ประชาสัมพันธ์
แนวทางทองคำวันที่ 19-5-57
เเนวรับ 1290 1285 1275 เเนวต้าน 1302 1305 1307
ทองคำยังคงแกว่งตัวในกรอบสามเหลี่ยมระหว่าง 1280-1305 ซึ่งมองว่า ระดับนี้ยังไม่มีทิศทางที่สำคัญมากนัก ต้องรอข่าวมากระชากออก ซึ่งจากปัจจัยืพ้นฐานนั้น ถ้าไม่ได้มีข่าวอะไรใหม่ๆ ทางลงจะยังคงได้เปรียบเล็กน้อย จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังออกมาดี และ FED ที่จะทยอยลดวงเงินและขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ต้องรอมาดูราคา ณ ตอนที่ทะลุออกมาได้ว่าจะมีข่าวอะไรในทิศทางไหนหรือไม่ อาจจะเป็นรัสเซียทำสงครามขึ้นมาอีกรอบก็ได้ถ้าราคาผ่านกรอบบน ซึ่งยังไม่มีครสามารถคาดเดาได้ ประกอบกับรูปแบบทางกราฟก็ 50:50 เช่นกัน ทั้งขึ้นและลง แต่ในวันนี้ดูขึ้นไปก่อนทดสอบ 1300
ต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,079 ล้านบาท นับเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ และ Short สุทธิในฟิวเจอร์อีก 299 สัญญา ในฝั่งของตราสารหนี้ก็ขายสุทธิเรื่อยๆ ค่าเงินบาทแนวต้าน 32.55 ที่ยังไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ และ คาดว่า จากนี้เริ่มจะแข็งค่ากลับลงมาอีกรอบหนึ่ง SET 50 index ถึงแม้จะยังอยู่ในช่วงลง แต่ก็มีแรงซื้อเข้ามาอย่างมาก และ ทำให้การลงนั้น เริ่มกลายเป็นกลางมากขึ้นและมองว่า อาจจะเข้าไปใกล้จุดสูงสุดที่ประมาณ 965
ภาพ DAY : ยังคงแกว่งตัวในกรอบสามเหลี่ยมเช่นเดิมระหว่าง 1280-1305 มองว่า การแกว่งในกรอบนี้ ยังต้องรอควยามชัดเจนในการทะลุฝั่งใดฝั่งหนึ่งออกมาให้เรียบร้อยก่อน ถึงจะเห็นภาพชัดขึ้น
ภาพ H4 : ยังส่งสัญญาณปรับตัวลดลงถึง Sideways ยังไม่มีทิศทางเช่นเดียวกัน
ภาพ H1 : ยังอยู่ในช่วงของการปรับตัวพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากวันศุกร์ แนวต้านบริเวณ 1297-1302
รายละเอียด
- ทองคำปัจจุบันยังคงแกว่งตัวเลือกทางในกรอบสามเหลี่ยม หรือ ที่เรียกกันว่า สามเหลี่ยมสมมาตร ซึ่งบทวิเคราะห์ต่างประเทศหลายๆแห่งก็มองไปในทางสามเหลี่ยมนี้เช่นกัน การเคลื่อนไหวแบบสามเหลี่ยมสมมาตรนั้น จะมีลักษณะที่ราคาแกว่งตัวในกรอบรอเลือกทางหรือ Breakout ไปในทางใดทางหนึ่ง ระหว่างที่สร้างรูปแบบนี้ ราคาจะทำจุดสูงสุดแต่ละรอบต่ำลงและจุดต่ำสุดในแต่ละรอบยกตัวขึ้นมีลักษณะเป็นแกว่งตัวในกรอบสามเหลี่ยม พร้อมทั้งปริมาณการซื้อ-ขายที่ลดลง โดยปกติแล้วสามเหลี่ยมแบบนี้มีอัตราส่วน ขึ้น : ลง เกือบจะครึ่งๆ คือ ลุ้นว่าจะไปทางไหน ซึ่งเราก็ต้องมาดูตัวปัจจัยพื้นฐานประกอบกัน เมื่อดูแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจและปัจจัยพื้นฐานยังออกมาทางลบได้เปรียบกว่า ซึ่งถ้าไม่มีข่าวอะไรที่ผลักดัน ยังมองว่า ทองคำได้รับแรงกดดันจากปัจจัยพื้นฐานมากกว่า เพียงแต่กราฟยังไม่แสดงอาการเท่าไรนัก ถึงจุดที่ราคา Breakout อาจจะมีข่าวในทางบวกเข้ามาก็ได้ ถ้าผ่านไปในทางขึ้น จึงควรติดตามให้ดีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 1280-1305 บวกลบในโซนนั้นอีกประมาณ $5
