บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 31 มีนาคม 2558

แนวทางทองคำวันที่ 30-3-58

เเนวรับ 1180 1178 1170 เเนวต้าน 1187 1190 1200

ทองคำได้รับปัจจัยลบจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี และยังคงปรับตัวลดลงต่อ ในระยะสั้นยังมองว่าได้รับแรงกดดันจากปัจจัยด้านกราฟที่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ระดับแนวรับที่สำคัญจะอยู่ที่บริเวณ 1178-1180 ซึ่งค่อนข้างหนาแน่น และเป้นระดับแนวรับฟิโบที่ 50% จึงมองว่า ระดับนี้จะสามารถพยุงราคาได้ แต่หากไม่ได้ แนวโน้มราคาจะลงไปอีก $10 และไปเจอแนวรับสุดท้ายที่ประมาณ 1170 แนวรับนี้เป็นระดับฟิโบที่ 61.8% ซึ่งไม่ควรจะหลุดแล้ว (ไม่ควรหลุดตั้งแต่ 1178) หากหลุดแล้ว แนวโน้มขาขึ้นจะเสียความได้เปรียบ และจะต้องใช้เวลาอีกสักพักในการขึ้น ปัจจัยบวกระยะสั้นยังไม่ค่อยมี แต่ระยะกลางยังมีเรื่องของ ดอกเบี้ย และ สงครามที่รอปะทุ

ต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 72 ล้านบาท ทั้งนี้ตัวเลขในวันนี้คาดว่ามีการคลากเคลื่อนจากการทำ Big lot และยัง Short สุทธิในฟิวเจอร์อีก 1805 สัญญา มุมมองของ SET ยังมองว่า ดัชนีแกว่งตัวออกข้างพยายามยืน 1500 แต่คิดว่าหากยังไม่มีแรงซื้อคงจะได้เห็นการปรับตัวลดลงต่อตามแนวโน้มเดิม ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่เห็น เพียงแต่ต้องมาดูปัจจัยบวกจากต่างประเทศที่ส่งมา โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีนที่ปรับตัวสองวันขึ้นร่วมกว่า 5% แล้ว เงินบาทกลับลงมาแข็งค่าใหม่อีกครั้ง แนวรับบริเวณ 32.50 ยังไม่หลุดลงไป

ทางเลือกหลัก : มองราคาไหลลงต่อไปยังแนวรับ1178-1180 และหากยังไม่หยุดคาดว่าจะลงได้อีก $10 แต่ถ้าไม่หยุดระดับนี้การขึ้นกลับไปอาจจะต้องใช้เวลาสักเล็กน้อย

ทางเลือกรอง : ราคาหยุดที่ระดับแนวรับ 1178 และรีบาวน์ ถ้ามองจากตรงนี้โอกาสเกิดยังน้อยกว่า



รายละเอียด

- ตัวเลขเงินเฟ้อ Core PCE ที่เฟดใช้เป็นตัววัดเงินเฟ้อ (มากกว่าที่จะใช้ CPI) ออกมาที่ระดับเดิมที่ 0.1% และเท่ากับคาดการณ์ แสดงให้เห็นถึงเงินเฟ้อที่ยังไม่เพิ่มขึ้น ส่วนตัวเลขรายได้ส่วนบุคคลออกมาเท่าเดิมที่ 0.4% ซึ่งมากกว่าคาดการณ์เล็กน้อยที่ 0.3% ขณะที่รายจ่ายส่วนบุคคลดีขึ้นเล็กน้อยออกมาที่ระดับ 0.1% ขณะที่เดือนก่อนหน้าหดตัว –0.2% และคาดการณ์ 0.3% นอกจากนี้ยอดบ้านราปิดการขาย Pending home sales ออกมาดีขึ้นที่ระดับ 3.1% จากเดือนก่อนหน้า 1.2% และคาดการณ์ 0.5% จากกลุ่มตัวเลขข่าวนี้ ถ้ามองโดยรวมแล้วค่อนข้างเป็นปัจจัยลบกับราคาทองคำ ทั้งนี้ราคาได้สะท้อนข่าวดีจากการปรับตัวลดลงมาตลอดทั้งวัน

- ข่าวใน CNBC หน้าหนึ่งกล่าวไว้ว่า นอกจากตลาดแรงงานแล้ว ภาคอื่นของระบบเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างไม่แข็งแกร่ง ราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลงกลับไม่ได้กระตุ้นการใช้จ่ายผู้บริโภคเท่าไรนัก ผู้บริโภคใช้ประโยชน์จากการที่ราคาพลังงานลดลงนำไปออมเงินเพิ่มขึ้น แทนที่จะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากตัวเลขการออมที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในรอบ 2 ปี

- Goldman Sachs ออกมาให้ความเห็นว่า เงินเยนที่อ่อนค่าลงในช่วงปีที่ผ่านมา อาจจะไม่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นนัก เพราะ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงเกินกว่า 50% เช่นเดียวกัน และมองว่า เงินเยนที่อ่อนค่าลงจะทำให้เงินเฟ้อเกิดขึ้นเพียง 0.4% เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินจะมีผลเล็กน้อยกับเงินเฟ้อ นอกจากนี้ประเทศในกลุ่มยูโรโซนก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเงินฝืดเช่นเดียวกัน และดูเหมือนจะเป็นปัญหากับยูโรโซนที่สุดในตอนนี้ ล่าสุดตัวเลข CPI ของยูโรโซนอยู่ที่ระดับ –0.3% ดีขึ้นเล็กน้อยกว่าที่ –0.6%

- จอร์จ โซรอสได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ในยูเครน หากประเทศในกลุ่มตะวันตก เข้าไปลงทุนด้วย และคาดการณ์โอกาสที่กรีซจะออกจากยูโรโซนมีโอกาสเพิ่มเป็น 75% จากรอบก่อนหน้าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 50:50 

- Bloomberg คาดการณ์ว่ายูเครนมีโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้ที่ 30% นอกจากนี้แผนปฎิรูปของกรีซที่ส่งไปเมื่อวานนี้ (30 มี.ค.) มีจำนวนทั้งหมด 15 หน้า ซึ่งต้องการรายละเอียดที่มากกว่านี้รวมถึงยังห่างไกลจากข้อตกลงพื้นฐานที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้า