ประชาสัมพันธ์
แนวทางทองคำวันที่ 25-5-59
แนวรับ 1225 1220 1215 แนวต้าน 1232 1235 1240
ราคาเมื่อวานปรับตัวหลุดเส้น Uptrend ออกมา ให้โอกาสไปทดสอบอีกครั้ง หากไม่สามารถยืนได้ จะเปิด downtrend ใหม่ ไป 1200 สำหรับเเนวต้านจะอยู่บริเวณเส้นที่หลุดลงมาและแถวครึ่งเเท่งเทียนรวมกัน ทำให้ได้แนวต้านเเถวที่มีนัยสำคัญคือ 1235-1240 ทั้งนี้ยังต้องติดตามว่าการรีบาวน์จะหยุดตรงไหนเนื่องจาก ในแนวโน้มฝั่งลงที่แข็งแกร่งการรีบาวน์จะไม่แรงเท่าไรนัก ยังแนะนำสถานะ ขายก่อน (Short) ที่แนวต้าน
ทางเลือกรอง : ราคาปรับตัวเกินกว่า 1235-1240 เป็นทางเดียวที่จะชะลอการลง
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยทรงตัวเมื่อวานนี้ แต่ล่าสุดได้รับปัจจัยบวกจากตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นแรง จากแนวโน้มมองรีบาวน์ในวันก่อนหน้า วันนี้คาดว่า จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวต้านประมาณ 1400 เริ่มเห็นความแข็งแกร่งของตลาดหุ้นไทยบ้าง ทั้งนี้เมื่อดูโดยรวมยังพบว่า ตลาดหุ้นไทยยังแกว่งตัวในกรอบ Sideways 1425 เป็นแนวต้านสำคัญ ทิศทางค่าเงินบาทยังมีการผันผวนอยู่ในกรอบ
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแรงสู่ระดับ 619K จากเดือนก่อนหน้า 531K และคาดการณ์ 521K ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008
- ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวสูงขึ้นแบบ Triple-digit (200 กว่าจุด ประมาณ 1.3%) ปรับตัวขึ้นสูงที่สุดใน 1 วันนับตั้งแต่เดือน มีนาคม จากตลาดหุ้นยุโรปที่ส่งมาทางบวก ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ที่ออกมาดี ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และ การคาดการณ์กลุ่มธนาคารพาณิชย์ว่าจะมีกำไรออกมาดีขึ้น หลังจากแนวโน้ม FED จะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ทำให้ NIM มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ทางฝั่งประธาน FED สาขา St.Louis คุณ Jame Bullard กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยที่จะขึ้นในเดือนหน้าไม่ได้เป็นสิ่งแน่นอน ที่ประชุมจะยังติดตามตัวเลขต่อไป แต่ตอนนี้ก็พร้อมจะเหนี่ยวไกแล้ว
- German ZEW ที่เป็นตัวชี้วัดดัชนีความเชื่อมั่น ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 6.4 จุด จากเดือนก่อนหน้า 11.2 จุดและคาดการณ์ 12.1 จุด ส่วน ZEW ของยูโรโซนปรับตัวลดลงสู่ระดับ 16.8 จุด จากเดือนก่อนหน้า 21.5 จุด และคาดการณ์ 23.4 จุด
- ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปถึงแม้จะประกาศตัวเลข ZEW ออกมาไม่ดี แต่ยังปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่า 2% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ยูโรโซนพร้อมกับ IMF ได้อนุมัติแพคเกจการช่วยเหลือให้แก่กรีซรอบใหม่วงเงิน 10.3 Billion Euros
- มีข่าวเรื่องค่าเงินหยวนอีกครั้งหลังจากล่าสุด เงินหยวนอ่อนค่าลงมากสุดนับตั้งแต่ มีนาคม 2011 จากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอีกครั้งจากแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ย และเงินหยวน Onshore กำลังกลับลงไปที่ระดับอ่อนสุดเมื่อครั้งต้นปี สร้างความกังวลให้กับจีนอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ถึงแม้ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะ ยุโรป และ อเมริกา แต่จีนกลับปรับตัวขึ้นไม่โดดเด่นเท่าไรนัก เพราะ โดนแรงกดดันจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทำ New-high แถว $49/บาร์เรล หลังจาก คาดการณ์ว่าสต๊อกน้ำมันดิบของฝั่งอเมริกาจะปรับตัวลดลง หลังจากเกิดเพลิงไหม้ที่หลุม Canada oil sand และ อาจจะทำให้ Supply ลดลง รวมถึง การปรับตัวขึ้นมากของตลาดหุ้น
- กองทุน SPDR ขายทองออก 0.44% และทองคำปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 7 สัปดาห์ท่ามกลางเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าที่สุดในรอบ 2 เดือน
แนวรับ 1245 1242 1236 แนวต้าน 1257 1260 1265
จากรูป สังเกตุตรงที่วง จะเห็น EMA 8 ตัด EMA 21 ลงมา เกิดสัญญาณตัดลงแบบ Dead-cross ทั้งนี้เเท่งเทียนหลังจากตกลงมา มีลักษณะเป็นตัวเล็กๆ จึงมองว่า แรงขายเริ่มชะลอตัวลงไม่ได้หนัก และ การปรับตัวลดลง อาจจะเป็นไปอย่างจำกัดในระยะสั้นจากนั้นไปลุ้นรีบาวน์ เป้าหมายรีบาวน์มองไว้กลับไปประมาณแถว 1260 ซึ่งเป็นจุดตัดของเส้นค่าเฉลี่ยดังกล่าว ทั้งนี้ เทรนรวมๆยังเป็นลง ถึงแม้จะรีบาวน์ก็ใช้เป็นจังหวะขาย
ทางเลือกรอง : ราคาหลุด 1265 ขึ้นไป และยืนเหนือ 1270 มองว่า จะชะลอการปรับตัวลดลง
