ย้อนกลับ
บทวิเคราะห์วันที่ 14 ธ.ค.58
แนวทางทองคำวันที่ 14-12-58
แนวรับ 1073 1070 1065 แนวต้าน 1078 1082 1088
ราคายังมองว่าแกว่งตัวอยู่ในกรอบ Sideways down โดยมีเป้าหมายสำหรับกรอบล่างอยู่บริเวณ 1060 และกรอบบนที่บริเวณ 1078-1082 หากราคายังไม่สามารถเกินแนวต้านกรอบบนไปได้ ยังมองว่า จะยังคงแกว่งตัวลดลงอยู่ในกรอบขาลงนี้ต่อไป และ นัวนพุธนี้จะมี Key event สำคัญ เกี่ยวกับการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของอเมริกา ซึ่งหากเป็นไปตามนี้น่าจะได้เห็นแรงขายออกมาในตลาดทองคำค่อนข้างมาก จึงยังอยากให้ใช้ความระมัดระวังและ รอดูทิศทางตลาดก่อนน่าจะดีกว่า
ทางเลือกรอง : สำหรับการหลุดออกจากกรอบ Sideways down นั้นราคาต้องปรับตัวขึ้นเกินกว่า 1080 ไปให้ได้ และจะส่งผลให้ราคาขึ้นในช่วงสั้นนี้
USD/THB
ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงแรง ซึ่งกลุ่มพลังงานนั้นมีผลต่อดัชนี SET ค่อนข้างมาก รวมทั้งบรรยากาศของตลาดต่างประเทศที่ยังดูอ่อนแอ ส่งผลให้ SET ปรับตัวหลุด 1300 จุดในสัปดาห์ที่ผ่านมา และยังคาดว่าจะได้รับปัจจัยลบต่อไปอีกสักระยะ เนื่องจากกระแสการขึ้นดอกเบี้ยเช่นเดียวกับทองคำ ค่าเงินบาทผ่านแนวต้าน 36.05 มาเรียบร้อย ยังมองการอ่อนค่าต่อ
ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ
- ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 282K มากกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าและคาดการณ์ ส่วนยอดค้าปลีกออกมาขยายตัว0.2% น้อยกว่าคาดการณ์ เป็นผลมาจากสินค้าหมวดรถยนต์ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยรวมแล้ว ข่าวต่างๆยังออกมาค่อนข้างผสมกันระหว่างบวกและลบกับทองคำจึงทำให้ทองคำยังคงแกว่งตัวอยู่ในกรอบสั้นๆ
- ตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวลดลงแรง และเป็นสัปดาห์ที่แย่ที่สุดในรอบ 1 เดือน สำหรับดัชนีดาวโจนส์ เมื่อมาดู SP500 นับเป็นสัปดาห์ที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน สิงหาคม ดัชนีปรับตัวลดลงกว่า 3% ตลอดทั้งสัปดาห์เนื่องจากข่าวเรื่องการควบรวมกิจการ และ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานที่ได้รับปัจจัยลบจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง
- ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลดลงแรงไม่แพ้ตลาดหุ้นอเมริกา โดยได้รับปัจจัยลบเดียวกันคือ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง ซึ่งราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงแรงนั้น ทำให้เกิดแรงคาดการณ์ไปกระทบกับภาคเศรษฐกิจที่คิดว่า ยังคงไม่สามารถขยายตัวได้ และ เมื่อไม่ขยายตัว ก็มี Demand เข้ามาน้อย อีกฝั่งหนึ่งคือ คาดการณ์เงินเฟ้อ หากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เป้าหมายเงินเฟ้อของแต่ธนาคารแต่ละประเทศก็จะมีแนวโน้มที่จะหดตัว หรือ เข้าสู่ภาวะเงินฝืด ซึ่งปัจจุบันยุโรปกำลังประสบปัญหาเงินฝืดอยู่
- ดัชนี TANKAN ที่สำรวจบริษัทการผลิตยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นพบว่า ยังคงทรงตัวที่ระดับ +12 ซึ่งถึงแม้จะมากกว่าคาดการณ์ที่ +11 แต่ระดับนี้ทรงตัวมา 3 เดือนติดต่อกันแล้ว และมีแนวโน้มจะปรับตัวลดลงในอนาคต จากตัวเลขวางแผนการซื้อสินค้าประเภททุนของบริษัทขนาดใหญ่ที่คาดว่าจะออกมาที่ 10.8 % จากคาดการณ์ 10.9%
- ยอดค้าปลีกของจีนเติบโต 11% จากเดือนก่อนหน้า 10.9% เป็นผลจากยอดขายโทรศัพท์มือถือ และวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น
- ที่ประชุม OPEC ยังคงกำลังการผลิตไว้ที่ระดับเดิม ส่วน EIA ประเมินว่า Supply ของน้ำมันดิบที่จะมากไปจนถึงปลายปี 2016 ท่ามกลางดีมานด์ที่ยังคงปรับตัวลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและยุโรปส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงสู่ระดับ $35 ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี
- ธนาคารใหญ่ๆรวมทั้ง Hedge fund ต่างคาดการณ์ว่าทองคำจะลงต่ำกว่า $1000