บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 16 ก.ย. 2558

แนวทางทองคำวันที่ 16-9-58

เเนวรับ 1104 1100 1095 เเนวต้าน 1112 1118 1125

กรอบการเคลื่อนไหวยังเป็นบริเวณใกล้เดิม หลังจากราคาไม่ขยับไปไหน ขึ้นแล้วก็ลง จากนั้นก็มีแรงซื้อท่ามกลางข่าวที่ค่อนข้างน้อย ยังคาดว่าตลาดจะยังคงแกว่งตัวรอข่าวต่อไป ในสัปดาห์นี้ ผลการประชุม FOMC จะเลื่อนไปอยู่คืนวันพฤหัสแทน ทำให้จากเดิมที่ให้ข่าวว่า จะมีผลการประชุมในวันนี้เป็นข้อมูลที่ผิดพลาด และ ต้องไปรอติดตามคืนพรุ่งนี้แทน ทิศทางจึงมองว่า ยังคงจะแกว่งตัวในกรอบต่อไปอีกสองวัน ระยะสั้นดูการปรับตัวขึ้นไปก่อน ถึงระดับใกล้ 1112 หากยังผ่านไปไม่ได้นั้นก็ยังมองว่า ราคาจะลงมาแกว่งในกรอบเช่นเดิม วันนี้เวลา 19.30 จะมีประกาศตัวเลข CPI 8ดว่าจะหดตัวถึงทรงตัวเล็กน้อย ก็ยังมองว่า ยังไม่มีข่าวที่มีนัยสำคัญเท่าไร

ต่างชาติยังคงขายสุทธิและยัง Short สุทธิในฟิวเจอร์อย่างต่อเนื่อง ภาพรวมตลาดหุ้นยังมองไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก คงต้องใช้เวลาสักพักในวันนี้จะมีผลการประชุม กนง ในช่วงเวลาบ่ายโมง คาดว่า จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมที่ 1.5% ส่วนทิศทางในอนาคตบางคนมองว่า ตรงนี้เป็นจุดต่ำของดอกเบี้ยแล้ว โอกาสลดอีกค่อนข้างน้อยหากอเมริกาเริ่มขึ้นดอกเบี้ย ค่าเงินบาทหากไม่ลดดอกเบี้ยมองทรงตัวถึงแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ยังมองแนวรับบริเวณ 35.85 เป็นแนวรับแรกก่อน

ทางเลือกหลัก : ราคายังคงแกว่งตัวในกรอบแนวรับแนวต้านใกล้เคียงนี้ไปอีกสักระยะหนึ่ง แนวรับ 1104 แนวต้าน 1112

ทางเลือกรอง : -
 


รายละเอียด

- ตัวเลขค้าปลีกขยายตัวเล็กน้อยระดับ 0.2% จากเดือนก่อนหน้า 0.7% และคาดการณ์ 0.3
% เป็นการขยายตัวที่น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าและน้อยกว่าคาดการณ์ ส่วนตัวเลขค้าปลีกหมวดที่ไม่รวมสินค้าประเภทยานพาหนะ ปรับตัวน้อยกว่าคาดการณ์สู่ระดับ 0.1% จากเดือนก่อนหน้า 0.6% และคาดการณ์ 0.2% ทิศทางของตัวเลขค้าปลีกนั้นยังไม่มีนัยสำคัญ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเดือนนึงลดลงเดือนนึง ซึ่งเดือนนี้ลดลงพร้อมกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงเล็กน้อยเช่นกัน มองว่า ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายที่ลดลงในช่วงนี้ แต่นักวิเคราะห์ยังคงมองว่า การปรับตัวลดลงเล็กน้อยนั้นก็ยังอยู่ระดับ Healthy pace หรือ ยังดีอยู่ 

- ดัชนีภาคการผลิต Empire state หดตัว -14.7 มากกว่าคาดการณ์ –0.5 และเดือนก่อนหน้า –14.9 บ่งบอกให้เห็นถึงภาคการผลิจของ New York ยังไม่มีการผลิตที่ฟื้นเท่าไรนัก นอกจากนี้อัตราการใช้กำลังการผลิตยังปรับตัวลดลงสู่ระดับ 77.6% จากเดือนก่อนหน้า 78% และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัว –0.4% จากเดือนก่อนหน้า 0.9% หดตัวทั้งการใช้กำลังการผลิต (เป็นเดือนที่ 10 ต่อเนื่องกัน) และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ PMI ของอเมริกาที่ปรับตัวลดลง แสดงให้เห็นถึง ภาคการผลิตเริ่มชะลอตัวลง

- ตัวเลข German Zew หดตัวเช่นกันลงสู่ระดับ 12.1 จากเดือนก่อนหน้า 25 ตัวนี้จะเป็นการสำรวจนักวิเคราะห์ซึ่งถือว่ามีข้อมูลอย่างตัวเลขเศรษฐกิจอยู่ว่ามีมุมมองอย่างไรในอนาคต ถ้าเลขยิ่งมากยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงนักวิเคราะห์ประเมินว่าในอนาคตเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้ากว่าเดิมเล็กน้อยเป็นต้น ซึ่งตัวเลขนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ Zew ของยุโรปที่ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 33.3 จากเดิม 47.6 

- ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย หลังจาก ประธานาธิบดี บารัก โอบามา กล่าวว่า รัฐสภาไม่เห็นชอบในการนำกฎหมายเรื่องการห้ามส่งออกน้ำมันมาทบทวนใหม่ เดิมกฎหมายนี้ได้เกิดเมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้ว หลังอเมริกามีความต้องการน้ำมันอย่างสูงและได้ออกร่างกฎหมายการห้ามส่งออกน้ำมันดิบออกนอกอเมริกา ซึ่งเป็นข่าวบวกสำหรับน้ำมันดิบเล็กน้อยเนื่องจากจะจำกัด Supply ของ Shale oil ในตลาดโลก

- ผลการประชุม BOJ ยังพบว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงระดับการเพิ่มปริมาณเงินไว้ที่ 80 ล้านล้านเยน

- โบรกเกอร์ของจีนหลายแห่งเริ่มทยอยปิดให้บริการในส่วนของฟิวเจอร์ ทำให้วอลุ่มลดลงถึง 99% 

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

19.30 USD

CPI 0.0% 0.1%
Core CPI 0.1% 0.1%