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยทรงตัวเมื่อวานนี้ และ เริ่มสร้างฐานอยู่แถวนี้ ยังคาดหวังการรีบาวน์ขึ้นมาเล็กน้อยหลังจากปรับตัวลดลงต่อเนื่อง แต่การรีบาวน์มองไปอย่างจำกัดเช่นกันอีกประมาณไม่เกิน 10 จุดในเบื้องต้น เนื่องจากภาพรวมที่ส่งมาทางลบประกอบกับทิศทางการขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ค่าเงินบาทมองแข็งค่าเมื่อวานนั้นถึงแนวรับแล้วเด้งแรงผ่านแนวต้าน 35.70 ไปเรียบร้อย มองการทรงตัวแถวระดับ 35.70 + - บริเวณนี้นิดหน่อย
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ประธาน FED สาขา Philadelphia คุณ Harker ประเมินไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยของอเมริกาน่าจะขึ้นในปีนี้ได้ประมาณ 2-3 ครั้ง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัว แต่เศรษฐกิจของอเมริกาเริ่มแข็งแกร่ง พร้อมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในอนาคต และคาดว่าจะเข้าใกล้เป้าหมายที่ 2% ในระยะกลาง ทางฝั่งนักวิเคราะห์สถาบันต่างๆ เห็นไปในทางเดียวกันว่า น่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยได้เพียงแต่ น่าจะรอความชัดเจนของตัวเลขเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีกครั้ง ทั้งนี้ตลาดยังจับตามองการประชุมในเดือนหน้าเป็นหลัก ก่อนที่จะถึงเดือนหน้ามองว่า ทองคำจะยังได้รับแรงกดดันต่อไป
- ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวแคบมาก ผันผวนอยู่ประมาณ 50 จุดซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่แคบสุดตั้งแต่ช่วงกลางเดือน เมษายน
- IMF กับกรีซเสนอแผนปฎิรูปการคลังให้แก่กรีซ อย่างเช่น การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากสินค้าฟุ่มเฟือย ในตัวอย่างยกตัวอย่างมาถึง เสื้อผ้าที่ทำจากหนังจระเข้เป็นต้น
- จากการประเมินสถานการณ์เครื่องบินของอียิปต์ตกในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พบว่า มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดจากเหตุระเบิดหรือการก่อการร้ายเพราะ สัญญาณขาดหายไปในช่วงก่อนที่จะมีการตก ทั้งนี้ต้องรอดูข้อมูลให้ชัดเจนอีกทีหนึ่ง สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการสันนิษฐานในเบื้องต้นเท่านั้น
- ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่แล้วปรับตัวลดลง นำโดยการแข็งตัวของค่าเงินเยน และ ฉุดตลาดในเอเชียโดยรวมให้ปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกของญี่ปุ่นที่ประกาศออกมาเมื่อวานยังดูไม่ค่อยดีเท่าไรนัก สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจฝั่งเอเชีย
- มีนักวิเคราะห์ออกมาแสดงความกังวลถึงเรื่องหนี้เสียของจีน ว่าตัวเลขหนี้ของจีนนั้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จีนยังไม่มีมาตรการที่ดีพอมารองรับ
- กองทุน SPDR ปรับเพิ่มการถือครองทองคำอีก 0.38% สู่ระดับ 872.52 ตัน ส่วนทางฝั่ง Goldman sachs คาดการณ์ว่า ความน่าจะเป็นที่ดอกเบี้ยจะขึ้นเดือนหน้าขึ้นมาระดับ 35% นอกจากนั้น หากตัวเลขเศรษฐกิจออกมาแข็งแกร่งก็อาจจะทำให้การคาดการณ์สูงถึง 50% ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยลบกับราคาทองคำ เป็นไปตามความเห็นจาก คุณ Bullard ซึ่งมองว่า อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำทำให้เกิดความไม่สมดุลในระบบเศรษฐกิจ
แนวทางทองคำวันที่ 23-5-59
แนวรับ 1250 1245 1240 แนวต้าน 1257 1260 1265
ราคาทองคำเคลื่อนไหวแคบในวันศุกร์ (วันหยุดบ้านเรา) หลังจากปรับตัวลดลงแรงในวันพฤหัส ไปหยุดที่ระดับ 1245 ล่าสุด สัญญาณ EMA 8 และ 21 วัน ส่งสัญญาณ Dead cross ในรายวัน ทำให้ภาพรวมเริ่มกลายเป็นลบมากขึ้น และมองการรีบาวน์ไม่ไกล ประมาณ 1257+ - จากนั้นมองลงต่อไปทดสอบแนวรับเดิม 1245 อีกครั้ง แต่ให้น้ำหนักทางฝั่งลงมากขึ้นในช่วงนี้ ทั้งนี้วันนี้ไม่มีประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยในวันพฤหัส (วันศุกร์หยุด) ปรับตัวลดลงและสร้างแรงกดดันกับภาพรวมของดัชนี โดยรวมแล้วเริ่มดูไม่ดี และ ให้ระมัดระวังการพักฐานลงมา ปัจจัยลบที่เข้ามากดดันคือ ตลาดหุ้นเอเชียที่ญี่ปุ่นยังดูไม่สดใส และทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของอเมริกาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนหน้า ฝั่งเงินบาทมองการแข็งค่าลงมา แต่มองไว้ระดับ 35.55 เป้นแนวรับแรก เริ่มเห็นสัญญาณกลับตัวในภาพระยะวัน
