ย้อนกลับ
บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 28 พ.ค. 2558
แนวทางทองคำวันที่ 28-5-58
เเนวรับ 1180 1175 1170 เเนวต้าน 1189 1191 1195
กรอบแนวรับ-แนวต้านในวันนี้จะอยู่บริเวณเดิม เนื่องจากการเคลื่อนไหวนั้นยังเป็นไปอย่างจำกัด รีบาวน์ขึ้นแล้วและก็ปรับตัวลดลง เมื่อวานนี้เป็นแท่งเทียนรูปแบบ Star หรือตัวเล็กๆ ซึ่งบ่งบอกถึง ทิศทางที่ยังลังเลของคนในตลาด ซึ่งการเกิดรูปแบบ Star ที่ใต้แนวรับแบบนี้ โดยปกติแล้วมักจะมีการลงต่อไปด้านล่าง (โอกาสสูงกว่า) ซึ่งมองทางเลือกนี้มากกว่า แต่มีกรณีที่ราคาสามารถกลับไปปิดบนเส้นแนวโน้มได้ (เกินกว่า 1190 ขึ้นไป) จะทำให้พฤติกรรมราคาดูดีขึ้น จึงมองว่าในวันนี้มีโอกาสที่จะรีบาวน์ก่อนไปยังระดับ 1190-1195 รวมถึงเงินยูโรที่เริ่มฟื้นตัว แต่การรีบาวน์รอบนี้อยากให้เป็นการเก็งกำไรระยะสั้นตั้ง Stop ใกล้ๆ เพราะ การรีบาวน์ยังมองจำกัด
ต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 789 ล้านบาท และ Short สุทธิในฟิวเจอร์ค่อนข้างหนัก 5783 ล้านบาท ส่วนกองทุนที่วันก่อนหน้าเปิด Long ไว้เยอะ เริ่มปิดสถานะ Long บางส่วน ตลาดฟื้นตัวมาปิดที่ระดับ 1500 จุดพอดี ทิศทางยังคงก้ำกึ่งและมองว่า จะผันผวนอยู่บริเวณนี้ +-10-20 จุดไปอีกสักพักหนึ่ง ทิศทางตลาดหุ้นรอบโลกรีบาวน์ขึ้นมาแรงเมื่อวานนี้เป็นปัจจัยบวกกับตลาดหุ้นไทย ทิศทางตลาดหุ้นโลกก็ค่อนข้างผันผวน ค่าเงินบาทมองแนวรับบริเวณ 33.70 แนวต้าน 34 แข็งค่าเล็กน้อยก่อนอ่อนต่อ
ทางเลือกหลัก : มองราคารีบาวน์ขึ้นไปเล็กน้อยถึงบริเวณ 1190-1195 และให้ออกมารอดูตลาดน่าจะดีกว่า โดยปกติแล้วรูปแบบที่เกิดมีโอกาสลงสูงหลังจากรีบาวน์แบบนี้
ทางเลือกรอง : หากราคากลับไปยืน 1190 หรือเหนือกว่ายิ่งมากจะยิ่งดีสำหรับแนวโน้มขาขึ้น
รายละเอียด
- ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวานนี้ปิดบวกค่อนข้างแรง หลังจาก นายกรัฐมนตรีของกรีซ นาย Alexis Tspiras ได้กล่าวว่า กรีซใกล้จะได้ข้อตกลงเรื่องเงินช่วยเหลือ ( Close to an agreement ) และนั่นจะทำให้เป็นความหวังเชิงบวกต่อสถานการณ์ในกรีซที่ก่อนหน้านั้นหลายฝ่ายกังวลว่าจะมีการผิดนัดชำระหนี้ IMF ที่จะมีกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 5 มิถุนายนนี้ แต่ทางฝั่งเจ้าหนี้และ รมว คลัง เยอรมัน ยังออกมากล่าวว่า ยังไม่มีความคืบหน้าและยังไม่มีข้อสรุปใดๆที่ออกมา ทั้งนี้สถานการณ์ตอนนี้ต้องฟังหูไว้หู ต่างฝ่ายต่างพูด กรีซไม่ได้มีความคืบหน้าแต่อย่างใดในฝั่งของเจ้าหนี้มอง แต่หากกรีซมองตัวเองก็เป็นสัญญาณเชิงบวก ทั้งนี้ยังคงต้องรอดูผลลัพธ์เช่นเดิม
- เงินดอลลาร์หลังจากอ่อนค่ามาแตะเส้นแนวรับเมื่อสองสัปดาห์ก่อน ในสัปดาห์ที่ผ่านมากลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วกว่า 2% ท่ามกลางกระแสการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนดรวมถึงธนาคารกลางยุโรปที่อัดฉีดเงินและสถานการณ์ในกรีซ ส่งผลให้เงินดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยังต้องติดตามว่าเงินดอลลาร์ที่ขึ้นมารอบนี้จะสามารถยืนได้ในระยะยาวหรือไม่ จากความกังวลสองอย่าง อย่างแรกคือ ประธาน FED นาง เจเน็ต เยลเลนได้แสดงความกังวลถึงค่าเงินดอลลาร์ว่าแข็งไปอาจจะทำให้ กำไรของบริษัทจดทะเบียนลดลง และ ตัวบริษัททข้ามชาติเองก็มีความกังวลเรื่องนี้อยู่ด้วย จึงตีความได้ว่า FED และนักลงทุนอาจไม่ได้อยากให้ดอลลาร์แข็งจนเกินไปเพราะอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้
- ตัวเลขค้าปลีกของญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 5% นับเป็นการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน บ่งบอกถึงการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกและแสดงให้เห็นถึงมุมมองเชิงบวกของนโยบายธนู 3 ดอกของนายอาเบะที่เริ่มซึมซํบเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ตัวเลขคาดการณ์นั้นจะสูงกว่านี้ที่ 5.4% ในขณะที่ตัวเลขเดือนมีนาคมนั้นค่อนข้างแย่ที่ระดับ –9.7% ทำให้นักลงทุนมองว่า เป็นการบรรเทาการคาดหวังต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ที่จะมีอีกในระยะสั้น
- ในวันศุกร์จะมีประกาศตัวเลข GDP ของอินเดีย ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาหลังจากนาย Modi เข้ามาดำรงตำแหน่ง อินเดียได้มีการขยายตัวเศรษฐกิจค่อนข้างสูง และตัวเลขการขยายตัวของ GDP ในรอบนี้นักวิเคราะห์มองว่าจะดีกว่าจีน เพียงแต่บางคนมองว่า ตัวเลขที่ดีอาจจะเป็นแค่ตัวเลข ของจริงอาจไม่ดีเท่า
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
19.30 USD
Unemployment claims 272K 274K