- Bloomberg อ้างอิงจาก YLG รายงานว่า ความต้องการทองคำของไทยในปีนี้น่าจะหดตัวลง เนื่องจากความผันผวนของราคา , ปัจจัยด้านการเมือง และ ตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า โดยคาดการณ์กันว่า ประเทศไทยจะซื้อทองคำทั้งปีประมาณ 150-200 ตัน ส่วนมุมมองของ Goldman Sachs ก็ยังมองเช่นเดิมว่า ทองคำยังคงได้รับแรงกดดันจากการฟื้นตัวของอเมริกา และคาดว่าจะลงไปใกล้โซน $1,180 อีกรอบหนึ่ง
- ตัวเลขขอสร้างบ้านใหม่ปรับตัวออกมาดีขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงเนื่องจาก ราคาอาหารที่สูงขึ้น และ ระดับราคาน้ำมันที่อยู่ระดับในโซนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี ทำให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายลความเชื่อมั่นที่น้อยลง
- Hedge funds and money manager ลดสถานะ ซื้อ ลงเล็กน้อยในทองคำ แต่ไปเพิ่มในซิลเวอร์แทน ทั้งนี้ SPDR ลดสถานะการถือครองทองคำลงเล็กน้อย 0.26 ตัน สู่ระดับ 781.99 ตัน
แนวทางทองคำวันที่ 16-5-57
เเนวรับ 1290 1285 1275 เเนวต้าน 1302 1305 1307
เมื่อวานนี้เกิดชนแนวต้านและไม่สามารถผ่านไปได้ ทำให้ภาพรวมนั้นเริ่มส่งสัญญาณกลับมาแกว่งตัวในกรอบใหม่ เป็นกรอบสามเหลี่ยมที่มีแนวรับ 1275-1280 แนวต้าน 1305 ระหว่างที่ราคาแกว่งตัวในกรอบนี้มองว่า ไม่มีนัยสำคัญอะไรในทิศทางต้องรอผ่านออกมาเท่านั้น ในวันนี้มองการกลับตัวขึ้นไปแถวบริเวณ 1300 อีกรอบหนึ่ง ถ้าแรงพอจะเป็นมุมบวก แต่ถ้าปรับตัวไปแล้ว ยังโดนแรงขายมองการปรับตัวลงไปทดสอบกรอบล่าง 1280 ตลาดอื่นยังมีน้ำหนักในทางบวกอยู่บ้าง เมื่อวานเงินยูโรเกิดสัญญาณกลับตัวแข็งค่า และ ตลาดพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้นอยู่เรื่อยๆ
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิเป็นวันที่สอง 602 ล้านบาท แต่ Short สุทธิในฟิวเจอร์เล็กน้อย 63 สัญญา ค่าเงินบาทยังอยู่ในโซนของการอ่อนค่ารีบาวน์จากแนวรับ 32.40 ภาพรวม SET50index ยังอยู่ในช่วงของการพักตัวขึ้นเล็กน้อยเช่นเดียวกัน โดยมีกรอบแนวรับ แนวต้าน ระยะสั้นบริเวณ 940-948 ที่เป็นกรอบชัดเจน
ภาพ DAY : เกิดเป็นแท่งเทียนแทงปิดลงมา ครึ่งหนึ่ง แต่ก็มองว่า ตรง ณ จุดนี้การเคลื่อนไหวในกรอบไม่ได้มีนัยสำคัญอะไรมาก ควรรอราคหลุดไปทางใดทางหนึ่งก่อน ไม่อย่างนั้นก็จะวนไปวนมา กรอบระหว่าง (1275)1280-1305
ภาพ H4 : ส่งสัญญาณพักตัว แต่ก็ยังไม่รุนแรง ยังคงมอง Sideways ก่อน
ภาพ H1 : หลังจากตกลงมาเมื่อวาน วันนี้ราคาเริ่มรีบาวน์ขึ้นมา ตอนแรกมองว่า จะรีบาวน์ไปใกล้ 1300 ถึง 1300 ต้นๆ จากนั้นมาดูว่าจะยืนอยู่หรือไม่
รายละเอียด
- หนี้เสียของจีน (Bad loans) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากสุดในไตรมาสนี้ นับตั้งแต่ปี 2005 สาเหตุมาจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ทำให้นำไปสู่ความกังวลที่ว่า ภาคธนาคารของจีนอาจจะกำลังมีปัญหาตามมา กำไรสุทธิมีแนวโน้มจะลดลง เนื่องจากต้องนำเงินบางส่วนไปตั้งสำรองในการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งนำไปสู่ทุนสำรองที่ลดลง เพราะ รัฐบาลต้องนำเงินไปอุ้มธนาคารที่มีปัญหา
- ตัวเลข GDP ทางฝั่งยุโรปที่ออกมาเมื่อวาน ออกมาโตน้อยกว่าที่คาดการณ์กันเกือบทั้งหมด โดย Flash GDP ของยูโรโซนออกมาเท่าเดิม 0.2% แต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ 0.4% ส่วนอิตาลี และ ฝรั่งเศส ก็ปรับตัวลดลงกันหมด โดยอิตาลีสู่ระดับติดลบ –0.1% มีเพียงเยอรมันเท่านั้นที่ออกมา 0.8% จากคาดการณ์ 0.7% และเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 0.4% นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนยังถูกปรับประมาณการณ์จากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ว่ามีแนวโน้มจะลดลงไปอีก
- John Paulson ผู้จัดการกองทุนที่มีสัดส่วนในการลงทุนในกองทุน SPDR เป็นรายใหญ่ ยังคงรักษาสถานะทองคำไว้คงที่ เป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากสถานการณ์ในยูเครน และ การคาดการณ์ในเรื่องของการเติบโตของเศรษฐกิจอเมริกา ทั้งนี้ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนในทองมากขึ้น จากตัวเลข ณ วันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมพบว่า ผู้จัดการกองทุน ได้เพิ่มสัดส่วน Bullish bet เป็นจำนวนมากสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และเป็นการถือสถานะ Long มากเป็น 3 เท่าของไตรมาสที่แล้ว ส่วนเมื่อวาน SPDR มีสถานะซื้อเป็นวันแรกในรอบเดือน ซื้อไป 1.79 ตัน สู่ระดับ 782.25
- ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ออกมาปรับตัวลดลงอย่างมาก สู่ระดับ 297K จากเดือนก่อนหน้า 321K และคาดการณ์ว่าจะเท่าเดิม นับเป็นการปรับตัวลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2007 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิต ปรับตัวลดลง ภาคการผลิต Philly FED ปรับตัวลดลงเล็กน้อย และเงินเฟ้อ CPI ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตัวเลขก็ยังออกมาปะปน แต่ตัวคนขอรับสวัสดิการว่างงานนั้นมีผลมากที่สุดและเป็นลบกับทองคำ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19.30 USD
Building Permits 1.01M 1.00M
Housing starts 0.98M 0.95M
Prelim consumer sentiment 84.7 84.1
แนวทางทองคำวันที่ 15-5-57
เเนวรับ 1302 1299 1290 เเนวต้าน 1305 1310 1315
ทองคำปรับตัวสูงขึ้นและไปทดสอบกรอบแนวต้านสามเหลี่ยมด้านบนที่ระดับโซน 1310 แต่ยังไม่สามารถผ่านไปได้ ในเบื้องต้นมองการย่อตัวลงมาเล็กน้อยถึงบริเวณ 1300-1302 ก่อนที่จะปรับตัวขึ้นต่อไปทดสอบอีกรอบหนึ่ง ภาพรวมยังคงเป็นในทางบวกได้เปรียบกว่า ถึงแม้จะยังอยู่ในกรอบ สภาพตลาดรอบบ้านทองคำนั้น ตลาดพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นค่อนข้างมาก เป็นปัจจัยบวก ส่วนค่าเงินดอลลาร์นั้นเป็นการอ่อนค่าเพียงในระยะสั้นเท่านั้น จึงมองว่า ทองคำยังขาดปัจจัยที่ชัดเจน และ ถ้ามองในด้านข่าวแล้ว ฝั่งลบมีน้ำหนักมากกว่า แต่ทางเทคนิคพบว่า ฝั่งบวกมากกว่า จึงมองว่า ภาพรวมยังสับสน
ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยวันแรกหลังจากห่างหายไป 2 วัน จำนวน 189 ล้านบาท พร้อมกับ Long สุทธิในฟิวเจอร์ 1,600 สัญญา ส่วนค่าเงินบาทเริ่มอยู่ในแนวโน้มของการแข็งค่า ในตอนแรกคาดว่า ระดับ 32.40 จะเป็นแนวรับที่ดี และ น่าจะทำให้ราคารีบาวน์ ซึ่งในวันนี้จะเป็นผลจากการรีบาวน์ขึ้นมา แต่ยังมองการอ่อนค่าไม่มากเท่าไรนัก SET 50 index ปรับตัวในช่วงรีบาว์ค่อนข้างแรง และทำให้แนวโน้มรีบาวน์ยังคงอยู่
ภาพ DAY : ขึ้นมาทดสอบกรอบด้านบนบริเวณโซน $1,310 และยังไม่สามารถผ่านไปได้ แต่ยังมีแนวโน้มที่จะยังผ่านไปได้ เพราะ โดยรวมแล้วยังส่งสัญญาณในทางบวกอยู่
ภาพ H4 : ปรับตัวสูงขึ้นพร้อมกับ MACD ที่มากกว่า 0 ยังไม่เห็นสัญญาณการหยุดขึ้น
ภาพ H1 : ส่งสัญญาณพักตัวเล็กน้อย ถึงบริเวณ $1,300 ต้นๆ ซึ่งมองว่า ระดับที่เกินกว่า $1,300 จะยังคงเป็นบวกอยู่
รายละเอียด
- ดัชนี PPI หรือ เงินเฟ้อทางฝั่งผู้ผลิตปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 0.6% จากเดิม 0.5% ขณะที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.2% แสดงให้เห็นถึง เงินเฟ้อทางฝั่งผู้ผลิตของทางอเมริกาปรับตัวสูงขึ้น และในวันนี้จะมีการประกาศตัวเลข CPI หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งมองกันว่า อาจจะออกมามากขึ้นเหมือนตัว PPI โดยปกติเงินเฟ้อที่มากขึ้น จะเป็นผลดีกับทอง แต่ตอนนี้มีข่าวในเรื่องของ การลดวงเงินของ FED ที่เงินเฟ้อถูกนำมาเป็นเงื่อนไข เมื่อเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 2.0% ก็มีแนวโน้มจะลดวงเงินเพิ่มอีก และ นำไปสู่การขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นผลลบกับทองทันที แต่วันนี้หลายคนก็ติดตามตัวเลขนี้อยู่ อาจจะทำให้มีความผันผวนในช่วงของการประกาศข่าว แต่ก็คาดการณ์กันอีกว่า ทองคำจะผันผวนแต่ยังไม่เยอะ แต่ก็น่าจะได้รับปัจจัยลบไปพอสมควร ขณะที่การมายืนเหนือระดับ $1,300 นั้นก็ดูดีขึ้นในทางเทคนิค แต่ยังขาดปัจจัยสนับสนุนที่แท้จริง เนื่องจากขึ้นมา เพราะ ส่วนหนึ่งการทำ Short covering และ เงินดอลลาร์ที่พักตัวอ่อนค่า แต่ไม่ได้กล่าวถึงสถานการณ์ในยูเครน
- ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงเมื่อวานหลังจากขึ้นไปทำระดับสูงสุดใหม่ ซึ่งนักวิเคราะห์ทางฝั่งเมืองนอกเคยให้ข้อสังเกตุไว้ว่า ให้ดู SP500 หรือ DOW30 (DJ) เทียบกับตัว Russell 2000 ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นอเมริกาเหมือนกัน แต่สองตัวแรกเป็นหุ้นขนาดใหญ่ ส่วนตัวหลังเป็นหุ้นขนาดเล็กแบบรวมทั้งตลาด เหมือน SET SET50 SET 100 บ้านเรา ซึ่งตลอดทางที่ DOW30 (DJ) ขึ้นมานั้น ตัว Russell 2000 กลับปรับตัวลดลง แสดงให้เห็นถึง ทิศทางที่ขัดแย้งกัน และ เป็นลักษณธของการตีวนกลุ่มสลับกันเล่น จึงเป็นสัญญาณเตือนให้ระมัดระวัง
- สถานการณ์ของเหมืองในแอฟริกานั้นยังคงมีความรุนแรงอยู่ โดยเป็นปัจจัยบวกกับ พัลเลเดียม และ แพลตินัม ไม่ได้กระทบกับเหมืองทองเท่าไรนัก
- IMF ออกมาวิเคราะห์ว่า มีโอกาส 25% ที่ยูโรโซนจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืดในปี 2015
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว 5.9% ในไตรมาสแรก นับเป็นการเติบโตที่ไวที่สุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากการเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19.30 USD