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ประธาน FED สาขา Boston คุณ Eric Rosengren สภาวะเศรษฐกิจของอเมริกาในปัจจุบันพร้อมสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน และ เค้ากล่าวว่าพร้อมสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนดังกล่าว ซึ่งเค้ากล่าวว่า ตลาดก่อนหน้าที่จะมีผลการประชุม FOMC มองว่า โอกาสขึ้นดอกเบี้ยน้อยมาก จากโทนของคุณ Janet yellen ในรอบก่อนๆที่ออกไปทาง Dovish ทั้งนี้ที่ประชุมล่าสุดโทนมาในทางขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น
- Moody’s ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกาลง ประเมินไว้ระดับ 2 % จากรอบก่อน 2.3% โดยมีความเสี่ยงมากสุด คือ เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ เศรษฐกิจจีน ทั้งนี้ถึงแม้ในวันศุกร์ดัชนีหุ้นดาวโจนส์จะปรับตัวสูงขึ้น แต่เมื่อดูรายสัปดาห์พบว่า ยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
- เครื่องบิน Egypt air ที่หายไปในวันพฤหัสได้ตกลงในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน พบศพกับ สัมภาระบางส่วน ในไฟลต์มีคนทั้งหมด 66 คน ตอนนี้กำลังค้นหากล่องดำโดยใช้เรือดำน้ำค้นหา เพื่อสืบหาสาเหตุที่เครื่องบินตกต่อไป
- ตลาดหุ้นทางฝั่งยุโรปโดยรวมแล้วปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นอเมริกา และได้รับปัจจัยบวกจากหุ้นรายตัวที่มีข่าว ทั้งนี้ยังไม่มีข่าวที่มีนัยสำคัญประกาศออกจากกลุ่มยูโรโซน ข่าวยังคงเบาบาง
- ตัวเลขการส่งออกของญี่ปุ่นปรับตัวลดลง -10.1% จากเดือนมีนาคมที่ระดับ –6.8% เป็นการปรับตัวลดลงอย่างเร็วที่สุดในรอบ 3 เดือน และ ยังหดตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพรวมของญี่ปุ่นยังดูไม่ดีเท่าไร ทางฝั่งการนำเข้าหดตัวแรงเช่นกันสู่ระดับ -10.1% แย่ลงจากเดือนมีนาคมที่หดตัว –6.8% ทำให้ดุลบัญชียังเกินดุล นักวิเคราะห์คาดว่า เป็นผลมาจากการแข็งค่าของค่าเงินเยนอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ตลาดหุ้น Nikkei 225 ปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันนี้
- ทองคำปรับตัวลดลงแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยที่เริ่มกลับมามีบทบาทมากขึ้น มีความเห็นจากนักวิเคราะห์ว่า ถ้าจะให้ดีควรจะซื้อทองคำหลังจากการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ไป เบื้องต้นประเมินไว้ในเดือน มิถุนายน
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ $48/บาร์เรล ถึงแม้จะยังไม่ผ่านระดับ $50 ไปแต่ก็มองว่า ระดับนี้ลดความกังวลให้กับเศรษฐกิจโลกพอสมควร
แนวทางทองคำวันที่ 19-5-59
จากผลการประชุม FOMC เมื่อวานที่มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นเป็น 33% จากเดิมประมาณ 20% ทำให้ระยะกลางทองคำได้รับแรงกดดันจากปัจจัยดังกล่าว ในขณะที่ระยะสั้น มองการรีบาวน์จากตรงนี้เล็กน้อย (แนวรับ 1255) ไปยังแนวต้านใกลเคียงกับ 1265 ทิศทางโดยรวมยังอยู่ในฝั่ง Downtrend มองว่า การขึ้นเป็นโอกาสในการเปิดสถานะขายก่อน โดยมีเป้าหมายสั้นๆประมาณ 1245
ทางเลือกรอง : ราคาที่ปรับตัวขึ้นเกินกว่า 1270 จะทำให้ชะลอการปรับตัวลดลง
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาย่ำต่ำกว่าระดับ 1400 จุดอีกครั้ง ภาพรวมหลังจากไม่สามารถทำ New-high ได้ มองว่าให้ระมัดระวังการปรับตัวลดลง และ ไม่ควรมีสถานะซื้ออยู่ ทั้งนี้ ประเมินแนวรับแรกไว้ประมาณ 1380-1385 จุด ตลาดหุ้นไทยคาดว่า ได้รับแรงกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองว่า แนวต้าน 35.70 จะชะลอการอ่อนค่าสักพัก และให้น้ำหนักทางฝั่งแข็งค่าบ้างแต่ไม่มาก แนวรับ 35.55
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ผลการประชุม FOMC เมื่อคืนนี้ พบว่าที่ประชุมยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เช่นเดิมระดับ 0.25%-0.50% แต่มีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มิถุนายน (เดือนหน้ามากขึ้น) จากเดิมที่ FED Fund Rate บ่งชี้ว่าความน่าจะเป็นที่จะขึ้นดอกเบี้ยอยู่ระดับประมาณ 20% ตอนนี้ขึ้นมาอยู่ประมาณ 30% ปัจจัยที่ต้องติตตามคือ ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และเงินเฟ้อ ซึ่งจะติดตามไปอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้คนในที่ประชุม FED แต่ละท่าน ยังมองว่าเงินเฟ้อจะปรับเข้าสู่เป้าหมาย 2% ได้ในระยะยาว และคาดว่า หากตัวเลขเศรษฐกิจยังดีต่อเนื่องในเดือนหน้า น่าจะขึ้นดอกเบี้ยได้
- ดัชนีหุ้นของอเมริกาปรับตัวลดลงหลังจากทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยคาดว่าจะไวขึ้น ทั้งนี้การลดลงยังเป็นไปอย่างจำกัด เพราะ ยังมีความไม่แน่นอนซ่อนอยู่
- ข่าวทางยุโรปช่วงนี้จะไปอยู่ในฝั่งของ อังกฤษ (UK) เป็นหลัก ล่าสุด อัตราว่างงานของอังกฤษปรับตัวลดลงสู่ระดับ 5.1% และตลาดกำลังจับตาดูถึง Brexit ในเดือนหน้า หลังจากประชุมFOMC เพียงหนึ่งสัปดาห์ ประเด็นในเรื่องของ Brexit นั้นคือ British exit หมายความว่า อังกฤษจะทำประชามติว่าจะออกจากยูโรโซนหรือไม่ และอาจจะก่อให้เกิดความปั่นป่วนในโลกการเงินหากมีการออกจริง ทั้งนี้ตลาดคาดการณ์ว่า โอกาสที่จะเกิด Brexit นั้นค่อนข้างน้อย
