บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 22 พ.ค. 2558

แนวทางทองคำวันที่ 22-5-58

เเนวรับ 1202 1200 1195 เเนวต้าน 1212 1215 1225

ราคาปรับตัวลดลงเล็กน้อยเมื่อวานนี้ ถึงแม้จะมีข่าวบวกเข้ามาในตลาดก็ตาม เรื่องความกังวลการขึ้นดอกเบี้ยกระแสยังคงผสมกัน เลยทำให้ทองคำยังไม่สามารถเลือกทางได้ชัด ส่วนมุมมองระยะสั้นยังให้น้ำหนักของการรีบาวน์ไปยังแนวต้าน 1212 หรือใกล้เคียง จากเงินยูโรที่สามารถสร้างฐานได้บริเวณนี้และน่าจะดีดขึ้นในระยะสั้น ทิศทางยังเป็นการเก็งกำไรในกรอบสั้นๆ เนื่องจากในวันจันทร์เป็นวันหยุดทำการของอเมริกาอาจทำให้วันนี้มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติได้ อาจจะผันผวนมากกว่าปกติหรือน้อยกว่าปกติก็ได้ 

SET ยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ใกล้ถึงระดับแนวต้านบริเวณ 1540-1550 ทั้งโซนนั้น ภาพรวมยังถูกกดดันจากแนวโน้มขาลงอยู่ เพียงแต่ช่วงนี้มองเป็นรอบรีบาวน์ที่ไม่สามารถบ่งบอกแน่ชัดได้ว่าจะกลับตัววันไหน แต่ช่วงนี้ถ้ายังไม่เห็นแรงขายหนักๆลงมาก็ยังมองว่าจะอยู่ในแนวโน้มรีบาวน์ขึ้นไปต่อเนื่อง ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 943 ล้านบาท และ Long สุทธิในฟิวเจอร์อีก 2288 สัญญา ทิศทางค่าเงินบาทยังอยู่ในแนวโน้มแข็งค่าระยะสั้นแนวรับบริเวณ 33.30

ทางเลือกหลัก : เมื่อวานนี้ราคากลับลงมาทดสอบก่อน วันนี้ยังมองมุมมองเดิมคือ ขึ้นไปใกล้ 1212- สูงกว่า จากการคาดการณ์เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงระยะสั้น

ทางเลือกรอง : -

รายละเอียด

- ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ออกมาที่ระดับ 274K จากเดือนก่อหน้า 264K และคาดการณ์ 271K ตัวเลขคนขอรับสวัสดิการถึงแม้จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นแต่แนวโน้มโดยรวมยังคงปรับตัวลดลงอยู่ ส่วน Flash manufacturing PMI ออกมาที่ระดับ 53.8 จากเดือนก่อนหน้า 54.1 และคาดการณ์ 54.6 และ ยอดขายบ้านมือสอง (Existing home sales) ปรับตัวลดลงเหลือระดับ 5.04M จากเดือนก่อนหน้า 5.21M และคาดการณ์ 5.23M กลุ่มตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ค่อนไปทางบวกกับราคาทองคำ ทั้งนี้เมื่อวานนี้ราคาทองคำกลับปรับตัวลดลงมาทดสอบระดับ $1202 และยังสามารถมีแรงรีบาวน์กลับขึ้นไปได้

- Flash PMI ของยูโรโซนโดยรวมออกมาดีขึ้น ของเยอรมันปรับตัวลดลงเล็กน้อยและอยู่เหนือระดับ 50 ส่วนฝรั่งเศสปรับตัวดีขึ้นแต่ยังอยู่ระดับต่ำกว่า 50 ทั้งนี้ Flash PMI ของกลุ่มยูโรโซนปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.3 ตัวเลขเศรษฐกิจของยูโรโซน ช่วงหลังนี้บ่งบอกว่า เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

- ราคาทองคำยังปรับตัวอยู่ในกรอบการซื้อ-ขาย (Trading range) ระหว่าง $1170-1230 ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม จากความไม่แน่นอนของช่วงเวลาการขึ้นดอกเบี้ย ส่วนมุมมองของนักลงทุนเริ่มหันกลับมาเป็นฝั่งลบอีกครั้งหลังจากราคาขึ้นไปทดสอบระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือนและไม่สามารถผ่านไปได้ ส่วนแรงขายของกองทุน SPDR ยังออกมาต่อเนื่องเมื่อวันพุธลดสถานะลงอีก 0.41% สู่ระดับ 715.26 ตัน

- Yield ของตลาดพันธบัตรเริ่มปรับตัวลดลงเล็กน้อย นำโดยอเมริกาและเยอรมัน หลังจากช่วงก่อนหน้าเห็นแรงขายออกจากพันธบัตรเยอรมันอย่างหนัก เนื่องจากความกังวลว่า ECB อาจจะทำ QE น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ล่าสุดนักวิเคราะห์อย่าง Citi group มองว่า แรงขายที่เริ่มทรงตัวคาดว่าจะทำให้ Yield กลับสู่ภาวะปกติ แต่ได้เพิ่มคาดการณ์ว่า Yield ของเยอรมันมีแนวโน้มจะไม่ลงไปสู่ระดับติดลบอีกรอบหนึ่งแล้ว คาดว่าจะจบไตรมาส 3 ที่ Yield ประมาณ 0.2% จากเดิมคาดการณ์ –0.05%

- ดัชนี HSBC PMI ภาคการผลิตของจีนปรับตัวลดลงสู่ระดับ 49.1 เป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 2 เดือนจาก 48.9 จุด ซึ่งระดับที่ต่ำกว่า 50 บ่งบอกถึงแนวโน้มภารการผลิตที่ยังค่อนข้างหดตัว เศรษฐกิจจีนช่วงหลังมานี้เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีแรก

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

19.30 USD 

CPI 0.1% 0.2%
Core CPI 0.2% 0.2%

20.30 EUR 

ECB Draghi speaks