บทวิเคราะห์
บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 9 มิ.ย. 2559
แนวรับ 1258 1255 1250 แนวต้าน 1265 1268 1275
เมื่อวานทองคำปรับตัวสูงขึ้นต่อมาทดสอบแนวต้าน 1260 + - ซึ่งมองไว้ว่า วันนี้โอกาสที่จะพักตัวมีค่อนข้างสูง และ ยังมองการพักตัวทีละ $5 ยังไม่ได้มองการลงแรงๆ ภาพรวมยังเป็นฝั่งขึ้นอยู่ เพียงแต่ การขึ้นมานั้นค่อนข้างแรง และ เมื่อมาดูกรอบของ Bollinger band พบว่า ราคาทำ new high แต่ กลับไม่หลุดกรอบบนของ Band ขึ้นไป เป็นสัญญาณของการลดสถานะซื้อลง
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยทรงตัว และสามารถเคลียร์ Bearish divergent ได้ในบาง Time frame แต่ยังมองมุมเดิมคือ ดัชนีขึ้นมาค่อนข้างแรงจนเกินไป หากไม่สามารถทำ New-high ได้ จะมองการพักตัวลงมาด้านล่าง ทิศทางค่าเงินบาทหลังจากแข็งค่ามาจากใกล้ระดับ 35.66 ล่าสุดอยู่แถว 35.10 ซึ่งมองว่าจุดนี้เป็นจุดที่น่าจะมีการรีบาวน์อ่อนค่าได้บ้าง
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ 18000 จุด ถึงแม้จะยังไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ ได้รับปัจจัยบวก Sentiment ในทางที่ดีของตลาด รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ $51/บาร์เรล ซึ่งสูงสุดในรอบ 8 เดือน
- มีข้อมูลออกมาจาก CNBC ให้ความเห็นว่า จอร์จ โซรอส เริ่มเพิ่มสถานะขายในดัชนีหุ้น แต่กลับมาเพิ่มการลงทุนในทองคำ และหุ้นกลุ่มเหมืองทองคำ เค้าให้ความเห็นว่า Global economic นั้นดูค่อนข้างมืดมน จากเงินทุนที่ไหลออกจากจีน และ สถานการณ์ Brexit ซึ่งหากมีการออกจริง อาจจะหมายถึงจุดเริ่มต้นของการล่มสลายในยูโรโซน นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์เรื่องของกรีซ และ กลุ่มผู้อพยพที่คอยสร้างปัญหาให้กับกลุ่มยูโรโซนเป็นระยะ จากช่วงต้นปีเราจะได้เห็นข่าวว่า จอร์จ โซรอส สนใจทองคำมากขึ้น
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เยอรมันฟื้นตัว 0.8% จากเดือนก่อนหน้าชะลอตัวลง –1.1% นักวิเคราะห์มองว่า ภาพรวมการลงทุนใน 2-3 เดือนข้างหน้า ทำให้ภาคการผลิตมีแนวโน้มจะฟื้นตัวในอนาคต
- ค่าเงินยูโรปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 1.14 ยูโรต่อดอลลาร์ จากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงแรง และเงินยูโรที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้นจะกระทบกับ Exporter อย่างเยอรมัน ทั้งนี้เมื่อวานนี้เงินดอลลาร์ชะลอตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย
- ดัชนีเงินเฟ้อ CPI ของจีนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 2% น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 2.3% ซึ่งคาดการณ์ไว้คือ 2.3% ผลส่วนหนึ่งมาจาก ราคาอาหารซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการคำนวณดัชนี ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 5.9% แต่น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่ 7.4% แต่ PPI ปรับตัวลดลงหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 51 เดือน
- ยอดสั่งซื้อสินค้าประเภทเครื่องจักรของญี่ปุ่นหดตัว –11% เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึง การหดตัวในภาคการผลิต สอดคล้องกับ ภาพรวมของเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี
- สต๊อกน้ำมันดิบของอเมริกาปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน แต่เป็นการหดตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ $51/บาร์เรล เบื้องต้นมองว่า การปรับตัวของราคาน้ำมันดิบค่อนข้างแรงเกินไป
- ทองคำปรับลตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ถึงแม้จะไม่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจออกมาเนื่องจาก ได้รับ SENTIMENT ในทางบวกจากการชะลอการขึ้นดอกเบี้ย