Unemployment claims 321K 319K
Core CPI 0.1% 0.2%
CPI 0.3% 0.2%
21.00 USD
Philly FED Manufacturing index 13.9 16.6
แนวทางทองคำวันที่ 14-5-57
เเนวรับ 1290 1285 1277 เเนวต้าน 1295 1305 1315
การเคลื่อนไหวของทองคำช่วงนี้ ยังคงรอความชัดเจนเพราะ ราคายังสร้างกรอบสามเหลี่ยมรอเลือกทางไว้ที่ระดับ 1275-1305 ซึ่งมองว่า การเคลื่อนไหวในกรอบนี้ จะไม่ได้แสดงถึงทิศทางที่มีนัยสำคัญเท่าไร เช่นเดียวกับในระยะสั้นกรอบ 1290-1296 ก็เช่นเดียวกัน แต่มองว่า ฝั่งขึ้นยังคงได้เปรียบกว่า เนื่องจาก ภาพทางเทคนิคนั้นกำลังส่งสัญญาณในทางบวกอยู่นิดหน่อย จากการผ่านแนวต้านมาได้ในวันก่อนและไม่ได้ปรับตัวลดลงไปต่ำกว่า 1290 และค่าเงินยูโรที่มี Bullish divergent ลูกใหญ่ซ่อนอยู่ รวมถึง ตลาดพันธบัตรที่ยังปรับตัวสูงขึ้น เป็นผลให้ยังมองว่า ทองคำยังคงได้รับแรงทางบวกอยู่บ้างในช่วงนี้
ค่าเงินบาทเริ่มเห็นสัญญาณกลับตัวแล้ว ในเบื้องต้นมองว่า ระดับ 32.60 จะทำหน้าที่เป็นแนวต้านที่ดี และ เริ่มจะกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าลงมา แนวรับแรกของค่าเงินบาทจะอยู่บริเวณ 32.40 และช่วงต่อจากนี้เริ่มมองแข็งค่าลงมาหน่อย ส่วนต่างชาติยังขายสุทธิในหุ้นเป็นวันที่ 2 1,246 ล้านบาท และ Short สุทธิในฟิวเจอร์ค่อนข้างมาก 11,952 สัญญาแบบมินิ ซึ่งเท่ากับ 2,390 สัญญา ทิศทาง SET50 ยังรีบาวน์อยู่
ภาพ DAY : ยังไม่มีทิศทางที่แน่นอน ยังคงเคลื่อนไหวในกรอบสามเหลี่ยมโซนบริเวณ 1275-1305 มองว่า กว่าจะมีแนวโน้มอีกรอบหนึ่งนั้น ต้องออกมาจากโซนแถวๆนี้ให้ได้ก่อน ไม่อย่างนั้น ราคาก็จะขึ้นลงสลับกันไปเป็นแบบนี้เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวันเลือกทาง ซึ่งมองว่า ใกล้จะหลุดกรอบออกมาแล้ว
ภาพ H4 : อยู่ในโซนของการรีบาวน์ แต่การแกว่งตัวยังเป็นไปอย่างจำกัด
ภาพ H1 : กรอบสามเหลี่ยมระยะสั้น 1290-1296 ก็ยังรอความชัดเจนอีกเช่นเดียวกัน แนวโน้มค่อนไปทางบวกได้เปรียบกว่า
รายละเอียด
- ดัชนีหุ้นของฝั่งอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น DOW 30 SP500 และ DAX ของเยอรมนีล้วนปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุด (New high) และยังซื้อ-ขายกันอยู่ในบริเวณนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งมาจาก Sentiment ตลาดในเชิงบวกที่ทำให้หุ้นปรับตัวสูงขึ้น และ ไม่สนใจข่าวร้ายเท่าไร เรียกว่า กำลังอยู่ใน Uptrend ก็เลยมีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยกับข่าวร้าย ข่าวร้ายที่ว่า คือ ตัวเลขค้าปลีก (Retail sales) ของอเมริกา เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในขณะที่เดือนก่อนหน้าขยายตัวระดับ 1.5% และคาดการณ์ที่ 0.4% ตัวเลขค้าปลีกนั้นถือเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสำคัญพอสมควรเนื่องจาก เศรษฐกิจอเมริกาเน้นการบริโภคของคนในประเทศเป็นหลัก ถ้าตัวเลขค้าปลีกน้อย ตีความได้ว่า อาจจะหมายถึง การบริโภคที่ลดลง และ GDP ที่คาดการณ์ว่า จะออกมาที่ระดับข 3.0-3.5% ในปีนี้อาจจะลดลงเหลือ 2.5%-3% และเป็นผลทำให้ตลาดพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน (yield ลด) ส่วนข่าวสถานการณ์ในยูเครนก็ยังแย่ลง หลังจากมีการปะทะเกิดขึ้นอีกแล้ว ทั้งนี้ตลาดหุ้นในช่วงขาขึ้นนั้น ไม่ยอมสะท้อนปัจจัยเหล่านี้ออกมาเท่าที่ควร ยังคงเร่งเดินหน้าทำจุดสูงสุดใหม่ ล่าสุดดัชนี SP500 ของอเมริกาได้แตะระดับ 1900 จุดเป็นครั้งแรกในชั่วโมงการซื้อ-ขายเมื่อวันก่อน
