บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์วันที่ 27 พ.ย.58

แนวทางทองคำวันที่ 27-11-58

แนวรับ 1068 1065 1055 แนวต้าน 1072 1075 1078

ราคายังคงแกว่งตัวในกรอบ ซึ่งปัจจุบันยังขาดปัจจัยใหม่ๆเข้ามา ซึ่งปัจจัยเดิมนั้นค่อนข้างเป็นไปในทางลบ ส่วนการเคลื่อนไหวระยะสั้น ราคาได้ลงมาทดสอบบริเวณล่างของกรอบสามเหลี่ยมที่บริเวณ $1068 หากหลุดจากบริเวณนี้ไปอีก คาดว่าจะได้เห็นราคาลงอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเป้าหมายระดับ 1050 ในขณะที่หากยังไม่หลุดราคาก็ยังแกว่งตัวในกรอบต่อไป ทั้งนี้น้ำหนักทางฝั่งหลุดลงมามีค่อนข้างสูง ล่าสุดได้เห็นการลดสถานะของกองทุนทองคำลงอีกค่อนข้างมา

ทางเลือกรอง : ราคายังแกว่งตัวในกรอบ บนบริเวณเหนือแนวรับ 1068 จะยังมองว่า ทำรูปแบบสามเหลี่ยมต่อไป

USD/THB

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงต่อเนื่องเมื่อวานนี้ ท่ามกลางข่าวลบ และ ขาดปัจจัยบวกที่เข้ามาในระยะสั้น ยังแกว่งตัวในลักษณะขาลงต่อเนื่อง (ยืนยันชัดเจนขึ้น) และยังมองเห็นการปรับตัวลดลงต่อไปอีก ข่าวล่าสุด สศค. คาด GDP ในปีนี้จะโต 2.8-3% ได้รับแรงส่งมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ ทั้งนี้ภาคอื่นๆยังคงหดตัวทั้งหมด ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าออกจากแนวรับ 35.60 โดยมีแนวต้าน 35.85 และ 35.95

ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ



- เนื่องจากเป็นวันหยุดทำการของอเมริกาทำให้การเคลื่อนไหวของตลาดต่างๆค่อนข้างทรงตัว นักวิเคราะห์ออกมาให้ความเห็นว่า ชุดตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาช่วงก่อนหน้านั้นค่อนข้างดี แต่ยังไม่ถึงกับแข็งแกร่งเท่าไรนัก และตลาดหุ้นเมื่อวานนี้ซื้อ-ขายกันในกรอบแคบที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2015 มา 

- Goldman sachs ออกมาให้ความเห็นว่า ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันดูทีท่าว่า ยุโรปจะเป็นที่ที่น่าสนใจกว่าอเมริกา (Outperform) เนื่องจาก ค่าเงินยูโรที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงจากมาตรการผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน ทำให้สินทรัพย์ในกลุ่มยุโรปมีความน่าสนใจมากขึ้น และ ค่าเงินที่อ่อนอาจจะช่วยกระตุ้นการส่งออก

- ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวสูงขึ้นกว่า 1% เมื่อวานนี้ หลังจากมีการคาดการณ์กันอย่างหนักว่า ในสัปดาห์หน้า ECB น่าจะมีมาตรการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อสู้กับเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับต่ำ ซึ่ง Goldman sachs ประเมินไว้ว่า อาจจะตัดลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงอีก 0.1% สู่ระดับ –0.3% และคาดว่าจะมีการขยายเวลาเข้าซื้อพันธบัตรไปจนถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2017 

- สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างรัสเซียและตรุกียังคงดำเนินต่อไปในช่วงสัปดาห์นี้

- ตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่ง Core CPI หรือ อัตราเงินเฟ้อแบบไม่รวมสินค้าหมวดอาหารสดและพลังงาน หดตัวสู่ระดับ –0.1% ส่วนการใช้จ่ายของผู้บริโภค (Household spending) ปรับตัวลดลง –2.4% ตัวเลขเศรษฐกิจยังออกมาไม่ดีเท่าไรนัก ทำให้นักวิเคราะห์มองว่า น่าจะมีมาตรการกระตุ้นเพิ่มอีกในเดือน มกราคม ทั้งนี้ในที่ประชุม BOJ ยังค่อนข้างลังเลที่จะออกมาตรการอะไรเพิ่มเติมในช่วงนี้ เนื่องจากสัดส่วนเงินที่กระตุ้นต่อ GDP ค่อนข้างสูง

- Bank of America เปิดเผยว่า ได้เห็นแรงขายออกจากกลุ่มโลหะมีค่าเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านดอลลาร์ เป็นการลดสถานะรุนแรงที่สุดในรอบ 17 สัปดาห์ ซึ่งข้อมูลนี้เก็บจากช่วง 3 วันที่ผ่านมา (ไม่รวมเมื่อวานที่เป็นวันหยุด) ข้อมูลบ่งชี้ว่า เม็ดเงินไหลเข้าไปยัง Money market fund มากที่สุด

- การนำเข้าทองคำของจีนปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน