ย้อนกลับ
บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 1 ต.ค. 2558
แนวทางทองคำวันที่ 1-10-58
เเนวรับ 1112 1109 1105 เเนวต้าน 1119 1122 1125
จากเมื่อวานนี้ราคาได้ปรับตัวหลุด 1119 ลงมา ซึ่งมองว่า จุดนี้เป็นแนวรับค่อนข้างสำคัญในระยะสั้น จึงมองน้ำหนักทางฝั่งขึ่นได้เริ่มเสียไป และคาดว่าราคาจะเริ่มตกสู่แนวรับ 1105 ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญในกรอบของระยะวัน ซึ่งการหลุดระดับ 1105 สุดท้ายนี้ไปมองว่า ราคาจะเริ่มกลับไปซื้อ-ขายหรือเล่นกันในโซน 1090-1100 อีกครั้งหนึ่ง สำหรับระยะสั้นมองการปรับตัวขึ้นไปเล็กน้อยถึงระดับประมาณ 1119 –1122 บริเวณนั้น หากจะเปิดสถานะต้องลองดูสถานะขายตรงจุดนั้น เพราะ ถือว่า ราคาได้หลุดแนวรับลงมาและหากทดสอบไม่ผ่านจะเริ่มปรับตัวลดลงต่อ ภาพรวมข่าวยังค่อนข้างผสม ตัวเลขอเมริกาออกมาดี เพียงแต่ ยังเห็นสถานะซื้อของกองทุนมาอย่างต่อเนื่อง
ต่างชาติยังคงขายสุทธิเล็กน้อย แต่ลดมูลค่าลงสู่ระดับ 1200 ล้านบาท และหันกลับไป Long สุทธิในฟิวเจอร์เพิ่มอีก 6000 สัญญา เมื่อวานนี้ดัชนีปิดค่อนข้างทรงตัว คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจาก Window dressing แต่จากทิศทางตลาดโลกที่คาดว่าจะมีรีบาวน์ในระยะสั้นนี้จึงมองว่า ดัชนีน่าจะเริ่มรีบาวน์ได้บ้างแล้วหลังจากปรับตัวลดลงมาต่อเนื่อง ท่ามกลางตลาดหุ้นโลกที่ส่งมาทางลง ส่วนปัจจัยในประเทศยังคงไม่ดี ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปทดสอบ High อีกครั้ง ยังแกว่งตัวบริเวณนี้สักพัก
ทางเลือกหลัก : มองราคาขึ้นไปเล็กน้อยบริเวณ 1119-1122 ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาด้านล่าง
ทางเลือกรอง : -
รายละเอียด
- ทองคำปรับตัวลดลง 4 วันติดต่อกัน (รวมแล้วกว่า $40 คิดเป็นประมาณ 3.4%) จากตัวเลขเศรษฐกิจอเมริกาที่ออกมาดี ล่าสุดเมื่อวานนี้มีการประกาศตัวเลข ADP non-farm employment หรือ ADP จ้างงานนอกภาคเกษตร ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 200K จากเดือนก่อนหน้า 186K และคาดการณ์ 192K ส่งผลให้ทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และวันก่อนก็มีประกาศตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคก็ออกมาดีขึ้น ทำให้นักลงทุนมองว่า FED จะสามรถขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ในปีนี้ ส่วนตัวเลขภาคการผลิตของชิคาโกออกมาปรับตัวลดลงเล็กน้อย
- กองทุน SPDR ถือครองทองคำเพิ่มอีก 0.48% สู่ระดับ 687.42 ตัน เป็นแรงซื้อที่เข้ามาต่อเนื่องอีกเป็นวันที่ 5 แต่กลับไม่ได้ช่วยชะลอการปรับตัวลดลงของทองคำเท่าไรนัก ช่วงสัปดาห์ที่ราคาปรับตัวลงมามีแรงซื้อเข้ามาในกองทุนตลอด แต่ราคาก็ยังปรับตัวลดลงเรื่อยๆ
- ประธาน IMF คุณ Christine Lagarde ได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งให้ความเห็นว่า องค์กรได้เห็นสัญญาณของความวุ่นวายในตลาดการเงินโลก และไม่สามารถบ่งบอกได้แน่ชัดว่า เป็นเพียงวัฎจักร หรือ จะเป็นขาลงของปัจจัยพื้นฐานเลย (Fundamental downturn) โดยความกังวลส่วนใหญ่นั้นมาจาก การขึ้นดอกเบี้ยของอเมริกา และ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และคาดว่าในปีหน้าจะได้เห็นการเติบโตแบบปานกลาง (Moderate growth)
- ตัวเลข Caixin PMI ของจีนปรับตัวลดลงสู่ระดับ 47.2 สูงกว่าที่คาดการณ์เล็กน้อยที่ 47 แต่เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปีครึ่ง ส่วน Ofiicial PMI ที่ออกโดยรัฐบาลนั้นกลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับ 49.8 จากเดิม 49.7 สิ่งที่แตกต่างกันนั้นคือ Official PMI จะมุ่งไปยังบริษัทขนาดใหญ่เป็นหลัก ส่วน Caixin PMI จะมุ่งไปยังบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก
- ผลผลิตน้ำมันดิบของ OPEC ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเมื่อวานที่ผ่านมา หลังจากอิรักเริ่มกลับมามีกำลังการผลิตในเดือนที่ผ่านมา แต่เป็นการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สู่ระดับ 31.68 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่ 31.57
- เมื่อวานมีการประกาศตัวเลขอัตราว่างงานของเยอรมันพบว่า ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย 200 ตำแหน่ง แต่ยังเป็นระดับที่ 6.4% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการรวมประเทศเยอรมัน
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19.30 USD
Unemployment claims 273K 267K
ISM -PMI 50.8 51.1