- ธนาคารกลางจีนดูดซับสภาพคล่องเพิ่มอีก 1 หมื่นล้านหยวน จากวันก่อนหน้าดูดสภาพคล่องเข้าไปแล้ว 2หมื่นล้านหยวน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในเสถียรภาพของเงิน ที่มองว่า เงินในระบบมีปริมาณเพียงพออยู่แล้ว ข่าวนี้ส่งผลกระทบกับค่าเงินบาทเราด้วยเร่งการอ่อนค่า (ดูดเงินกลับ=ขายเงินบาทออก เพื่อดึงเงินหยวนกลับประเทศ) แต่ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทจากข่าวนี้ดูเป็นไปอย่างจำกัด
- ทองคำปรับตัวลดลงกว่า $20 เมื่อคืนนี้หลังจากทิศทางเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าอีกครั้งหนึ่ง เพราะ การคาดการณ์ขึ้นดอกเบี้ยในเดือนหน้า ทั้งนี้ยังไม่มีข่าวหรือปัจจัยอื่นๆที่เข้ามากระทบกับทองคำเท่าไรนัก ส่วนแรงซื้อยังเข้ามากองทุน SPDR อย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบทั้งของอเมริกาและซาอุดิอาระเบีย ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาน้ำมันดิบทรงตัว ถึงแม้โภคภัณฑ์ประเภทอื่นๆจะปรับตัวลงแรง
แนวรับ 1275 1269 1264 แนวต้าน 1280 1282 1287
เมื่อวานเกิด Pin bar หางบนยาวพอตัว เเละสิ่งที่น่าสนใจคือ เป็น pin bar ที่ยื่นออกไปจาก เเท่งเเม่ (mother's bar) บริเวณกรอบสีเเดง ปกติเกิด Pin bar ฝั่งไหน ก็มักจะวิ่งไปฝั่งตรงข้าม วันนี้เลยมองลงมากกว่า ส่วนการรีบาวน์หลังจาก Pin bar มักจะเกิดขึ้นไม่เกินครึ่งของไส้เทียน ซึ่งคือ บริเวณ 1280 ที่เดิม + - เเถวบริเวณนั้น จึงเป็นจุดที่ควรจะเปิดสถานะ S ส่วนจุดตัดขาดทุนจะอยู่บริเวฯไส้บนแถว 1285
USD/THB
รูปแบบแท่งเทียนของ SET หลังจากปรับตัวขึ้นแรงในช่วงก่อนหน้า เกิดแท่งเทียนตัวเล็กๆ ช่วงบนของแท่งเทียนใหญ่ ยังมองว่า ทั้งหมดนี้เป็นการพักตัวฝั่งขึ้นเท่านั้น ยังให้น้ำหนักทางบวกกับ SET อยู่ ส่วนในระยะสั้นยังอยากเห็นการปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าระดับ 1426 เพื่อสร้าง New-high ใหม่ ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองการแข็งค่าต่อเนื่อง แนวรับแรกประมาณ 35.30-35.35 ซึ่งถึงแล้ว หากหลุดไปอีกไปยัง 35.25
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- มีข่าวเรื่องบริษัท Apple ที่ก่อนหน้า หุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากยอดขายที่หดตัวลง และ กองทุน Hedge fund ต่างไม่สนใจ และลดสถานะการถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ข่าวเมื่อวานนี้พบว่ากองทุน Berkshire’s ของ คุณWarren Baffett เข้าซื้อหุ้น Apple วงเงินกว่า $1 Billions ซึ่งเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมาก ท่ามกลางการคาดการณ์ของ Wallstreet ที่ยังคิดว่ายอดขายและกำไรจะยังคงไม่ดี ทั้งนี้เมื่อวานนี้หุ้นของ Apple ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 3.7% และ เป็นตัวที่สนับสนุน Sentiment ของตลาดหุ้นโดยรวม เช่นเดียวกับการปรับตัวสูงขึ้นของน้ำมันดิบไปแตะระดับ $47/บาร์เรล ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น 1%
- ดัชนีภาคการผลิต Empire state ออกมาลดลง –9 จุด จากเดือนก่อนหน้าประมาณ 9.56 จุดและคาดการณ์ 7 จุด บ่งบอกถึงการชะลอตัวลงในสินค้าในอนาคต
- ตลาดหุ้นยุโรปโดยรวมแล้ว ผันผวนแต่ยังปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น การปรับตัวสูงขึ้นของหุ้นอเมริกา รวมทั้ง GDP ของเยอรมันที่ออกมาดี แต่มาได้รับแรงกดดันจากตัวเลขของจีนที่ประกาศออกมา แย่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค้าปลีก การลงทุน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
- รมว.คลังของไทยประเมินว่า เศรษฐกิจของไทยน่าจะขยายตัวระดับ 3% ต่อปีอย่างต่อเนื่อง ยังมองว่ามีความเหมาะสมที่ตัวเลขระดับนี้จะทำให้เกิดการดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติให้ไหลเข้ามาลงทุนได้ และคาดว่าภาวะภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร จะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงหลังฤดูฝน
- ทองคำช่วงระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขายปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่หลังจาก ตลาดหุ้นอเมริกาเปิดสูงขึ้น และ ฟิวเจอร์อ้างอิงน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน จาการคาดการณ์ว่า Supply จะชะลอตัวลง ทำให้ทองคำที่เป็นสินทรัพย์ทางเลือกปรับตัวลดลงและเกิดเป็น Pin bar ไปเมื่อวานนี้
