บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 13 ส.ค. 2557

แนวทางทองคำวันที่ 13-8-57

เเนวรับ 1307 1305 1300 เเนวต้าน 1315 1320 1325

ทองคำได้รับปัจจัยบวกมากขึ้น สัญญาณในภาพวันเริ่มดูดี เส้นค่าเฉลี่ย EMA 8 ตัดเส้น 21 และ MACD ปรับตัวเข้าใกล้ 0 ทำให้โมเม็นตัมในทางบวกนั้นมีค่อนข้างมากสำหรับภาพใหญ่นี้ เพียงแต่ภาพระยะสั้นยังคงแกว่งตัว Sideways อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมที่ค่อนข้างกว้างระหว่าง 1307-1315 ซึ่งการวิ่งอยู่ในกรอบนั้นไม่ได้แสดงถึงทิศทางอะไรมากนัก เพียงแต่ลำเอียงไปทางฝั่งขึ้นตามภาพใหญ่ที่มีเป้าหมายบริเวณ 1325 สำหรับการหลุดกรอบล่างลงมานั้นจะทำให้มุมมองเริ่มกลายเป็นลบไปทันที และมองว่าจะทำให้ทองคำเริ่มปรับตัวลดลงอีกรอบหนึ่ง ค่าเงินดอลลาร์ดูเริ่มจะอ่อนค่าลงมาเล็กน้อยน่าจะเป็นปัจจัยบวกให้กับทองคำเช่นเดียวกัน

ต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,181 ล้านบาท และยัง Short สุทธิในฟิวเจอร์อีกเล็กน้อย 824 สัญญา ค่าเงินบาททิศทางแข็งค่าลงมาด้านล่าง และตลอดระยะเวลาที่เป็นวันหยุดต่อเนื่องของไทยนั้น ค่าเงินบาทแข็งค่าลงมาด้านล่างเรื่อยๆ ตอนนี้พบว่าแนวรับสำคัญในรอบนี้จะอยู่บริเวณ 31.80 และยังไม่เห็นสัญญาณอ่อนค่ากลับไป SET index เปิดตัวพุ่งขึ้นแรงกว่า 10 จุด ในช่วงเช้า เพียงแต่มองว่า ยังไม่สามารถทำ New-high ขึ้นไประดับด้านบนได้ ก็ยังมีความเสี่ยงในการปรับตัวลดลงอยู่

ทางเลือกหลัก : มุมมองในภาพวันนั้นค่อนข้างส่งสัญญาณบวก เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดยาวขึ้นมาในภาพวัน ประกอบกับ MACD ที่เริ่มจะโผล่พ้น 0 แสดงถึงโมเม็นตัมในเชิงบวกที่เข้ามาในตลาดทองคำ เพียงแต่ช่วงสั้นยังคงเป็นลักษณะของการปรับตัว Sideways รอเลือกทางในกรอบสามเหลี่ยมแนวรับ 1306 แนวต้าน 1315 ซึ่งมองว่า ยังคงรอทิศทางมายินยันเพิ่มเติมจากการหลุดกรอบเพียงแต่มองว่า ฝั่งขึ้นได้เปรียบกว่าจากภาพใหญ่ โดยมีแนวต้านสำคัญ 1325

ทางเลือกรอง : ราคาปรับตัวลดลงเกินกว่าระดับ 1305 จะทำให้หลุดกรอบลงมา จะทำให้มุมมองกลายเป็นลบ

รายละเอียด

- ทองคำยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์ความไม่สงบระหว่าง รัสเซียกับยูเครน และ กบฎ ISIS ในอิรัก หลังจากสัปดาห์ก่อนประธานาธิบดีโอบามาได้อนุญาติให้มีการโจมตีทางอากาศโดยกำหนดไว้เป็นวงแคบ เพื่อที่จะป้องกันการสังหารหมู่ของกบฎ ISIS ส่วนทางฝั่งรัสเซียก็ยังมีการคว่ำบาตรกันอยู่ และรัสเซียกลับมาตอบโต้ด้วยการห้ามนำเข้าสินค้าเกษตร และ อาหารสด จากอเมริกาและยูโรโซน ทำให้ทองคำซึ่งเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ปลอดภัยมีแรงหนุนขึ้นมาบ้างในช่วงนี้ไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดพันธบัตรอายุ 10 ปีของอเมริกาและเยอรมันที่ Yield ปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึง เงินไหลเข้าตลาดพันธบัตรเพื่อเข้าไปพักเงินจากสินทรัพย์เสี่ยง

- ตัวเลข ZEW economic sentiment ของเยอรมัน และ ยูโรโซนปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยปกติตัวเลขนี้จะเป็นการสำรวจมุมมองของนักวิเคราะห์ว่ามีมุมมองอย่างไรต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ตัวเลขของเยอรมันออกมาที่ระดับ 8.6 จากเดือนก่อนหน้า 27.1 และคาดการณ์ 18.2 ส่วนตัวเลขของยูโรโซนออกมาที่ระดับ 23.7 จาก 48.1 และคาดการณ์ 41.3 ซึ่งทำให้ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยและการฟื้นตัวหยุดลงทางฝั่งยูโรโซนได้กลับมาอีกครั้ง เพราะ พี่ใหญ่อย่างเยอรมันได้ส่งสัญญาณอ่อนแอพอสมควรในช่วงไตรมาสนี้ประกอบกับความกังวลของรัสเซียที่จะงดการนำเข้าอาหารและสินค้าเกษตรจากยูโรโซนเพิ่มเติมด้วยจึงทำให้ตลาดหุ้นเยอรมัน (DAX ) ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรงเมื่อวานนี้ ส่วนทางตลาดหุ้นอเมริกานั้นส่งสัญญาณรีบาวน์ขึ้นมาเล็กน้อยหลังจากตกลงแรงในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า

- JOLTS Job opening ซึ่งเป็นการเปิดรับสมัครงานของบริษัทต่างๆในอเมริกาพบว่า ในเดิอนนี้มีบริษัทออกมาประกาศรับสมัครตำแหน่งงานมากขึ้นกว่าเดิม แสดงถึงทิศทางของเศรษฐกิจอเมริกาที่ดีขึ้นผ่านตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

- ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 2 ของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงแรงสุดนับตั้งแต่ปี 2554 ปรับตัวลดลง –6.8% จากคาดการณ์ –7.0% นำโดยการลดลงของการบริโภคภาคครัวเรือน19.2% ซึ่งเป็นผลมาจากภาษีที่การบริโภคที่สูงขึ้นอีก 3.0% สู่ระดับ 8.0% ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

19.30 USD 

Retail sales 0.2% 0.2%
Core retail sales 0.4% 0.4%

20.05 USD 

FOMC Member Dudley speaks