- กระแสเรื่อง Carry trade กำลังเปลี่ยนจาก เงินดอลลาร์ไปเป็นเงินยูโร การทำ Carry trade นั้นหมายถึง การกู้เงินสกุลที่ดอกเบี้ยถูก ไปลงทุนในประเทศที่ให้ดอกเบี้ยสูงเพื่อกินส่วนต่างดอกเบี้ย และ ค่าเงิน ในปัจจุบันนักลงทุนใช้เงินดอลลาร์ในการทำ Carry trade เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยเป้าหมายที่มานั้นจะเป็นแถว Emerging market ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า แต่เนื่องจากเงินดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่า และ ดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะขึ้น หลายฝ่ายวิเคราะห์กันว่า หันมาใช้เงินยูโรน่าจะดีกว่า
- มีข่าวเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของฝั่งอเมริกาจาก $7.25/ชั่วโมง ไปเป็น $10.10/ชั่วโมง ซึ่งประธาน FED วิเคราะห์แล้วไม่เห็นด้วย พร้อมแสดงความเห็นว่า รัฐบาลควรเร่งเคีลยร์การขาดดุลก่อน
- BofA วิเคราะห์ทางเทคนิคของทองคำพบว่า ช่วงนี้น่า Short เนื่องจาก ราคาที่ขึ้นไปถึง $1,390 นั้นไม่สามารถลบล้างแนวโน้มขาลงที่เคยทำไว้ได้ และ อาจจะเห็นการปรับตัวลดลงต่อไปยังระดับ $1,180 อีก
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19.30 USD
PPI 0.2% 0.5%
Core PPI 0.2% 0.6%
แนวทางทองคำวันที่ 12-5-57
เเนวรับ 1285 1277 1275 เเนวต้าน 1292 1295 1305
ทองคำยังคงเคลื่อนไหวในกรอบ
ต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น
ภาพ DAY : เกิดเป็นแท่งเทียนโดจิสองแท
ภาพ H4 : ยังคงส่งสัญญาณรูปแบบ Sideways เช่นเดียวกัน ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน แต่มีที่น่าสนใจคือ เกิดแท่งเทียน Pin bar ในระยะเวลานี้ จึงเป็นสัญญาณบวกแรกที่เข้า
ภาพ H1 : หลังจากลงมาเมื่อเช้านั้น ดูเหมือนจะเกิดภาวะ Bullish divergent ที่ยังไม่ยืนยันขึ้น แต่มองว่าในระยะสั้นนี้จะมี
รายละเอียด
- ข่าวทางฝั่งอเมริกาในวันศุก
- ตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวขึ้น
- มีรายงานว่า IMF อาจจะลดการเติบโตของจีนลงจา
- การนำเข้าทองคำของอินเดีย ผู้บริโภคทองคำที่มากเป็นอั
- Hedge funds and Money manager ได้เพิ่มสถานะ Bullish Bet ในทองคำอีก เป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน
แนวทางทองคำวันที่ 7-5-57
เเนวรับ 1305 1300 1295 เเนวต้าน 1315 1320 1330
เริ่มเห็นสัญญาณเลิกการพักต
ต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้
ภาพ DAY : เกิดเป็นแท่งเทียนตัวเล็กๆ โดยรวมยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ
ภาพ H4 : ส่งสัญญาณพักตัวลงมาเล็กน้อ
ภาพ H1 : ส่งสัญญาณออกจากการพักตัวเร
รายละเอียด
