บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์วันที่ 14 มี.ค.59

 

แนวรับ 1250 1245 1240 แนวต้าน 1256 1260 1264

ราคาทองคำได้เจอรูปแบบ Bearish engulfing เมื่อวันศุกร์ สังเกตุจากแท่งเทียนวันศุกร์นั้นปิดทับการขึ้นในวันพฤหัสเกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นปัจจัยลบในระยะวัน ทั้งนี้สถานที่เกิดไม่ได้เกิดแบบเป็นจุดสูงสุด แต่เป็นการเกิดในกลุ่มของ Sideways จึงให้น้ำหนักว่า ถึงแม้จะเป็นสัญญาณของการปรับตัวลดลงแต่นัยสำคัญลดลงมาเล็กน้อย จากสถานที่เกิดที่เป็นกลุ่มมากกว่าเป็นจุดสูงสุด แต่ก็ยังมองว่า จะปรับตัวลดลงต่อ แนวรับบริเวณ 1240-1245 อีกครั้งในช่วงนี้

ทางเลือกรอง : ราคาหลุด 1240 ลงมามองว่าการขึ้นนั้นจะเสียเปรียบไปในทันทีราคามีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงไปจนถึง Sideway down

USD/THB

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในวันศุกร์และเข้าใกล้ระดับ 1400 แต่วันนี้เปิดตลาดมา แตะระดับ 1400 จุดเรียบร้อยแล้ว ยังมองมุมมองในทางบวกสำหรับตลาดหุ้นไทย ปัจจัยบวกส่วนหนึ่งคาดว่ามาจากการทำ Euro-carry trade แต่ยังมีข้อควรระวังคือ การขึ้นของตลาดหุ้นค่อนข้างต่อเนื่องและรวดเร็ว ต้องระมัดระวัง ส่วนทิศทางค่าเงินบาทมองว่า ระยะสั้นเข้าสู่ภาวะ Oversold มาสักพักแล้ว มองการแข็งค่าเริ่มจำกัด

ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ

- ตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่า 1% เมื่อวันศุกร์ ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องรวมทั้งนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมของทางยุโรป หลังจากผลการประชุม ECB ในวันพฤหัส นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยบวกจากค่าเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้นในวันศุกร์ (ช่วงต้นปีกังวลเรื่องการอ่อนค่าของเงินหยวน ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐาน) ส่งผลให้ดัชนีหุ้น SP500 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นยืนเหนือระดับ 2000 จุด นอกจากนี้ยังเป็นวันแรกที่ดัชนีปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (ครั้งแรกนับตั้งแต่ 30 ธ.ค. 2015)

- ราคาสินค้านำเข้า (Import price) ของอเมริกายังคงหดตัวลงอีก –0.3% หลังจากในเดือนก่อนหน้าหดตัวแรงถึง –1.1% ทั้งนี้น้อยกว่าคาดการณ์ที่ –0.7%

- ดัชนีเงินเฟ้อ CPI ของเยอรมันขยายตัว 0.4% เท่ากับเดือนก่อนหน้าและคาดการณ์ แนวโน้มโดยรวมของตัวนี้ยังค่อนข้างผันผวน บวกลบสลับกันไปในแต่ละเดือน แต่ตลาดลุ้นให้อยู่ทางฝั่งบวกมากกว่า เพราะ หากยังอยู่ในแดนลบก็จะมีโอกาสเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารกลางยุโรปกำลังกังวลอยุ่

- ตลาดหุ้นยุโรปในวันศุกร์โดยรวมแล้วปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่า 3% รับข่าวบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของ ECB

- PBOC (ธนาคารกลางจีน) ตั้งค่ากลางเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้น 6.4905 หยวนต่อดอลลาร์สหรัฐในวันศุกร์หลังจาก ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากผลการประชุม ECB เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา เงินหยวนปรับตัวแข็งค่าขึ้น 0.34% ซึ่งเป็นการแข็งค่าที่รุนแรงที่สุดใน 1 วัน นับตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2015

- ธนาคารกลางจีนให้ความเห็นว่า จะเน้นมาตรการทางการเงินที่ยิดหยุ่นมากกว่าเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบ เพื่อรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ

- ราคาน้ำมันดิบได้รับปัจจัยบวกจาก IEA ที่ออกมาให้ความเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบน่าจะเจอจุดต่ำสุดไปแล้ว จากผู้ผลิตนอกกลุ่ม OPEC ที่ส่งออกน้ำมันได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ในช่วงกลางเดือนจะมีการประชุมขึ้นอีกครั้งถึงเรื่องกำลังการผลิต

- เม็ดเงินยังคงไหลเข้ากองทุน SPDR อย่างต่อเนื่อง (แต่ชะลอตัวลง) ในขณะที่แรงซื้อ Physical จากจีนถูกเปิดเผยว่าชะลอตัวลง