แนวรับ 1275 1269 1264 แนวต้าน 1280 1282 1287
เมื่อวานเกิด Pin bar หางบนยาวพอตัว เเละสิ่งที่น่าสนใจคือ เป็น pin bar ที่ยื่นออกไปจาก เเท่งเเม่ (mother's bar) บริเวณกรอบสีเเดง ปกติเกิด Pin bar ฝั่งไหน ก็มักจะวิ่งไปฝั่งตรงข้าม วันนี้เลยมองลงมากกว่า ส่วนการรีบาวน์หลังจาก Pin bar มักจะเกิดขึ้นไม่เกินครึ่งของไส้เทียน ซึ่งคือ บริเวณ 1280 ที่เดิม + - เเถวบริเวณนั้น จึงเป็นจุดที่ควรจะเปิดสถานะ S ส่วนจุดตัดขาดทุนจะอยู่บริเวฯไส้บนแถว 1285
USD/THB
รูปแบบแท่งเทียนของ SET หลังจากปรับตัวขึ้นแรงในช่วงก่อนหน้า เกิดแท่งเทียนตัวเล็กๆ ช่วงบนของแท่งเทียนใหญ่ ยังมองว่า ทั้งหมดนี้เป็นการพักตัวฝั่งขึ้นเท่านั้น ยังให้น้ำหนักทางบวกกับ SET อยู่ ส่วนในระยะสั้นยังอยากเห็นการปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าระดับ 1426 เพื่อสร้าง New-high ใหม่ ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองการแข็งค่าต่อเนื่อง แนวรับแรกประมาณ 35.30-35.35 ซึ่งถึงแล้ว หากหลุดไปอีกไปยัง 35.25
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- มีข่าวเรื่องบริษัท Apple ที่ก่อนหน้า หุ้นปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากยอดขายที่หดตัวลง และ กองทุน Hedge fund ต่างไม่สนใจ และลดสถานะการถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ข่าวเมื่อวานนี้พบว่ากองทุน Berkshire’s ของ คุณWarren Baffett เข้าซื้อหุ้น Apple วงเงินกว่า $1 Billions ซึ่งเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมาก ท่ามกลางการคาดการณ์ของ Wallstreet ที่ยังคิดว่ายอดขายและกำไรจะยังคงไม่ดี ทั้งนี้เมื่อวานนี้หุ้นของ Apple ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 3.7% และ เป็นตัวที่สนับสนุน Sentiment ของตลาดหุ้นโดยรวม เช่นเดียวกับการปรับตัวสูงขึ้นของน้ำมันดิบไปแตะระดับ $47/บาร์เรล ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้น 1%
- ดัชนีภาคการผลิต Empire state ออกมาลดลง –9 จุด จากเดือนก่อนหน้าประมาณ 9.56 จุดและคาดการณ์ 7 จุด บ่งบอกถึงการชะลอตัวลงในสินค้าในอนาคต
- ตลาดหุ้นยุโรปโดยรวมแล้ว ผันผวนแต่ยังปรับตัวสูงขึ้น โดยได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น การปรับตัวสูงขึ้นของหุ้นอเมริกา รวมทั้ง GDP ของเยอรมันที่ออกมาดี แต่มาได้รับแรงกดดันจากตัวเลขของจีนที่ประกาศออกมา แย่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค้าปลีก การลงทุน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
- รมว.คลังของไทยประเมินว่า เศรษฐกิจของไทยน่าจะขยายตัวระดับ 3% ต่อปีอย่างต่อเนื่อง ยังมองว่ามีความเหมาะสมที่ตัวเลขระดับนี้จะทำให้เกิดการดึงดูดเม็ดเงินต่างชาติให้ไหลเข้ามาลงทุนได้ และคาดว่าภาวะภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตร จะฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงหลังฤดูฝน
- ทองคำช่วงระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขายปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น แต่หลังจาก ตลาดหุ้นอเมริกาเปิดสูงขึ้น และ ฟิวเจอร์อ้างอิงน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน จาการคาดการณ์ว่า Supply จะชะลอตัวลง ทำให้ทองคำที่เป็นสินทรัพย์ทางเลือกปรับตัวลดลงและเกิดเป็น Pin bar ไปเมื่อวานนี้
แนวรับ 1272 1269 1264 แนวต้าน 1278 1280 1286
ทองคำยังผันผวนอยู่ในกรอบ หลังจากวันศุกร์ได้รับปัจจัยลบจากตัวเลขค้าปลีกที่ออกมาดี รวมทั้งทิศทางเดียวกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดีเช่นกัน สร้างการคาดการณ์ถึงการขึ้นดอกเบี้ยได้มากกว่า 1 ครั้ง จากนั้นวันจันจันทร์กลุ่มตัวเลขของจีนประกาศออกมาแย่ทั้งหมด ทำให้ทองคำเริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยรวมแล้วยังแกว่งตัวในกรอบ มองการปรับตัวขึ้นไม่มากประมาณ 1280 จากนั้นมองการปรับตัวลดลงต่อกรอบล่าง 1265
ทางเลือกรอง : ราคาหลุดขึ้นไปเหนือกว่าระดับ 1280 จะทำให้เป็นการหลุดกรอบบนขึ้นไป
USD/THB
เมื่อเช้าตลาดหุ้นไทยได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของ GDP ที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน ( 12ไตรมาส) ส่งผลให้เปิดตลาด ดัชนี SET ปรับตัวสูงขึ้นแรง ทิศทางยังคงเป็นการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และ ยืนยันการทำ New high หากวันนี้ปิดระดับสวยเช่นนี้ได้ ค่าเงินบาทมองการแข็งค่าลงเล็กน้อย จากแนวต้าน 35.45 ประเมินการแข็งค่าไว้ไม่ไกลมากอยู่แถวระดับ 35.35