- เมื่อวานมีตัวเลข Trade balance ออกมาพบว่า ขาดดุลน้อยลง ออกมาที่ระดับ $4.04 หมื่นล้าน จากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล $4.19 หมื่นล้าน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการส่งออ
- ทองคำยังคงเล่นกับข่าวเหตุก
- ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลุ
- ตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวลดลง
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
21.00 USD
FED Chair Yellen Testifies
เเนวรับ 1305 1300 1295 เเนวต้าน 1316 1320 1330
ราคาทองคำยังคงปรับตัวขึ้นส
ต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้
ภาพ DAY : ยังส่งสัญญาณปรับตัวขึ้นต่อ
ภาพ H4 : ก็ยังส่งสัญญาณปรับตัวขึ้นต
ภาพ H1 : ผลจากภาวะ Bearish divergent ทำให้ภาพรายชั่วโมง เริ่มส่งสัญญาณพักตัวลงมาแล
รายละเอียด
- สถานการณ์ในยูเครนที่รุนแรง
- นักวิเคราะห์ได้ออกมาให้ควา
- ECB ยังคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อตลอดทั้งปีนี้ยังคง
ภาพ DAY : เกิดเป็นแท่งเทียนตัวเล็กๆ ไม่สามารถยืนเหนือบริเวณ 1340-1345 ได้ ก็เป็นสัญญาณค่อนไปทางลบมากกว่า รวมถึงตัว MACD ที่ปรับตัวลดลงเรื่อยๆ มองว่า ทองคานั้นเข้าสู่ช่วงการปรับฐานในภาพใหญ่ อาจได้เห็นการปรับตัวลดลงไปอีก ถ้ายังไม่สามารถขึ้นไปยืน 1345 ได้
ภาพ H4 : ยังคงส่งสัญญาณพักตัวลงมาด้านล่าง ยังไม่มีแรงขึ้นที่แข็งแกร่งพอ
ภาพ H1 : มองการปรับตัวขึ้นไปยังกรอบบนบริเวณ 1340 ได้ก่อน จากนั้นถ้าไม่สามารถยืนได้ แนวโน้มก็ปรับตัวลงกรอบล่างอีกรอบหนึ่งบริเวณ 1335 แต่กรณีนี้มองว่า โอกาสหลุดกรอบล่างยังมีสูงกว่า
หลังจากเมื่อวานนี้ทองคาไม่สามารถไปยืนเหนือ 1340-1345 ได้นั้น มองว่า ยังส่งสัญญาณทางลบออกมาในภาพวัน จากตัว MACD ที่ค่อยๆปรับตัวลดลง และ แรงซื้อที่ไม่มีเข้ามา ในระยะสั้นยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1335-1340 โยมองขึ้นไปทดสอบด้านบนก่อน ถ้าไม่ผ่านจะย่อตัวลงมาแนวรับกรอบล่าง และ มีแนวโน้มสูงที่จะผ่านกรอบล่างลงไป ถ้าเกิดดดูภาพใหญ่แล้ว โอกาสที่จะลงมีมากกว่าขึ้นสาหรับการพักฐานในภาพใหญ่นี้ ค่าเงินยูโรก็เริ่มส่งสัญญาณปรับตัวลดลงในภาพรวมเช่นเดียวกัน หมายความว่า ดอลลาร์แข็ง ส่วนตลาดพันธบัตรไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากเท่าไรนัก
เงินบาทแข็งค่าลงมา ไปในทิศทางเดียวกันกับ ต่างชาติที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นร่วม 2000 ล้านบาท และ Long สุทธิอีกเล็กน้อยหลักร้อยกว่าสัญญา ในวันนี้จะมีการประกาศจ่ายปันผลของหุ้นหลายตัว และ ยังคงมองการกลับลงไปทดสอบระดับ 905 อีกรอบหนึ่ง เงินบาทหลังจากแข็งค่าเมื่อวาน พบเจอ Bullish divergent ซ่อนอยู่ จึงมองการปรับตัวอ่อนค่าไปยังระดับ 32.35-32.50 ในเบื้องต้นก่อน
6 มีนาคม 2557
แนวต้าน |
1341 |
1345 |
1350 |
แนวรับ |
1333 |
1325 |
1320 |
