บทวิเคราะห์

ย้อนกลับ

บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 17 มี.ค. 2558

แนวทางทองคำวันที่ 17-3-58

เเนวรับ 1153 1150 1145 เเนวต้าน 1160 1166 1175

หลังจากเมื่อวานราคาผ่าน 1160 ไปได้ แต่ไปไม่ถึง 1166 และเกิดแรงขายลงมา ทำให้การขึ้นนั้นก็เสียความได้เปรียบไป และมองราคากลับลงมาเล่นในกรอบใหม่บริเวณ 1150-1160 บวกลบบริเวณเนวรับ แนวต้าน ปรระมาณ 3-5 เหรียญ ตลาดกำลังทำรูปแบบสามเหลี่ยมเลือกทางอยู่ ซึ่งมองว่า การอยู่ในกรอบนั้นจะไม่ได้มีทิศทางที่มีนัยสำคัญนัก ถ้าอยากเห็นแนวโน้มชัดควรจะรอให้ราคาหลุดออกมาในทางใดทางหนึ่งก่อน หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือ ซื้อ-ขายตามกรอบแนวรับแนวต้านของสามเหลี่ยม ภาพรวมยังโดนกดดันจากทั้งปัจจัยพื้นฐานและทางกราฟเทคนิคที่ขาดแรงส่งเข้ามา คาดว่าตลาดกำลังติดตามผลการประชุม FOMC ที่จะถึงในวันพรุ่งนี้เวลาตี 1 

ต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยเล็กน้อย 712 ล้านบาท และกลับมา Long สุทธิในฟิวเจอร์มากถึง 5301 สัญญา ตลาดปรับตัวลดลงค่อนข้างหนักเมื่อวานนี้ เมื่อเช้านี้เปิดตลาดมาได้รับปัจจัยบวกจากตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งหากตรงนี้ราคาไม่หลุดลงมาอีกมองว่าอาจจะเกิดรูปแบบ Double bottom ในระยะสั้นได้ เพียงแต่ยังขาดการยืนยัน และ เป็นการรีบาวน์เล็กๆอยู่เท่านั้นเอง ฝั่งของค่าเงินบาทหลังจากลงมาทดสอบแนวรับ 32.80 มองการอ่อนค่าไปยังระดับ 33.10 อีกรอบหนึ่ง

ทางเลือกหลัก : มองราคาแกว่งตัวในกรอบ 1150-1160 ซึ่งมองว่า แนวโน้มจะยังไม่ชัดจนกว่าจะหลุดตรงนี้ไป เนื่องจากราคากำลังทำรูปแบบเป็นสามเหลี่ยมเลือกทาง

ทางเลือกรอง : -



รายละเอียด

- ทองคำได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้ตลาดกำลังติดตามผลการประชุม FOMC ในวันพุธที่จะถึงนี้โดยคาดการณ์ว่าอาจจะมีลดคำว่า Patience ลงและเปิดทางให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ในช่วงเดือน มิถุนายน ทั้งนี้ยังต้องติดตามการแถลงการณ์ของ นาง เจเน็ต เยลเลน ประธาน FED ว่าจะมีมุมมองต่อเศรษฐกิจอย่างไร ประเด็นที่ต้องติดตามคือ การจ้างงาน และ เงินเฟ้อ ว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เช่นอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง อาจจะทำให้เกิดการชะลอการขึ้นดอกเบี้ย นอกจากนี้ตลาดทางฝั่ง Physical พบว่า มีการซื้อที่น้อยลงจากความต้องการ Safe haven หรือ สินทรัพย์ปลอดภัยที่น้อยลงในช่วงนี้

- กระแส Debt ceiling ของอเมริกากำลังจะกลับมาอีกครั้ง ทั้งที่เดิมหำหนดนั้นจะอยู่ช่วงหลังกลางปี ช่วงเดือน กันยายน-ตุลาคม แต่ช่วงนี้กลับได้เห็นคนนำข่าวนี้มาเล่นว่า จะถึงเพดานหนี้แล้ว อเมริกาจะทำยังไงต่อไป จะขยายเพดานขึ้นอีกหรือไม่ (สามารถทำได้อยู่แล้ว เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา) 

- ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องร่วม 50% นับจากช่วงครึ่งหลังของปี 2014 จนถึงปัจจุบัน ทำให้ประเทศกลุ่มที่ส่งออกน้ำมันเป็นหลัก (Gulf oil exporting) อย่างเช่น ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรต คูเวต เป็นต้น ได้เกิดการขาดดุลบัญชีเป็นครั้งแรกคาดว่ากลุ่มประเทศส่งออกน้ำมันจะขาดดุลบัญชีทั้งหมด 7.7% เมื่อเทียบกับ GDP และหลายประเทศที่เคยเกินดุลระดับ 10% ก็กลับมาขาดดุลระดับ 10% เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ทั้งนี้เงินสำรองระหว่างประเทศที่มีปริมาณมาก ประกอบกับการตรึงค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์ ทำให้สถานการณ์ความกังวลในเรื่องนี้น้อยลง และคาดว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้จะสามารถรอดพ้นจากช่วงน้ำมันดิบราคาที่ต่ำนี้ไปได้ มองอีกมุมหนึ่งคือ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงนั้นกระทบกับประเทศที่ส่งออกน้ำมันดิบในปริมาณที่สูงอย่าง ซาอุดิอาระเบียค่อนข้างน้อย และเราอาจจะได้เห็นราคาน้ำมันดิบในระดับต่ำไปอีกสักพัก นอกจากนี้รายงานของ OPEC ยังปรับประมาณการณ์ความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตจากราคาน้ำมันระดับต่ำจะกระตุ้นการบริโภค นำโดยจีนและประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง

- ECB เปิดเผยการเข้าซื้อพันธบัตร 9.75 พันล้านยูโรเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยมีพันธบัตรเยอรมันเป็นหลัก ระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 9 ปี ขณะที่กรีซและ IMF เตรียมหารือร่วมกันอีกครั้งหนึ่งเกี่ยวกับการจ่ายเงินกู้