บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 11 เม.ย.2559

แนวทางทองคำวันที่ 11-4-59

แนวรับ 1247 1244 1240 แนวต้าน 1252 1255 1260

ทองคำปรับตัวสูงขึ้นหลุดระดับ 1240-1245 มาเมื่อเช้า เป็นการผ่านเส้นแนวโน้มขาลง (Downtrend line) ออกมา ซึ่งมองว่าเป็นปัจจัยบวก และ มีแนวต้านระยะกลางอยู่ที่ 1258 บริเวณนั้น ในขณะที่ระยะสั้นมองการพักตัวลงมาเล็กน้อยไม่เกิน 1245 (หากเกินจะทำให้เสียทรงไป) สำหรับข่าวบวก ยังมีมาบ้างหลังจาก ตลาดหุ้นทั่วโลกยังผันผวนท่ามกลางความกังวลสถานการณืในญี่ปุ่น ทั้งนี้กองทุน SPDR เริ่มขายทองคำออก

ทางเลือกรอง : ราคาหลุด 1245 ลงมามองว่าฝั่งขึ้นจะเสียทรงไปและใช้เป็นจุดตัดขาดทุน


USD/THB

นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย ส่วนดัชนี SET เมื่อวันศุกร์มองว่า เกิดแท่งเทียนฝั่ง Bullish ขึ้น (ปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าระดับครึ่งแท่งของก่อนหน้า) นอกจากนี้ยัง เป็นการปรับตัวขึ้นไปยืนเหนือแนวต้าน 1370 มองว่า เป็นสิ่งที่ดี หากวันนี้ยืนเหนือ 1370 ได้ ยังมีโอกาสกลับตัวสูง ค่าเงินบาทดูแข็งค่าต่อเนื่อง แนวรับแรก 35.05 ทดสอบไปแล้ว แต่ให้น้ำหนักทดสอบอีกครั้งหนึ่ง และอาจยาวลึกลงไปถึง 35.00

ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ

- ตลาดหุ้นดาวโจนส์/SP500 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขาย ก่อนที่จะเจอแรงขายท้ายตลาดเล็กน้อย โดยรวมแล้วไม่ได้มีทิศทางที่มีนัยสำคัญ ตลาดได้รับแรงกดดันจากสถานการณ์ในญี่ปุ่น (หุ้นตก เงินเยนแข็ง)

- IMF ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยติดลบนั้นสามารถช่วยกระตุ้น Demand และ คอยสนับสนุนให้เกิดเสถียรภาพทางทางราคา โดยการใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน และ เมื่อมาดูการเติบโตของเครดิต (Credit growth) ของยูโรโซนพบว่า การปล่อยสินเชื่อปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆหลังจาก ECB ลดอัตราดอกเบี้ยจนสู่ระดับติดลบ 

- ประธาน FED สาขา New-York คุณ Dudley Fischer ให้ความเห็นว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปนั้นสมเหตุสมผล และ เค้าเห็นสัญญาณของเงินเฟ้อ

- กลุ่มธนาคารพาณิชย์ในยุโรปเมื่อวันศุกร์ต่างปรับตัวสูงขึ้น หลังจาก รัฐบาลอิตาลีกำลังมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มธนาคารขนาดเล็กในประเทศ โดยตั้งเงินกองทุนสำหรับช่วยเหลือผู้มีเงินฝาก ส่งผลให้ธนาคาร Banca Popolare ปรับตัวขึ้นกว่า 10% 

- ตลาดหุ้นยุโรปโดยรวมแล้วปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่า 1% จากมุมมองของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ดีประกอบกับ การปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแรงของราคาน้ำมันดิบ สร้างปัจจัยบวกให้กับ ภาวะเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (ปัจจุบันยูโรโซนกังวลเรื่องเงินฝืด)

- ดัชนีเงินเฟ้อของจีน (CPI) ขยายตัว 2.3% ดีกว่าที่คาดการณ์ หลังจากดัชนีราคากลุ่มอาหารสดปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแรงกว่า 7.6% จากเนื้อหมู และ ผักสดที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น และคาดการณ์ว่าจะนำไปสู่การชะลอตัวลงของการผ่อนคลายของนโยบายการเงิน

-ประเด็นเรื่องปัญหาในญี่ปุ่นเริ่มมีมาอย่างต่อเนื่องหลังจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงกว่า 18% แรงพอสมควร ล่าสุด Blackrock ปรับลดการลงทุนในญี่ปุ่นอีกครั้ง และแนะนำเป็น Underweight จึงมองว่า ญี่ปุ่นจะถูกกดันจากประเด็นเหล่านี้ต่อ

- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นแรง แตะระดับ $39/บาร์เรล หลังจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของอเมริกาปรับตัวลดลงไปใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2009 รวมถึง ดูเหมือนกลุ่ม OPEC น่าจะลดกำลังการผลิต (ข่าวยังไม่ยืนยันแน่ชัดว่าลดเลยหรือไม่)

- กองทุน SPDR รวมถึง Hedge fund ต่างปรับลดสถานะการถือครองทองคำลงอีก ไม่ว่าจะเป็นตัดลด Bullish bet และ ลดการถือครองทองคำ