ย้อนกลับ
บทวิเคราะห์ประจำวันที่ 2 ก.พ. 2558
แนวทางทองคำวันที่ 2-2-58
เเนวรับ 1275 1270 1265 เเนวต้าน 1285 1295 1305
ราคาทองคำได้รับปัจจัยบวกเข้ามาหลังจากปรับตัวลดลงแรงระหว่างชั่วโมงการซื้อ-ขายในวันศุกร์ ปัจจัยบวกที่ได้คือ GDP ของไตรมาสที่ 4 ของอเมริกาออกมาน้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้าและน้อยกว่าที่คาดการณ์ 2.6% VS 5.0% VS 3.0% แต่ภาพรวมยังอยู่ในแนวโน้มของการพักฐานอยู่ในภาพวัน แต่ภาพสัปดาห์สามารถปิดแบบสวยได้ คือ แนวโน้มในสัปดาห์นี้-สัปดาห์หน้ายังมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นต่อได้หลังจากการพักตัวเล็กน้อยก่อน ในระยะสั้นมองว่าราคายังอยู่ในกรอบของขาลงระยะสั้น โดยมีแนวต้านหรือจุดเปลี่ยนแนวโน้มที่ระดับ 1285 หากผ่านไปได้มองการขึ้นต่อไปทดสอบ 1305 ในทางกลับกันหากราคาไม่สามารถผ่านได้และลงผ่าน 1275 จะมองลงอีกครั้งหนึ่ง
ต่างชาติหันกลับมาขายสุทธิเป็นวันแรก 746 ล้านบาท และ Short สุทธิในฟิวเจอร์อีก 2,037 สัญญา น้ำหนักของ SET ยังคงเป็นการปรับฐานแต่ภาพรายชั่วโมงยังเกิดเป็น Bull flag ต้องมาดูหากราคายังวนเวียนอยู่แถวนี้มีโอกาสรีบาวน์ต่อ แต่หากหลุดแรงๆก็จะทำให้รูปแบบ Bull flag ไม่มีนัยสำคัญ กลุ่มพลังงานคงสามารถพยุงดัชนีในวันนี้ระดับหนึ่งจากราคาน้ำมันดิบที่รีบาวน์ขึ้นมาแรงร่วม 8% ในวันศุกร์ก่อนที่จะย่อตัวลงเล็กน้อยช่วงเช้านี้ ค่าเงินบาททิศทางยังมีทิศทางแข็งค่าเล็กน้อยท่ามกลางแนวโน้มอ่อนค่า
ทางเลือกหลัก : มองราคาแกว่งใต้กรอบแนวต้าน 1285 ก็ยังให้น้ำหนักทางลง แต่ยังขาดสัญญาณยืนยันจากแท่งเทียน
ทางเลือกรอง : ราคาทะลุ 1285 ขึ้นไปมองไปทดสอบ 1305 อีกรอบหนึ่ง ซึ่งโอกาสเกิดในทางนี้ก็มีมากพอกับทางเลือกหลักในวันนี้
รายละเอียด
- ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 รอบแรกของอเมริกาออกมาที่ระดับ 2.6% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ 5% และคาดการณ์ 3% ทำให้โดยรวมเศรษฐกิจของอเมริกาขยายตัวทั้งปีที่ระดับ 2.4% เทียบกับในปีก่อน (2556) ที่ 2.2% และที่โดดเด่นคือการบริโภคที่ขยายตัวถึง 4.3% นับเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2549 แต่ GDP Deflator ซึ่งหักผลกระทบจากเงินเฟ้อแล้วก็ยังคงปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันในไตรมาสนี้ ซึ่งหากมองเป็นไตรมาสนั้นจะพบว่าเป็นบวกกับทองคำค่อนข้างมาก แต่หากมองแนวโน้มภาพรวมการขยายตัวของอเมริกาทั้งปีพบว่า เป็นลบกับทองคำ แต่เนื่องจากมุมมองในระยะสั้นในตลาดจึงเลือกที่จะมองข่าวบวกในวันศุกร์มากกว่า
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer sentiment) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2547 ออกมาที่ 98.1 จากระดับเดิม 93.6 จากปัจจัยเชิงบวกในฝั่งค่าจ้างและตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวรวมถึงน้ำมันดิบที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำช่วงนี้
- รัสเซียลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือระดับ 15% จากเดิม 17% ซึ่งเป็นระดับสูงกว่าก่อนการขึ้นดอกเบี้ยในวันเดียวช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาเล็กน้อย ส่งผลให้เงินรูเบิลอ่อนค่าลงแตะระดับ 70 รูเบิลต่อดอลลาร์อีกครั้งหนึ่ง เศรษฐกิจรัสเซียในตอนนี้ก็ยังมีปัญหา และมีข่าวมาว่ากระทบกับคอนโดแถบพัทยาที่ลูกค้ารัสเซียทิ้งใบจองค่อนข้างมากเพราะเงินรูเบิลที่อ่อนค่าลงครึ่งหนึ่งหมายความว่า คนรัสเซียจะต้องซื้อของแพงขึ้นอีกเท่าตัวหนึ่ง
- นายกกรีซ นาย Tsipras ได้ตกลงยอมเจรจาจ่ายเงินหนี้ให้แก่ Troika แล้วคาดว่ารายละเอียดคงจะเปิดเผยในภายหลังได้ในเร็วๆนี้หลังจากการหารือกับเจ้าหนี้ใหม่ทั้งหมด คาดว่าจะเรียบร้อยก่อนเดือนพฤษภาคม และ ECB จะต้องให้การช่วยเหลือสถาบันการเงินของกรีซด้วย
- อัตราเงินเฟ้อของทั้งยูโรโซนปรับตัวลดลง –0.6% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ -0.5% และเดือนก่อนหน้า –0.2% ส่งผลให้ความกังวลเรื่องภาวะเงินฝืดในยูโรโซนยังคงมีมากขึ้น
- ราคาน้ำมันดิบรีบาวน์ขึ้นมา 8 % สู่ระดับประมาณ $47 ต่อบาร์เรลจากข่าวว่า บริษัทขุดเจาะในอเมริกาเริ่มยกเลิกการขุดเจาะหลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องประกอบกับเป็นวันซื้อ-ขายสุดท้ายของสัญญาฟิวเจอร์ในวันศุกร์จึงบทำให้มีการปิดสถานะบางส่วน
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
20.30 USD
ISM Manufacturing PMI 54.9 55.5