- วันนี้มีประเด็นในฝั่งของยูโซน ในช่วงหัวค่ำจะมีกำรประชุมธนำคำรกลำงยุโรป (ECB) ตลาดติดตามกันว่าจะมีข่าวอะไรออกมาหรือไม่ โดยข่าวที่ตลาดจับตามองคือ เรื่องของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เนื่องมาจากช่วงที่ผ่านมา เงินเฟ้อในยูโรโซนทรงตัวอยู่ในระดับต่าตลอด จนหลายคนรวมถึงประธาน IMF ออกมาเตือนว่า ธนาคารกลางจะต้องดาเนินการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่า ถึงแม้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เงินเฟ้อจะขยับตัวขึ้น 0.8% ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้สดใสนัก เพราะ เงินเฟ้อที่ต่าจะก่อให้เกิดเป็นภาวะเงินฝืดซึ่งร้ายแรงกว่าภาวะเงินเฟ้อ และ จากวันก่อนหน้าที่มีการออกมาพูดของประธาน ECB การปล่อยสินเชื่อยังคงไม่ฟื้นตัวเท่าไรนัก ยูโรโซนจึงอาจจะต้องมีการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม โดยเน้นไปที่การปล่อยสินเชื่อ หรือ การทา LTRO (Long term refinancing operations ) เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการฟื้นตัวและเกิดเงินเฟ้อมากขึ้น กลับมาที่ข่าวในวันนี้ หลายฝ่ายยังคาดการณ์ว่า ในเดือนมีนาคมนี้ ECB จะยังคงไม่ลดอัตราดอกเบี้ยลง หลังจากลดไปก่อนหน้าครั้งหนึ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ถ้าเกิดไม่ลดจริงก็ไม่มีอะไร แต่ถ้าลดแบบ Surprise ตลาดนั้น อาจจะได้เห็นการกระชากลงของเงินยูโร ซึ่งหมายความว่า ทองจะลงตาม ในอีกมุมหนึ่ง การผ่อนคลายทางการเงินนั้นจะเป็นบวกกับทองคา ขึ้นอยู่กับว่าตลาดให้น้าหนักในฝั่งไหนมากกว่ากัน
- ตัวเลขกำรจ้ำงงำนนอกภำคเกษตรที่สำรวจโดย ADP เมื่อวานนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วแต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ ส่วน PMI ภาคบริหารหดตัวลงเล็กน้อย ตลาดเริ่มไม่ให้ความสนใจกับตัวเลขเศรษฐกิจมากนัก เพราะ มองว่าเป็นผลมาจาก สภาพอากาศหนาว เพราะ สองเดือนก่อนที่เกิดภาวะนี้ ตัวเลขก็ออกมาดี ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ แต่พอมาสองเดือนทีผ่านมากลับพลิกไปคนละหน้า และ Beige book เมื่อวานนี้ก็รายงานเช่นเดียวกันว่า อากาศหนาวในช่วงที่ผ่านมาได้ฉุดเศรษฐกิจลงในระดับหนึ่งชั่วคราว
- ธนำคำร 5 แห่งในยุโรปที่เป็นผู้กำหนด Settlement price หรือ London benchmark gold fixing ได้ถูกกล่าวหาว่า ได้ทาการทาราคาในการกาไหนดราคา Fix ในแต่ละวัน จะถูกตรวจสอบต่อไปในกรณีนี้
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2
head1 | head2 | head3 | head4 | head5 |
---|---|---|---|---|
Lorem1-1 | Lorem1-2 | Lorem1-3 | Lorem1-4 | Lorem1-5 |
Lorem2-1 | Lorem2-2 | Lorem2-3 | Lorem2-4 | Lorem2-5 |
Lorem3-1 | Lorem3-2 | Lorem3-3 | Lorem3-4 | Lorem3-5 |
Lorem4-1 | Lorem4-2 | Lorem4-3 | Lorem4-4 | Lorem4-5 |
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2 Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer2
head1 | head2 | head3 | head4 | head5 |
---|---|---|---|---|
Lorem1-1 | Lorem1-2 | Lorem1-3 | Lorem1-4 | Lorem1-5 |
Lorem2-1 | Lorem2-2 | Lorem2-3 | Lorem2-4 | Lorem2-5 |
Lorem3-1 | Lorem3-2 | Lorem3-3 | Lorem3-4 | Lorem3-5 |
Lorem4-1 | Lorem4-2 | Lorem4-3 | Lorem4-4 | Lorem4-5 |