บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 8 มิ.ย. 2559

 

แนวรับ 1242 1238 1234 แนวต้าน 1250 1258 1260

ราคาผ่านแนวต้าน Breakout กรอบสามเหลี่ยมออกมาได้ มองว่าจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อไปยังแนวต้าน 1250-1260 ในระยะถัดไป จากรูปแบบเชิงบวกและต่อเนื่องของแนวโน้มเดิม (continuous pattern) ซึ่งระดับแนวต้าน 1250-1260 มองว่าควรจะทยอยลดสถานะซื้อออกมาบางส่วน สำหรับรูปที่นำมานั้นเป็นรูปของกองทุน SPDR ที่สถานะซื้อสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ และ สังเกตุจาก MACD ของกองทุนกำลังจะตัด Signal line

USD/THB

ตลาดหุ้นไทยส่งสัญญาณ Bearish divergent ในทุกช่วง ไทม์เฟรมย่อยต่ำกว่าระยะวัน มองว่า หากเจอแรงขายออกมาจะเริ่มพักตัวทันที ตลาดขาดปัจจัยบวกใหม่ๆ และวิ่งขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นเดือนโดยแทบจะไม่ได้พักเลย มองว่า ระดับนี้ไม่คุ้มที่จะซื้อ หาจังหวะขายน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า การเคลื่อนไหวของดัชนีสวนทางกลับทิศทางค่าเงินบาทที่วันนี้มองการแข็งค่าต่อไปยังระดับ 35.15

ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ

- ธนาคารโลก (World bank) ปรับลดการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2016 ลงสู่ระดับ 2.4% จากรอบก่อนหน้าเมื่อเดือนมกราคมที่ระดับ 2.9% จากสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำ ความต้องการสินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วที่น้อยลง การค้าที่มีปริมาณและมูลค่าลดลง รวมทั้ง เม็ดเงินลงทุนที่ไหลไปมาน้อยลง ประเทศที่มองว่ามีปัญหาจะอยู่ในกลุ่มของ Emerging market ที่เศรษฐกิจพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับสูง

- เมื่อวานมีการประกาศตัวเลข Revised nonfarm productivity ที่เป็นตัววัดประสิทธิภาพของแรงงานพบว่า ปรับตัวลดลงน้อยลงเหลือ –0.6% จาก –1% ส่วน Revised unit labor cost ที่เป็นตัววัดต้นทุนแรงงานปรับตัวสูงขึ้น 4.5% จาก 4.1% ทั้งนี้ข่าวทั้งสองตัวนี้ไม่มีนัยสำคัญ และ ล่าสุดยังไม่มีการ Revised non farm payroll ที่ออกมาแย่ในวันศุกร์

- การเติบโต GDP ของยุโรปแบบตรวจทาน (Revised GDP) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 0.6% จากรอบก่อนหน้า 0.5% เป็นผลมาจากการบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุน และ การส่งออกบางส่วน ที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นจากรอบก่อน สอดคล้องกับที่ประชุม ECB คุณ ดรากี้ ที่ออกมาปรับเป้าการเติบโตของยูโรโซนในปีนี้และปีหน้าขึ้น ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่อง Brexit ช่วงกลางเดือนนี้

- ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวานนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้นโดยได้รับปัจจัยบวกจากน้ำมันดิบ

- ธนาคารกลาจีนออกมาประเมินว่า หาก FED ขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริง จะเป็นผลบวกกับจีน (ไม่เหมือนกับช่วงปีที่แล้ว) เนื่องจาก บ่งบอกให้เห็นถึง ความต้องการสินค้าที่จะเพิ่มมากขึ้น และ ทางการจีนจะเร่งสื่อสารนโยบายทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

- ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น หลังจากมีการประกาศตัวเลข GDP ของญี่ปุ่นแบบตรวจทานเช่นเดียวกัน พบว่าขยายตัว1.9% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในขณะที่ดุลบัญชีเกินดุล แสดงให้เห็นถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ $50/บาร์เรล จากการคาดการณ์สต๊อกน้ำมันดิบที่น่าจะยังทรงตัวระดับต่ำ และมีความเห็นว่า หากเห็นราคน้ำมันดิบที่ระดับ $60/บาร์เรล จะทำให้บริษัทนน้ำมันกลับมาใช้จ่ายอีกครั้งหนึ่ง

- ทองคำปรับตัวสูงขึ้นจากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน ส่วนสถานะกองทุน SPDR กลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง พร้อมทั้งส่งสัญญาณขึ้นต่อเนื่อง