บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 31 ก.ค. 2558

แนวทางทองคำวันที่ 31-7-58

เเนวรับ 1080 1077 1075 เเนวต้าน 1092 1095 1100

จากการพยายามรีบาวน์ขึ้นไปเมื่อวานนี้ พบว่า ราคาขึ้นไปถึงโซนแนวต้าน 1093-1095 แต่ไม่สามารถยืนอยู่ได้ และ กลับปรับตัวลดลงมาต่อ มองว่าเกิดเป็นรูปแบบ Pin bar บริเวณเส้นค่าเฉลี่ยตามที่วงกลมไว้ และนั้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความอ่อนแอของแนวโน้มฝั่งขึ้น ปกติการเกิด Pin bar ราคามักจะลงไปบริเวณ Low เดิม หรือสร้าง Low ใหม่ ซึ่งปัจจุบันคือระดับ 1077-1080 จึงให้น้ำหนักทางฝั่งลงก่อน จุดตัดขาดทุน 1092 ขณะที่คืนนี้ถึงแม้จะไม่มีตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่เป็นศุกร์สุดท้ายของเดือน น่าติดตามว่าจะมีแรงประหลาดเข้ามาในตลาดหรือไม่ แรงประหลาดที่ว่านี้รวมไปถึง Short-covering ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี แต่อาจจะมีก็ได้ 

วันนี้ตลาดหุ้นไทยจะกลับมาเปิดทำการปกติอีกครั้ง เมื่อเช้าเปิดตลาดมารีบาวน์ขึ้นมา 9 จุด ยังพบว่า การรีบาวน์ในช่วงนี้นั้นยังไม่แรงพอที่จะลากเปลี่ยนแนวโน้มได้ ประกอบกับ ปัจจัยพื้นฐานที่ออกมายังดูไม่ดีเท่าไรนักสำหรับประเทศไทย และ ยังมีความกังวลเรื่องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่จะถึง จึงมองว่า ราคาน่าจะทรงตัวถึงปรับลงเล็กน้อยไปก่อน จนกว่าจะได้เห็นแรงซื้อเข้ามา ค่าเงินบาทอ่อนผ่านระดับ 35.00 และยังอยู่ในภาวะ Overbought มาอย่างต่อเนื่อง ยังไม่ยอมลงจากระดับนี้

ทางเลือกหลัก : มองราคาลงไปทดสอบ 1077-1080 อีกรอบหนึ่ง

ทางเลือกรอง : จุดตัดขาดทุนจะอยู่บริเวณ 1092



รายละเอียด

- ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 267K จากระดับต่ำสุดในรอบ 40 ปี ในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 255K ซึ่งทิศทางโดยรวมของคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ยังอยู่ในแนวโน้มที่ค่อยๆปรับตัวลดลงทิศทางเดียวกันกับที่ ประธาน FED นาง เยลเลนให้ความเห็นไว้ในที่ประชุมเมื่อวันพุธที่ว่า ตลาดแรงงานเริ่มฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งแล้ว ส่วนตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 2 ล่วงหน้า (Advance GDP) ออกมาที่ระดับ 2.3% จากรอบก่อนหน้า –0.2% และคาดการณ์ 2.6% ไตรมาสที่ 2 นี้เศรษฐกิจอเมริกาเริ่มฟื้นตัวแล้ว หลังจากไตรมาสแรกชะลอตัวลงจากภาวะภัยหนาว และ การประท้วงบริเวณท่าเรือฝั่งตะวันตก

- ถึงแม้ตัวเลข GDP ที่ออกมาเมื่อวานนี้จะไม่โดดเด่นและค่อนข้างน้อยกว่าคาดการณ์ แต่เมื่อมาดูข้างในนั้นพบว่า PCE Deflator ที่เป็นตัววัดเงินเฟ้อของ GDP พบว่าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 1.8% และนำไปสู่การคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเริ่มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจะไปเข้าเงื่อนไขเงินเฟ้อของธนาคารกลาง หลังจากตัวเลขออกมาค่อนข้างสร้างความสับสน เพราะ Yield ของพันธบัตรในแต่ละช่วงเวลาสะท้อนผ่านออกมาไม่เท่ากัน Yield ระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้นแต่ระยะยาวกลับปรับตัวลดลง ทำให้มีความชันน้อยลง (Flattening) ความเห็นบางส่วนยังพบว่า เศรษฐกิจเติบโตในระดับปานกลาง เงินเฟ้อยังอยู่ระดับต่ำ ยังอยากให้ใช้เวลามากกว่านี้ก่อนขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ความเห็นของ นาง เยลเลน คาดว่าจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้

- มีข่าวเรื่องเหมืองทองคำหันมาใช้ตัวสัญญาอนุพันธ์ (Future) เข้ามาประกันความเสี่ยงหลังจากราคาทองคำได้ปรับตัวลดลงและได้จบวัฏจักรขาขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว และหลายเหมืองเริ่มมีกำไรลดลงไปจนถึงขาดทุนจึงต้องอาศัยการฟิกกำไรโดยการใช้ตราสารอนุพันธ์

- การส่งออกทองคำของอินเดียมีการคาดการณ์จาก World gold council ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าภายในปี 2020 โดยมีเงื่อนไขคือ ถ้าคุณภาพมีการควบคุมที่ดีกว่านี้ เพราะในปัจจุบันอินเดียยังมีการส่งออกที่น้อยเนื่องจากยังขาดเรื่องของการควบคุมคุณภาพที่ดี

- นักวิเคราะห์จากต่างประเทศต่างออกมาให้ความเห็นว่าทองคำจะปรับตัวลดลงไปยังระดับ $900 และ $800 โดยได้รับแรงกดดันจากการขึ้นดอกเบี้ยของอเมริกา

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

21.00 USD 

(Revised) consumer sentiment 94.2 93.3