บทวิเคราะห์
บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 10 พ.ค.2559
แนวรับ 1262 1259 1250 แนวต้าน 1270 1275 1280
วันนี้ลุ้นรีบาวน์ที่เดิม 1275 ภาพรวมเสียทรงพอสมควร เเต่ยังมีข่าวบวกอยู่ จึงมองว่า การลงจะเป็นไปอย่างจำกัด เเละ ให้น้ำหนัก Bias ฝั่งขึ้นเล็กน้อยในวันนี้ เเต่เมื่อมาดู NAV ของ SPDR ยังขึ้นต่อในช่วงนี้ เเต่เกิด Divergent ของ NAV เป็นสัญญาณเตือนว่า เงินอาจจะเริ่มไหลเข้าน้อยลง สำหรับแนวรับจะอยู่บริเวณ 1259 ซึ่งมองว่า หลุดระดับนั้นลงไปจะเป็นการทำให้ราคาหลุดทำ Low ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ทางเลือกรอง : ราคาปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่า 1275 มองว่า จะเริ่มลบล้างแท่งเทียนขาลงก่อนหน้า
ต่างชาติยังคงขาย และ Short สุทธิในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน วันละหลักพันสัญญา เมื่อวานนี้ดัชนีปรับตัวขึ้น ก่อนที่จะลบล้างฝั่งขึ้นทั้งหมดในวันนี้ ภาพรวมยังดูอ่อนแอ แต่ยังมองขึ้นอยู่ โดยตั้งแนวรับไว้ต่ำกว่านี้ประมาณไม่เกิน 10 จุด ซึ่งสามารถใชเป็นจุดตัดขาดทุน เงินบาทอ่อนค่าผ่านแนวต้านมา มองการอ่อนค่าอีกครั้งหนึง แนวต้าน 35.30-35.35
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตลาดหุ้นฝั่งอเมริกาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น นำโดยกลุ่ม Health care ที่มาชดเชยกลุ่ม Material และ กลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง นักวิเคราะห์มองว่า ตลาดหุ้นขาดปัจจัยใหม่ๆ และตลาดกำลัง Rotation เข้าสู่กลุ่ม Safe haven (มีหลายประเภท ได้แก่ ทองคำ เงินเยน เงินสวิสฟรังซ์ พันธบัตร) เพราะ กังวลเรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจ และ ความกังวลเศรษฐกิจจีน รวมทั้งเงินดอลลาร์ที่ยังแข็งค่าขึ้น
- ประธาน FED สาขา Chicago คุณ Charles Evans ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่า การเติบโตอย่างแข็งแกร่งของอเมริกา จะเป็นตัวสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับ 2.5% ได้ทั้งนี้ มองว่า นโยบายของธนาคารกลางที่ใช้รูปแบบ Wait and see นั้นค่อนข้างมีความเหมาะสมอยู่แล้ว (ประธาน FED หลายท่านยังใช้วิธี Wait and see)
- ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมันขยายตัวสู่ระดับ 1.9% จากเดือนก่อนหน้า –0.8% และคาดการณ์ 0.7% เป็นการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นเดือนแรกในรอบ 3 เดือน
- รมว คลัง เตรียมหารือแนวทางการช่วยเหลือกรีซเพิ่มเติม หลัง IMF ประเมินว่า เป้าหมายงบประมาณที่ทำไว้กับข้อตกลงครั้งล่าสุดนั้นดูเป็นไปได้ค่อนข้างยาก นอกจากนี้งบประมาณที่วางไว้ยังไม่เป็นไปตามแผน นอกจากนี้ในเดือน กรกฎาคม จะมีพันธบัตรกรีซที่ ECB ถือไว้และจะครบกำหนด
- เงินสำรองของจีนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สู่ระดับ $3.22 Trillion ในเดือน เมษายน ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อของจีน (CPI) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 2.3% เป็นเดือนที่สามติดต่อกัน (2.3%) ส่วน ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) หดตัวลง –3.4% จากประเมินไว้ว่าจะปรับตัวลดลงถึง –4.9% เงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นมานั้นเป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารสด ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเอเชียโดยรวมแล้ว ยังอยู่ผสมกัน ค่อนไปทางอยู่ในแดนลบมากกว่า
- ทองคำปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ครึ่ง หลังจากเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ่นเมื่อวานนี้ ทั้งนี้ตลอดทั้งปีที่ผ่านมาทองคำปรับตัวสูงขึ้นกว่า 19% ส่วนความต้องการทองคำในอินเดียในช่วงนี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องกัน
- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงเมื่อวานนี้ หลังจากปัจจัยบวกอย่างการไหม้หลุม Canada เริ่มสงบลง ทั้งนี้ปัจจุบันภาวะตลาดน้ำมันดิบยังอยู่ในช่วง Oversupply