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขค้าปลีก (Retail sales ) ของอเมริกาออกมาที่ระดับ 1.3% จากเดือนก่อนหน้า –0.3% ซึ่งเท่ากับคาดการณ์ เป็นการขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 (ประมาณเกือบ 6 ปี ) ส่วนตัวเลขค้าปลีกหมวดไม่รวมสินค้าประเภทยานพาหนะ ( Core retail sales) ขยายตัว 0.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 0.4% ในขณะที่คาดการณ์ 0.6% ตัวนี้เป็นการขยายตัวมากที่สุดในรอบ 1 ปี
- ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 0.2% จากเดือนก่อนหน้า –0.1% และคาดการณ์ 0.3% ส่วน Core PPI ซึ่งไม่รวมสินค้าประเภทพลังงานและอาหารสดขยายตัว 0.1% ทางฝั่งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวสูงขึ้นสุดในรอบ 15 เดือน สู่ระดับ 95.8 เป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน และเข้าใกล้ระดับสูงสุดที่ 98.5 จุด
- GDP ของเยอรมันออกมาที่ระดับ 0.7% ในไตรมาสแรกของปี มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 0.6% จากอัตราว่างงานที่ลดลงต่อเนื่องและทำระดับต่ำสุดในปีนี้ ทั้งนี้ยังได้รับแรงกดดันจากภาคการส่งออกจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
- ดัชนีตลาดหุ้นของเมริกาและยุโรป โดยรวมแล้วระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขาย ได้รับปัจจัยบวกจากตัวเลขค้าปลีก และ การขยายตัวของเยอรมันที่ออกมาดี แต่ช่วงหลังของชั่วโมงการซื้อ-ขาย กลับเจอแรงขายจนทำให้ดัชนีไม่มีการขึ้นที่โดดเด่นนัก
- สภาพัฒน์เผย GDP ไทยโต 3.2% ในไตรมาสเเรก เทียบกับ 2.8% ในไตรมาสเเรกของปีก่อน เป็นการขยายตัวมากสุดในรอบ 3 ปี (12 ไตรมาส) ซึ่งมากกว่านักวิเคราะห์ได้คาดการณ์กันไว้ ว่าจะไม่ขยายตัว
-ตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่ประกาศออกมาโดยรวมค่อนข้างเป็นลบไม่ว่าจะเป็น ผลผลิตอุตสาหกรรม ตัวเลขค้าปลีก ตัวเลขการลงทุน ที่ต่างออกมาเป็นลบเกือบทั้งหมด และ ทำให้เศรษฐกิจจีนยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
- ทองคำปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นช่วงเช้านี้ จากตัวเลขของจีนที่ประกาศออกมาแล้วพบว่า แย่เกือบทั้งหมด ถึงแม้ในวันศุกร์จะได้รับปัจจัยลบจากตัวเลขค้าปลีก และ ตัวเลขกลุ่มอื่นๆของอเมริกา และยุโรปที่ออกมาดีก็ตาม ทำให้ทองคำมีการรีบาวน์ขึ้นมาในช่วงเช้าวันนี้ ส่วนสถานะกองทุนยังอยู่ระดับสูงต่อเนื่อง ยังไม่เห็นแรงขายหนักจากกองทุน SPDR แต่ภาพรวม ราคาทองคำเริ่มเห็นสัญญาณชะลอตัวพักฐาน
แนวรับ 1263 1260 1256 แนวต้าน 1272 1275 1280
เมื่อวานนี้ราคาปิดแท่งเทียนขึ้นก่อนหน้าจนเกือบหมด เกิดเป็นแท่งเทียน Bearish ในรายวัน จึงให้น้ำหนักทางฝั่งการปรับตัวลดลงต่อสูงขึ้น มองแนวรับแรกบริเวณ 1260 และ ถัดไปบริเวณ 1255 ยังมองการค่อยๆปรับตัยวลดลงมากกว่าที่จะลงแรง ทั้งนี้ระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขายอาจจะมีรีบาวน์ขึ้นได้บ้าง มองแนวต้านประมาณ 1270-1272 จากนั้นไปติดตามข่าวตัวเลขค้าปลีกช่วง 19.30 เบื้องต้นคาดการณ์เป็นลบกับทองคำ
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรงเมื่อวานนี้ และทำให้ค่า Basis ของฟิวเจอร์เริ่มกลับเป็นบวกเล็กน้อย หลังจาก Basis ติดลบมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นการผ่านแนวต้าน Downtrend ระยะสั้นออกมา ยังให้น้ำหนักทางบวกสำหรับตลาดหุ้นไทยอยู่ ถึงแม้ตลาดหุ้นทั่วโลกจะส่งมาทางลบ ทั้งนิ้ทิศทางค่าเงินบาทหลังจากหลุดแนวต้านยังมองการอ่อนค่าต่อ แนวต้านระยะสั้นอยู่บริเวณ 35.45-35.50
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแรงสู่ระดับ 294K จากสัปดาห์ก่อนหน้า 274K และคาดการณ์ 277K เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงสุดในรอบปี นับตั้งแต่ ช่วงเดือน กรกฎาคม 2015 นอกจากนี้ยังเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นสามสัปดาห์ติดต่อกัน แนวโน้มดูไม่ค่อยดีเท่าไรนัก และ อาจนำไปสู่การคาดการณ์ว่า ตัวเลขการจ้างงานที่จะประกาศในเดือนหน้า อาจจะออกมาไม่ดี ทั้งนี้ยังต้องติดตามตัวเลขจริง
- ประธาน FED สาขา St.louis คุณ James Bullard มองว่า อเมริกามีโอกาสกลับเข้าสู่สภาวะถดถอยอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับปกติ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จะเกิดการถดถอยเมื่อไร ส่วนประธาน FED สาขา ชิคาโก ยังประเมินเศรษฐกิจอเมริกาเติบโต 2.5% และ ยังอยาก Wait and see ในเรื่องนโยบายการเงินก่อน
- ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมัน German CPI ออกมาระดับ 0.3% เท่ากับเดือนก่อนหน้า ยังไม่มีนับสำคัญเท่าไรนัก ภาพรวมตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงถึงแม้ระหว่างวันจะปรับตัวขึ้นแรง ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่แย่กว่าเดิมมาก และ น้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงแรงจากจุด High
