ย้อนกลับ
บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 14 ก.ย. 2558
แนวทางทองคำวันที่ 14-9-58
เเนวรับ 1104 1100 1095 เเนวต้าน 1112 1118 1125
ราคาปรับตัวลดลงไปยังระดับต่ำกว่า 1100 ในวันศุกร์ก่อนที่จะมีแรงซื้อปิดขึ้นระดับ 1106 และเกิดภาวะ Bullish divergent ในรายชั่วโมง จึงมองว่าราคามีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปยังระดับ 1112 หรือเกินกว่า หากราคายังปรับตัวไม่เกินกว่านั้นก็ยังมองว่า การแกว่งตัวยังคงออกข้าง ไปอีกสักพักหนึ่ง โดยสรุป ติดตามระดับ 1112 ยิ่งขึ้นสูงกว่านั้นยิ่งแข็งแกร่ง ส่วนข่าวนั้น ได้เห็นเม็ดเงินไหลออกจากกองทุน ETP ที่อ้างอิงในทองคำ ส่วนสถานะ Short ยังปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้สัปดาห์นี้จะมีผลการประชุม FOMC ดูจากตัวความน่าจะเป็นที่วัดจาก FED Fund rate พบว่า ปัจจุบันคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในวันพุธนี้เพียง 28% ต้องติดตามว่าจะออกมาเป็นอย่างไร
นักลงทุนต่างชาติหนักลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 512 ล้านบาทและยังคง Short สุทธิในฟิวเจอร์อีก 4633 สัญญา ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงในวันศุกร์ แต่โดยรวมแล้วยังคงอยู่ในแนวโน้มของการรีบาวน์ต่อเนื่อง แต่ก็เช่นเดิมระดับ 1400 ยังคงเป็นแนวต้านทางจิตวิทยา ราคาน้ำมันดิบยังค่อนข้างปรับตัวลดลงเล็กน้อยหลังจากรีบาวน์มาแรง ซึ่งยังต้องอาศัยกลุ่มพลังงานมาช่วยดันดัชนี ค่าเงินบาทมองเริ่มแข็งค่าลงมาด้านล่าง หลังจากพยายามอ่อนค่าอยู่นานโดยมีแนวรับสำคัญบริเวณ 35.85
ทางเลือกหลัก : มองราคาปรับตัวขึ้นเล็กน้อย จากภาวะ Bullish divergent ในระยะชั่วโมง โดยมีแนวต้านระยะสั้น 1112 หรือสูงกว่า
ทางเลือกรอง : ราคาไม่สามารถผ่าน 1112 ไปได้ มองว่าก็ยังคงแกว่งตัวสั้นๆแทน
รายละเอียด
- ในสัปดาห์นี้จะมีผลการประชุม FOMC ครั้งสำคัญ และจะเป็นสัปดาห์ที่ FED มีแนวโน้มจะพิจารณาว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ หลังจากดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำมาเป็นระยะเวลากว่า 7 ปี ในปัจจุบันการคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยจะขึ้นในเดือน กันยายนนี้ ลดลงสู่ระดับ 28% จากช่วงกลางปีที่ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 50% ซึ่งตัวเลขเหล่านี้บ่งบอกจาก FED Fund Rate ที่เป็นฟิวเจอร์ในอัตราดอกเบี้ยของ FED ปัจจุบันความน่าจะเป็นมากที่สุดที่จะขึ้นดอกเบี้ยถูกเลื่อนออกไปยังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2016 ด้วยความน่าจะเป็น 95% สาเหตุหลักที่ถูกเลื่อนไปมากเนื่องจาก ความผันผวนของตลาดหุ้น ตลาดเงิน รวมถึง การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และ การปล่อยค่าเงินหยวนให้อ่อนค่า นอกจากนี้ถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจอเมริกาจะฟื้นแล้ว แต่ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องมองว่า จะกระทบกับภาคการส่งออกและการแข่งขันในตลาดโลกของอเมริกาต้องติดตามกันต่อ
- ทองคำได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากเงินที่ไหลออกจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อ้างอิงในทองคำ (ETP : Exchange trade product) ในรอบสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนนักเก็งกำไรปรับลดสถานะการถือ Long ลงอีก 36% สู่ 28286 สัญญา ส่วนสถานะ Short เริ่มกลับมามากอีกครั้งจำนวนถึง 87815 สัญญา นับเป็นการเพิ่มขึ้น 18% ส่วนนักวิเคราะห์ต่างประเทศบางคนมองว่า ในระยะยาวท่ามกลางประเทศต่างๆที่แข่งกันลดค่าเงินนั้นทองจะเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจได้ แต่ระยะสั้นคงได้รับแรงกดดันจากตัวค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น
- ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับ 0% จากเดือนก่อนหน้า 0.2% และคาดการณ์ –0.1% ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตหมวดไม่รวมสินค้าประเภทอาหารสดและพลังงานปรับตัวเพื่มสูงขึ้นเล็กน้อย 0.3% เท่ากับเดือนก่อนหน้า ขณะที่คาดการณ์จะเพิ่ม 0.1% บ่งบอกให้เห็นว่า หากตัดเรื่องของพลังงานออก เราจะได้เห็นการพัฒนาขึ้นของตัวเลขเงินเฟ้อ ในฝั่งของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนที่ระดับ 85.7 จากเดือนก่อนหน้า 91.9 และคาดการณ์ 91.4 ทั้งนี้คาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.9% จากเดิม 2.8%
- ยอดสินเชื่อสกุลเงินหยวนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น4.9 หมื่นล้านหยวน ส่วนปริมาณเงิน M2 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน 13.3% บ่งบอกถึงปริมาณเงินหยวนที่มีมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