บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์วันที่ 2 พ.ย.58

 

แนวรับ 1140 1138 1130 แนวต้าน 1143 1145 1150

จากราคาที่ไหลมาต่อเนื่องจากวันศุกร์มาจนเช้าวันจันทร์ และเกิดเป็นสัญญาณกลับตัวสองอย่าง 1. การเกิด Bullish divergent ในรายชั่วโมง และ 2. การเกิดแท่งเทียน Pinbar ในรายชั่วโมงเช่นเดียวกันมองว่า ราคาจะเริ่มรีบาวน์จากตรงนี้ชะลอการลงไปก่อน โดยมีแนวต้าน 1145 เป็นแนวต้านแรก ทั้งนี้การรีบาวน์ยังมองไม่ไกลนัก จากทั้งรายวัย รายสัปดาห์ รายเดือนที่ส่งออกมาทางลบเกือบทั้งหมด จึงมองการรีบาวน์เป็นไปในระยะสั้น ทั้งนี้หากราคาหลุด 1135 ลงมา จะมองลงทันที

ทางเลือกรอง : ราคารีบาวน์ไปเล็กน้อยแล้วลงหลุด 1135 มองว่าการรีบาวน์จะหมด และราคาจะปรับตัวลดลงต่อไปตามแนวโน้มหลักบริเวณ 1110-1120 ซึ่งมองเป็นแนวรับสำคัญระดับถัดไป

USD/THB

ต่างชาติกลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นไทยหลัก 2000 ล้านบาททั้งนี้ยัง Long ฟิวเจอร์อยู่ประมาณ 8000 ล้านบาทภาพรวมยังไม่มีทิศทางที่มีนัยสำคัญมากสำหรับกระแสเนงินทุนต่างชาติ ยังมอง SET ถูกกดดันทางฝั่งลงอยู่ ถึงแม้จะมีรีบาวน์ตั้งแต่วันศุกร์จนถึงวันนี้แต่เริ่มให้น้ำหนักลงไปด้านล่าง ทั้งนี้ค่าเงินบาทยังไม่ได้มีนัยสำคัญเท่าไรยังมองการแกว่งในกรอบ แต่ฝั่งอ่อนค่าเริ่มได้เปรียบเล็กน้อย

ข่าวสารประกอบการตัดสินใจ

- ตัวเลข Core PCE ออกมาที่ระดับ 0.1% เท่ากับเดือนก่อนหน้าแต่น้อยกว่าที่คาดการณ์ที่ 0.2% ส่วนการใช้จ่ายผู้บริโภคปรับตัวลดลงเหลือเพียงขยายตัว 0.1% จาก 0.4% เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ รายได้ผู้บริโภคที่ขยายตัวเพียง 0.1% จาก 0.4% เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงสู่ระดับ 90 จุดจากเดือนก่อนหน้า 92.1 โดยรวมแล้ว ออกมาค่อนข้างแย่ ทั้งนี้ตลาดยังรับข่าวลบเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยที่คาดว่าจะมาถึงในเดือนธันวาคมมากกว่า ตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์ปิดลบเล็กน้อย นำโดย Goldman Sachs ทั้งนี้ตัวเลขบริษัทจดทะเบียนใน SP 500 ที่ประกาศออกมาประมาณ 68% นั้นมีตัวเลขกำไรเข้าเป้าประมาณ 72% ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างใช้ได้สำหรับอเมริกา

- ดัชนีหุ้นยุโรปปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากสุดในรอบ 6 เดือน ถึงแม้ในวันศุกร์จะปรับตัวลดลงเล็กน้อย และ ยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขกำไรที่ออกมาแย่ลง

- ตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 0.1% เป็นเดือนแรกที่ออกจากระดับเงินเฟ้อติดลบแต่เงินเฟ้อโดยรวมยังค่อนข้างต่ำและเป็นเหตุผลสนับสนุนมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกในอนาคต

- อัตราว่างงานของยูโรโซนปรับตัวลดลงสู่ระดับ 10.8% จากเดิม 11.5%

- ผลการประชุม BOJ เมื่อวันศุกร์พบว่า ยังไม่มีมาตรการอะไรเพิ่มเติม ถึงแม้ในปัจจุบันตัวเลขเศรษฐกิจจะไม่เข้าเป้า รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้วงเงิน QE ของญี่ปุ่นในปัจจุบันค่อนข้างสูงแล้ว

- ดัชนี Caixin-PMI ที่วัดภาคการผลิตของจีนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 48.3 จากเดือนก่อนหน้า 47.2 แต่ยังไม่เป็นข่าวดีเท่าไร เพราะยังเป็นการหดตัวเพียงแต่หดตัวน้อยกว่าคาดการณ์เท่านั้น และยังต่ำกว่าระดับ 50 จุด ซึ่งยังถือว่าเป็นการหดตัวอยู่

- กองทุน SPDR ลดสถานะการถือครองทองคำลงอีก 0.3% สู่ระดับ 692.26 ตัน ในวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่วนกองทุน Hedge fund ปรับลดสถานะการถือครองทองคำเล็กน้อยจากระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือนครึ่ง

- แรงซื้อจากในเอเชียเข้ามาในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากราคาที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งนีเค่าพรีเมียมยังทรงตัว อีกทั้งราคาก็ยังไม่มีแรงสนับสนุนในช่วงนี้