- มูลค่าหุ้นของ Alphabet (Google) ได้ขึ้นกลายเป็นบริษัทที่มี Market cap ใหญ่ที่สุดเรียบร้อยแล้ว แซงหน้า Apple ที่ราคาปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง (ต่ำสุดนับจากปี 2014)
- ผลประกอบการกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่นที่จะทยอยประกาศออกมา คาดการณ์ว่าจะออกมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ ทำให้มาร์จิ้นส่วนต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและกู้ปรับตัวลดลง
- อัตราเงินเฟ้อ CPI ของอินเดียปรับตัวขึ้นแรงสู่ระดับ 5.39%นอกจากนี้คาดการณ์ว่าในปีนี้ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน อินเดียจะมีปริมษรน้ำที่สูงกว่าเฉลี่ย โดยรวมแล้ว ตลาดยังไม่ให้น้ำหนักไปทางอินเดียเท่าไร (อินเดียดี ความต้องการทองคำอาจจะดีขึ้น)
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับเกินกว่า $46/บาร์เรล จาก IEA ที่ประเมินว่า อุปทานส่วนเกินของน้ำมันดิบจะน้อยลง จากความต้องการของอินเดียที่ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง เช่นเดียวกับประเทศจีน
- ทองคำปรับตัวลดลงหลังจากเงินดอลลาร์เมื่อคืนนี้แข็งค่าขึ้นอีกครั้ง ถึงแม้ระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขาย จะมีการปรับตัวขึ้นแรงถึงระดับ $1280
แนวรับ 1272 1270 1267 แนวต้าน 1275 1280 1285
ทองคำปรับตัวสูงขึ้นทดสอบแนวต้านแถว 1275 เบื้องต้นมองว่า แนวรับระยะสั้นวันนี้จะอยู่บริเวณ 1272 ซึ่งเป็นจุดตัดของเส้น EMA 8 และ 21 วันที่ใช้ หากหลุดลงมาจะทำให้ฝั่งลงมีน้ำหนักมากขึ้น หากหลุดลง จะประเมินแนวรับไม่ลึกมากประมาณ 1267 ภาพรวมยังเป็นฝั่งขึ้นอยู่ แต่ต้องระมัดระวังเช่นเดิม ข่าวบวกที่เข้ามาจะเป็นเรื่องของกาปรับตัวลดลงของตลาดหุ้นทั่วโลก และเงินดอลลาร์ที่เริ่มอ่อนค่าอีกครั้ง
ทางเลือกรอง : ราคาไม่หลุด 1272 จะมองว่า จะเริ่มกลับไปแกว่งตัวในกรอบ 1272-1278 บริเวณกรอบสีดำ
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยเมื่อวานนี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ยังขาดการขึ้นแรงๆและเริ่มมองว่าให้ระมัดระวังการปรับตัวลดลงต่อหากยังไม่เห็นแรงขึ้นหนักๆ ต่างชาติยังคงขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ทิศทางค่าเงินบาทหลังจากที่ประชุม กนง. คงดอกเบี้ย มองว่า จะเริ่มอ่อนค่าเล็กน้อย เพราะ แนวโน้มหลุด 35.13 ออกมาตั้งแต่วันก่อน จะเริ่มมองการอ่อนค่า
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- มีความเห็นจาก Bloomberg มองว่า ไม่ว่าใครจะถูกเลือกมาเป็นประธานาธิบดี คนคนนั้นอาจจะต้องเผชิญกับภาวะถดถอยของเศรษฐกิจอเมริกา ปัจจุบันการขยายตัวกินเวลา 83 เดือนซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องมากที่สุดติด 1ใน 4 ที่เคยยาวนานสุดๆ เมื่อเทียบย้อนกลับไป 150 ปีที่แล้ว ในปัจจุบันเริ่มเห็นสัญญาณกระทิงที่เริ่มมีอายุแล้ว จากกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ผ่าจุดสูงสุด และ แรงกดดันค่าจ้างแรงงาน รวมถึงการเติบโตโดยรวมเฉลี่ยที่อยู่เพียงระดับ 2% นับตั้งแต่ มิถุนายน 2009 ถ้าประธานาธิบดีคนต่อไปไม่เจอกับเศรษฐกิจถดถอย จะกลายเป็น U.S. record ใหม่ทันที (การขยายตัวต่อเนื่องครั้งที่ยาวนานที่สุดกินเวลา 10 ปี ในปี 1991)
- ตลาดหุ้นฝั่งอเมริกาปรับตัวลดลงเมื่อวาน ถึงแม้จะมีช่วงขึ้นไประหว่างชั่วโมงซื้อ-ขาย
- ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปโดยรวมแล้วปรับตัวลดลง จากการผิดหวังเรื่องผลประกอบการกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะในอิตาลี รวมทั้ง ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนค่อนข้างน่าผิดหวัง ราคาหุ้นของ Banco popolare ที่มีปัญหาเรื่องสินเชื่อตอนช่วงต้นปีปรับตัวลดลงกว่า 9% จากกำไรไตรมาสแรกที่ออกมาน่าผิดหวัง
- สถานการณ์ในกรีซดูเหมือนจะผ่านไปด้วยดี ล่าสุด ECB เตรียมพิจารณาการเปิดทำการของธนาคารพาณิชย์กรีซในเดือนหน้า และคาดว่าจะมีสรุปผลการทำงานของกรีซ
- ตัวเลขกุลการค้าของญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 21 ติดต่อกัน หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเป็นประโยชน์ต่อการนำเข้า ทั้งนี้ตัวเลขการส่งออกยังไม่ดี และ สถานการณ์โดยรวมของญี่ปุ่นยังมีปัญหาเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
