล เป็นครั้งแรก จากสต๊อกน้ำมันดิบที่ประกาศมาเมื่อวานนี้หดตัวแรงกว่าที่คาดการณ์
- กองทุน SPDR ปรับลดการถือครองทองคำลง 3.9 ตันในวันอังคารที่ผ่านมา เมื่อมาดูสถานะ NAV โดยรวมของกองทุน ยังพบว่าอยู่ในระดับที่สูง แต่เริ่มมีการชะลอตัวลงจากช่วงเดือน มีนาคม ยังไม่เห็นแรงขายหนักๆที่ออกมา