- ผลการประชุม กนง. ของไทยเมื่อวานมีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% โดยให้เหตุผลว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังขยายัวได้ในทิศทางเดียวที่ใกล้เคียงกับการประเมินไว้ครั้งก่อน แต่มีความเสี่ยงเพิ่มเติมจากภาวะภัยแล้ง
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปซื้อ-ขายระดับใกล้เคียง $45/บาร์เรล เป็นระดับที่ใกล้จะทำ New-high ในระยะสั้น ทั้งนี้ยังไม่สามรถผ่านไปได้ ปัจจัยบวกที่เห็นคือ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐอีกครั้งหนึ่ง
- SPDR เพิ่มสถานะการถือครองทองคำอีก 0.3% สู่ระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ ธันวาคม 2013 หลังจากเงินดอลลาร์เริ่มอ่อน และ ตลาดหุ้นเริ่มปรับตัวลดลง
แนวรับ 1262 1259 1250 แนวต้าน 1270 1275 1280
วันนี้ดูรีบาวน์ต่อเนื่องจากเมื่อวาน หลังจากราคาเริ่มสร้างฐานบริเวณนี้ได้ ประเมินแนวต้านระดับ 1275-1280 การเคลื่อนไหวยังเป็นไปอย่างจำกัด ส่วนข่าวที่เข้ามากระทบกับปัจจัยพื้นฐานคือ Goldman sachs มองว่า การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ได้มาถึงจุดต่ำสุดแล้ว เป้าหมายการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ Goldman ประเมินไว้ในอีก 2 ปีว่าจะแข็งค่าขึ้น 15% ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบเต็มๆกับราคาทองคำ ต้องติดตามประเด็นนี้
ทางเลือกรอง : ราคาหลุด 1255-1260 ลงมาอีกครั้ง
USD/THB
ต่างชาติยัง Short สุทธิในฟิวเจอร์อย่างต่อเนื่อง และก็ยังขายตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง ฝนอีกฝั่งหนึ่งนั้น คนที่เปิดสถานะสู้กับต่างชาติเป็นกองทุนบ้านเรา ที่ Long สุทธิอย่างต่อเนื่อง ตลาดหุ้นไทยเริ่มให้น้ำหนักทางฝั่งบวกหลังจากเมื่อวานนี้ปรับตัวลดลงแรงในช่วงก่อนหน้าก่อนที่จะรีบาวน์ขึ้นมาท้ายตลาด และ ตลาดหุ้นทั่วโลกที่ส่งมาทางบวก ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองแข็งค่าต่อ ติดตามกาประชุม กนง. ช่วงบ่ายวันนี้
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 200 จุดเมื่อวานนี้ เป็นการปรับตัวดีที่สุดใน 1 วัน นับตั้งแต่ วันที่ 11 มีนาคม 2559 จากเงินเยนที่อ่อนค่าลง (ช่วงที่ลงก็เกิดจากเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น) และ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้แรงบวกจากหุ้น Goldman sachs และ IBM ทั้งนี้นักวิเคราะห์ต่างประเทศยังคงไม่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับการขึ้นมาของตลาดหุ้นได้ว่าสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
- Goldman sachs ออกมาให้ความเห็นว่า การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ได้มาถึงจุดต่ำสุดแล้ว หลังจากช่วงสัปดาห์ก่อนปรับตัวอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี และก็มีรีบาวน์ขึ้นมากว่า 1% สำหรับเป้าหมายการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ Goldman ประเมินไว้ในอีก 2 ปีว่าจะแข็งค่าขึ้น 15% นักลงทุนทองคำควรจะติดตามความเห็นนี้
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันปรับตัวลดลง –1.3% จากเดือนก่อนหน้า –0.7% และคาดการณ์ –0.2% เป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนดุลบัญชีของเยอรมันเกินดุลมากขึ้น จากยอดตัวเลขการส่งออกที่ดีขึ้น
- ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปปรับตัวสูงขึ้น จาก Sentiment ตลาดหุ้นทั่วโลกที่ส่งมาทางบวก พร้อมทั้ง ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับหุ้นกลุ่มโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ปัญหาเรื่องหนี้กรีซเริ่มจะบรรเทาลง ตลาดหุ้นกรีซพุ่งสูงกว่า 3.2%
- ยอดขายรถยนต์ของจีนขยายตัว 6.4% ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ได้รับประโยชน์จาก Promotion กระตุ้นยอดของ Dealer เพื่อจะลดสต๊อกที่เหลืออยู่เยอะ
- ข่าวทางฝั่งเอเชียโดยรวมแล้วยังไม่มีนัยสำคัญเท่าไรนัก ตลาดหุ้นจีนช่วงเดือนก่อนหน้าปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาพอสมควรในเดือนนี้ และทำให้แนวโน้มของตลาดหุ้นเอเชียยังดูทรงตัว ไม่มีนัยสำคัญเท่าไรนัก
- ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ คุณ Paul singer ให้ความเห็นกับ Bloomberg ว่า การปรับตัวสูงขึ้นที่ดีที่สุดใน 1 ไตรมาสในรอบ 30 ปีของทองคำนั้น เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น และมองว่า จะมี upside ของทองคำเพิ่มอีกเยอะจาก ทิศทางเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ตัวนี้เป็นอีกความเห็นหนึ่งที่อยู่คนละฝั่งกับ Goldman sachs
- น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวานนี้ออกจากระดับ $43/บาร์เรล ไปซื้อขายกันระดับ $45